logo เงินทองของจริง

อยากมีธุรกิจแฟรนไชส์ เลือกแบรนด์ในไทยหรือต่างประเทศ | เงินทองของจริง

9,933 ครั้ง
|
08 ต.ค. 2567
สำหรับใครที่อยากจะมีธุรกิจแฟรนไชส์สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักโครงสร้างและลักษณะการทำ  งานของแฟรนไชส์ในระดับต่างๆ ซึ่งแต่ละประเภทมีบทบาทและอำนาจที่แตกต่างกันในการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์  ซึ่งโมเดลของธุรกิจแฟรนไชส์แบ่งออกเป็น
 
1.แฟรนไชซอร์ (Franchisor) คือ บริษัทแม่ หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้ขายแฟรนไชส์                  
 
2.มาสเตอร์ แฟรนไชส์ (Master Franchise) คือ แฟรนไชส์ตัวแทนที่ได้รับสิทธิ์จากบริษัทแม่แต่เพียงผู้เดียว ให้ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศ และมีอำนาจบริหารงานสาขาทั่วประเทศแบบเบ็ดเสร็จ
 
3. แฟรนไชซี (Franchisee) คือ เจ้าของกิจการแฟรนไชส์ ผู้ซื้อสิทธิ์ในการจำหน่าย และบริหารงานสาขา ตามรูปแบบที่แฟรนไชซอร์กำหนด
 
4.ซับ แฟรนไชส์ (Sub-Franchise/Individual Franchise) คือ แฟรนไชซีรายย่อย และไม่มีสิทธิ์ที่จะขายแฟรนไชส์ต่อให้ผู้อื่น แบ่งเป็น
 
ซิงเกิล แฟรนไชส์ (Single Franchise) คือ สิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจได้เพียง 1 แห่ง
 
มัลติ แฟรนไชส์ (Multi Franchise) คือ สิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจได้มากกว่า 1 แห่งขึ้นไป
 
ซับ แอเรีย แฟรนไชส์ (Sub-Area Franchise) คือ ผู้ได้รับสิทธิ์ในการพัฒนาแฟรนไชส์ ภายใต้อาณาเขต และระยะเวลาที่กำหนด แต่เพียงผู้เดียว จากแฟรนไชซอร์ และสามารถที่จะขายซับแฟรนไชส์ต่อได้
 
          นอกจากนี้หลักสำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์  คือต้องหาแฟรนไชซี ซึ่งเป็นคู่ค้า หรือพันธมิตรท้องถิ่นที่เหมาะสม และเชื่อใจกัน เพราะการลงทุนทำแฟรนไชส์ไม่ใช่ธุรกิจที่ทำเงินคืนได้อย่างรวดเร็ว และแฟรนไชซี ต้องเต็มใจที่จะทำงานร่วมกันอย่างหนักกับแฟรนไชซอร์ หรือ มาสเตอร์ แฟรนไชส์ ทั้งเรื่องบริหารจัดการสาขารายวัน, การตลาด, สินค้าคงคลัง และโลจิสติกส์ เป็นต้น 
 
การทำธุรกิจแฟรนไชส์ในแบรนด์ไทย:
 
1.ระบบการบริหารจัดการ: ระบบแฟรนไชส์ของแบรนด์ไทยมักจะปรับตัวให้เข้ากับตลาดท้องถิ่นและอาจมีความยืดหยุ่นมากกว่าในบางกรณี เช่น การปรับเปลี่ยนเมนูหรือการบริการเพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาดไทย
2.ค่าใช้จ่าย: ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมักจะต่ำกว่า ซึ่งทำให้เป็นตัวเลือกที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า
3.การตลาด: การตลาดและโฆษณามักเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายในประเทศ ซึ่งทำให้การสื่อสารและกิจกรรมทางการตลาดสามารถทำได้อย่างเฉพาะเจาะจง
 
การทำธุรกิจแฟรนไชส์ในแบรนด์ต่างประเทศ:
 
1.ระบบการบริหารจัดการ: แบรนด์ต่างประเทศมักมีระบบที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งสามารถให้การสนับสนุนและการฝึกอบรมที่มีคุณภาพสูง แต่บางครั้งอาจต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของตลาดท้องถิ่น
2.ค่าใช้จ่าย: ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นและค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์มักจะสูงกว่า รวมถึงค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติตามมาตรฐานของแบรนด์
3.การตลาด: การตลาดอาจจะเป็นไปตามมาตรฐานของแบรนด์ที่มีอยู่ในหลายประเทศ ซึ่งอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับตลาดไทย
 
ตัวอย่างธุรกิจแฟรนไชส์ในแบรนด์ต่างประเทศ
 
ร้าน MIXUE เป็นร้านแฟรนไชส์ไอศกรีมและชาเย็นจากจีน ซึ่งมีผู้ประกอบการไทยได้ลงทุนซื้อธุรกิจแฟรนไชส์นี้จำนวนมาก เพราะมีราคาสินค้าที่เข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้าง ราคาเริ่มต้น 15 บาท ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 8.90 แสนบาท ปัจจุบันมีมากกว่า 200 สาขาในไทย
 
ร้าน “WEDRINK”  น้องใหม่จากประเทศจีนสำหรับในประเทศไทย WEDRINK จะเป็นคู่แข่งสำคัญของ MIXUE ในอนาคต เพราะขายไอศกรีม ชาผลไม้ ชานม เหมือนกัน และมีราคาถูกเริ่มต้นที่ 15 บาท ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน  8.85  แสนบาท ปัจจุบันมีทั้งหมด 31 สาขาในไทย
 
ร้าน Zhengxin Chicken แฟรนไชส์ไก่ทอดจีน สไตล์ Mixue เริ่มต้นชิ้นละ 15 บาทที่กำลังมีแพลนขยายไปทั่วโลก รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทย ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเปิดแฟรนไชส์โดยประมาณ 8 แสนบาท ปัจจุบันมี 2 สาขาในไทย
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/9uqHiXN5SYo

ข่าวที่เกี่ยวข้อง