เปิดเรทราคา ‘บ้านพักคนชรา’ ทั่วไทย วางแผนอย่างไร แก่ตัวไปอย่างมั่นคง !
logo ข่าวอัพเดท

เปิดเรทราคา ‘บ้านพักคนชรา’ ทั่วไทย วางแผนอย่างไร แก่ตัวไปอย่างมั่นคง !

ข่าวอัพเดท : แก่ตัวไปใครจะมาดูแลเรา… คำถามนี้อาจดังก้องอยู่ในใจของใครหลายคน โดยเฉพาะกลุ่ม (ว่าที่)ผู้สูงอายุ ที่กำลังเริ่มวางแผนให้กับช่ บ้านบางแค,บ้านพักคนชรา,ผู้สูงอายุ,ผู้สูงวัย,สังคมสูงวัย,สูงวัย,สังคมผู้สูงอายุ,คนแก่,เบี้ยผู้สูงอายุ

13,789 ครั้ง
|
01 ก.ย. 2567
         “แก่ตัวไปใครจะมาดูแลเรา…” คำถามนี้อาจดังก้องอยู่ในใจของใครหลายคน โดยเฉพาะกลุ่ม (ว่าที่)ผู้สูงอายุ ที่กำลังเริ่มวางแผนให้กับช่วงบั้นปลายชีวิต ในขณะที่บางคนยังคงคาดหวังให้ลูกหลานเป็นที่พึ่งในยามแก่เฒ่า แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ปรารถนาจะพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด
 
         ฉายภาพกลับมาที่สังคมไทยในปัจจุบัน ที่กำลังก้าวเข้าสู่ ‘สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์’ อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดความท้าทายใหม่ๆ ทั้งในระดับปัจเจกและระดับสังคม ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ การเงิน หรือแม้แต่การปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการเป็น ‘ผู้สูงอายุ’ ฉะนั้น เราควรเตรียมตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้พร้อมสำหรับวัยเกษียณที่มีคุณภาพ เพื่อรองรับการเติบโตของประชากรสูงวัยที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
 
- 1 -
 
ไทยเตรียมก้าวสู่ ‘สังคมสูงวัยระดับสุดยอด’
         ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aged Society) ตั้งแต่ปี 2548 โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปคิดเป็น 1 ใน 10 ของประชากรทั้งหมด ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเปิดเผยว่า ในปี 2567 ไทยจะมีผู้สูงอายุถึง 13 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ของประชากร ซึ่งถือว่าเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ (Complete Aged Society) แล้ว
 
         ที่น่าตกใจคือ มีการคาดการณ์ว่าในปี 2576 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด ส่งผลให้ไทยก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ในขณะที่อัตราการเกิดกลับมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง หากดูจากสถิติผู้สูงวัยในสังคมไทย 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2562-2566) จะเห็นได้ชัดว่าจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย
 
ข่าวอัพเดท : เปิดเรทราคา บ้านพักคนชรา ทั่วไทย วา
 
- 2 -
 
บ้านพักคนชรากระจุกตัวอยู่แค่ในหัวเมืองใหญ่ ?
        ‘ที่อยู่อาศัย’ เป็น 1 ในปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ เมื่อมนุษย์แก่ตัวลง ที่อยู่อาศัยก็จำเป็นที่จะต้องถูกปรับเปลี่ยนหรือออกแบบใหม่เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์กลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง เพื่อที่พวกเขาจะสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างราบรื่นมากที่สุดเท่าที่จะดำเนินต่อไปได้ บทความนี้จึงขอหยิบยกข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ หรือที่เรามักเรียกติดปากกันว่า ‘บ้านพักคนชรา’ มานำเสนอให้ผู้อ่านได้เล็งเห็นและเข้าใจถึงความสำคัญของสถานที่ดังกล่าวนี้มากขึ้น
 
        เริ่มกันที่ปริมาณที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในไทย จากผลสำรวจของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ พบว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุทั้งหมดจำนวน 758 แห่ง แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1) ประเภทเนิร์สซิ่งโฮม หรือสถานบริบาลผู้สูงอายุ จำนวน 708 แห่ง
2) ประเภท Residential หรือที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุแต่ยังสามารถดูแลตัวเองได้ จำนวน 19 แห่ง
3) ประเภทสถานสงเคราะห์/มูลนิธิ จำนวน 26 แห่ง
4) โรงพยาบาลจำนวน 4 แห่ง
5) ประเภท day care จำนวน 1 แห่ง
 
         ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่า 5 จังหวัดที่มีบ้านพักคนชรามากที่สุด ได้แก่ 1.กรุงเทพฯ จำนวน 257 แห่ง รองรับได้ 7,140  คน 2.นนทบุรี จำนวน 78 แห่ง รองรับได้ 1,759 คน 3.เชียงใหม่ จำนวน 54 แห่ง รองรับได้ 688 คน 4.ชลบุรี จำนวน 42 แห่ง รองรับได้ 822 คน  และ 5.ปทุมธานี จำนวน 39 แห่ง รองรับได้ 877 คน จากข้อมูลเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุกลับมีจำนวนจำกัดและยังคงกระจุกตัวในเมืองใหญ่เสียมากกว่า หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นจังหวัดที่ถูกรัฐ (รวมถึงนายทุน) มองเห็นและให้ความสำคัญมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ
 
ข่าวอัพเดท : เปิดเรทราคา บ้านพักคนชรา ทั่วไทย วา
 
         โดย ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ได้เปิดเผยข้อมูลว่า ในปัจจุบัน มีที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มากถึง 57% ของจำนวนทั้งหมด ทว่าสามารถรองรับผู้สูงอายุได้เพียง 12,000 คน เท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบว่าบ้านพักคนชราของรัฐบางแห่ง ปรากฏรายชื่อผู้ที่รอคิวเข้าอยู่อาศัยมากถึง 2,500 - 3,000 คน และบางแห่งอาจจะต้องจองคิวยาวนานถึง 15 ปี ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจจะเสียชีวิตก่อนที่จะได้เข้าไปอยู่ด้วยซ้ำ แต่ก็ยังไม่พบว่าหน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานอื่นใด จะสามารถจัดการปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้ได้ ฉะนั้น ปัญหาดังกล่าวนี้จึงอาจเป็นโจทย์สำคัญที่รัฐบาลจะต้องเร่งหาแนวทางการสร้างหรือพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุให้เพียงพอและครอบคลุมมากที่สุด
 
- 3 -
 
‘สูงวัย’ รายจ่ายสูงขึ้น รายได้ต่ำลง
         ทีมถกไม่เถียง Scoop ได้ติดต่อและสอบถามข้อมูลอย่างละเอียดจากบ้านพักคนชราทั้ง 9 แห่งในประเทศไทย เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนและเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน โดยเราได้จัดลำดับสถานที่เหล่านี้ตามเสถียรภาพทางการเงิน เพื่อช่วยให้การตัดสินใจเลือกบ้านพักคนชราเป็นเรื่องง่ายขึ้น จากการสำรวจพบว่า แต่ละสถานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
 
1. บ้านพักหรือห้องพักสำหรับผู้สูงอายุ : เน้นการอยู่ร่วมกันและทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อเติมเต็มความสุขให้แก่ผู้สูงอายุที่อาจรู้สึกว้าเหว่
 
2. ศูนย์ดูแลหรือศูนย์พักฟื้นผู้สูงอายุ : มีบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ช่วยอำนวยความสะดวก และฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตประจำวันด้วยตัวเองให้ได้มากที่สุด
 
ข่าวอัพเดท : เปิดเรทราคา บ้านพักคนชรา ทั่วไทย วา
ข่าวอัพเดท : เปิดเรทราคา บ้านพักคนชรา ทั่วไทย วา
ข่าวอัพเดท : เปิดเรทราคา บ้านพักคนชรา ทั่วไทย วา
 
         ทั้งนี้ ราคาค่าบริการมีความหลากหลาย โดยเริ่มต้นที่ 1,500 บาทต่อเดือน ไปจนถึง 108,000 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ ยังมีทางเลือกใหม่ในรูปแบบคอนโดสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมีราคาขายห้องตั้งแต่ 600,000 ถึง 5,000,000 บาท อย่างไรก็ตาม ผู้สนใจควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าแรกเข้า ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าอุปกรณ์จำเป็นต่างๆ เช่น แพมเพิร์ส สายยาง และอุปกรณ์ทำแผล
 
 
ข่าวอัพเดท : เปิดเรทราคา บ้านพักคนชรา ทั่วไทย วา
 
 
ข่าวอัพเดท : เปิดเรทราคา บ้านพักคนชรา ทั่วไทย วา
 
 
ข่าวอัพเดท : เปิดเรทราคา บ้านพักคนชรา ทั่วไทย วา
 
 
         ภาพสะท้อนของ 'บ้านพักคนชรา' ในสังคมไทยวันนี้ ไม่ต่างจากกระจกเงาที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน จากราคาเริ่มต้นเพียง 1,500 บาทต่อเดือน ไปจนถึง 108,000 บาทต่อเดือน แสดงให้เห็นถึงช่องว่างมหาศาลระหว่าง 'การอยู่รอด' กับ 'การมีคุณภาพชีวิต' ของผู้สูงวัย
 
         ในขณะที่รัฐบาลพยายามผลักดันเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็น 1,000 บาทถ้วนหน้า แต่นั่นกลับเป็นเพียงเศษเสี้ยวของค่าใช้จ่ายขั้นต่ำในการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ สะท้อนให้เห็นว่า สังคมไทยยังห่างไกลจากการเป็น 'สังคมผู้สูงวัย' ที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรอย่างแท้จริง ถึงเวลาแล้วที่เราต้องตั้งคำถามว่า เราจะปล่อยให้ 'วัยชรา' กลายเป็น 'ภาระ' หรือเราจะร่วมกันสร้าง 'คุณค่า' ให้กับช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต​​​​​​
 
 
- 4 -
 
         สังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แม้ว่าเราจะมีรากฐานวัฒนธรรม "ความกตัญญู" ที่ลูกหลานควรดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว แต่ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจกำลังท้าทายแนวคิดนี้อย่างหนัก
 
         ปัจจุบัน คนไทยรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะมีบุตรน้อยลง หรือแม้แต่เลือกที่จะไม่มีบุตรเลย เนื่องจากการเข้าถึงความรู้เรื่องการคุมกำเนิดและการวางแผนครอบครัวที่ดีขึ้น หลายคู่รอให้พร้อมก่อนสร้างครอบครัว แต่บ่อยครั้งที่วันเวลาผ่านไปจนร่างกายอาจไม่เอื้อต่อการมีบุตรแล้ว
 
         ในสถานการณ์เช่นนี้ "บ้านพักคนชรา" จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงวัย โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีครอบครัวคอยดูแลในบั้นปลายชีวิต แต่คำถามสำคัญคือ สังคมไทยพร้อมแล้วหรือยังสำหรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว? หากเรายังไม่เตรียมพร้อมทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและโอกาสทางอาชีพสำหรับผู้สูงวัย อนาคตอันใกล้อาจเต็มไปด้วยปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแล และต้องเผชิญความโดดเดี่ยว
 
         ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยต้องตื่นตัวและเตรียมพร้อมสำหรับการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรที่กำลังมาถึง และสร้างสังคมที่ผู้สูงวัยสามารถใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข 
 
         สุดท้าย อยากให้พึงระลึกว่า การเกิดขึ้นของ ‘สังคมสูงวัย’ ไม่ใช่ปัญหาหรือภาระ แต่เป็นโอกาสสำคัญในการสร้างสรรค์สังคมที่เอื้ออาทรและยั่งยืนสำหรับทุกคน แล้วคุณล่ะ พร้อมแค่ไหนที่จะกลายเป็น 'ผู้สูงวัย' ในอนาคต ? 
 
 

ทีมถกไม่เถียง Scoop

ข่าวที่เกี่ยวข้อง