ในสภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทายเช่นนี้ หลายคนกำลังเผชิญกับปัญหาหนี้สินที่ยากต่อการจัดการ แต่มีข่าวดีเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมปรับมาตรการใหม่เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ มาดูกันว่ามาตรการเหล่านี้มีอะไรบ้าง และเราจะสามารถจัดการปัญหาหนี้ของตัวเองได้อย่างไร
มาตรการใหม่จากธนาคารแห่งประเทศไทย
ล่าสุด ธปท. ได้ออกมาตรการทางการเงินใหม่เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เล็งเห็นว่ายังคงมีลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม เนื่องจากรายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ จึงได้ปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ดังนี้
1. หนี้บัตรเครดิต - การผ่อนชำระขั้นต่ำ (minimum payment)
- ผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตให้คงอยู่ที่ร้อยละ 8 ต่อไปอีก 1 ปี จนถึงสิ้นปี 2568
- ลูกหนี้ที่ผ่อนชำระหนี้ขั้นต่ำมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 8 จะได้รับเครดิตเงินคืนเทียบเท่าดอกเบี้ย
- ลูกหนี้ที่เดิมจ่ายขั้นต่ำที่ร้อยละ 5 แต่ไม่สามารถจ่ายได้ถึงร้อยละ 8 สามารถใช้สิทธิปรับโครงสร้างหนี้ก่อนเป็นหนี้เสีย
2. หนี้บ้านและหนี้รายย่อย - มาตรการรวมหนี้
- ผ่อนปรนอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) ให้เกินเพดานที่กำหนด
- มีโอกาสคงวงเงินสินเชื่อรายย่อยส่วนที่เหลือ ภายหลังการรวมหนี้
- มาตรการนี้จะเริ่มภายในเดือนกันยายน 2567 และสิ้นสุดธันวาคม 2568
3. หนี้บัตรกดเงินสด - การช่วยเหลือลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง
- ขยายระยะเวลาการปิดจบหนี้จากภายใน 5 ปี เป็น 7 ปี เพื่อลดค่างวดต่อเดือน (อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี เท่าเดิม)
- มีโอกาสคงวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนส่วนที่ไม่ได้ใช้
- มาตรการนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
วิธีจัดการปัญหาหนี้และป้องกันหนี้เพิ่ม
แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ แต่เราก็ควรมีวิธีจัดการปัญหาหนี้ของตัวเองหรือป้องกันไม่ให้เกิดหนี้เพิ่มในระหว่างนี้ด้วย นี่คือ 3 กฎเหล็กการเงินที่จะช่วยป้องกันการเป็นหนี้ถาวร:
กฎเหล็กข้อที่ 1: กู้แล้วไม่สามารถหาผลตอบแทนมากกว่าดอกเบี้ยได้ "ห้ามกู้"
พิจารณาว่าการสร้างหนี้เพิ่มจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าดอกเบี้ยหรือไม่ หากไม่สามารถทำได้ ควรหลีกเลี่ยงการกู้เพื่อไม่เพิ่มรายจ่ายจากดอกเบี้ยและการชำระคืนเงินต้น
กฎเหล็กข้อที่ 2: ตั้งคำถามไว้เสมอ "จำเป็นไหม" และ "จ่ายไหวหรือเปล่า"
ก่อนการใช้จ่ายหรือกู้ยืม ให้พิจารณาความจำเป็นและความสามารถในการชำระคืน กฎนี้จะช่วยลดโอกาสในการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและป้องกันการสร้างหนี้ที่ไม่จำเป็น
กฎเหล็กข้อที่ 3: บัตรเครดิต คือ เครื่องมืออำนวยความสะดวกเท่านั้น
เข้าใจว่าบัตรเครดิตไม่ใช่แหล่งกู้เงิน แต่เป็นเครื่องมือสำหรับการใช้จ่ายโดยไม่ต้องพกเงินสด ควรใช้บัตรเครดิตเฉพาะเมื่อมีเงินพร้อมจ่าย และหลีกเลี่ยงการรูดบัตรเมื่อไม่มีเงินพอ
การยึดถือ 3 กฎเหล็กการเงินนี้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต จะช่วยลดโอกาสการเป็นหนี้ถาวรและสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์เศรษฐกิจแบบใดก็ตาม
มองหาสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ผ่อนหนักให้เบาสบาย ด้วยสินเชื่อเคหะ รีไฟแนนซ์ จากธนาคารออมสิน ช่วยลดภาระให้คุณได้ใช้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยปีแรกเริ่มต้นเพียง 1.990% ต่อปี
- อัตราดอกเบี้ยคงที่นาน 2 ปี
- สนับสนุนค่าจดจำนอง สำหรับวงเงินกู้สินเชื่อเคหะ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป จ่ายตามจริงไม่เกิน 30,000 บาท และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.787% - 5.419% ต่อปี
ยื่นกู้ได้ตั้งแต่ 16 สิงหาคม 2567 - 15 พฤศจิกายน 2567
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขา GSB Contect Center 1115
ธนาคารออมสิน เป็นลูกค้าเราเท่ากับช่วยสังคม
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital