สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาโอกาสในการขยายฐานลูกค้าไปยังต่างประเทศ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Cross-border e-commerce เป็นสิ่งสำคัญ แต่มันแตกต่างจากการส่งออกสินค้าแบบดั้งเดิมอย่างไร ? มาดูกันที่ความแตกต่างที่สำคัญ 5 ประการ
1. ช่องทางการขาย
- Cross-border e-commerce :
- ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เป็นหลัก
- ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ส่วนตัว, Marketplace (Amazon, eBay, Lazada, Shopee, Alibaba), โซเชียลมีเดีย
- เข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก 24/7
- การค้าแบบดั้งเดิม :
- ใช้ช่องทางออฟไลน์เป็นหลัก
- ตัวอย่างเช่น งานแสดงสินค้า, ตัวแทนจำหน่าย, แคตตาล็อก
- มีขั้นตอนซับซ้อนและจำกัดขอบเขตลูกค้า
2. กระบวนการ
- Cross-border e-commerce :
- กระบวนการง่ายและรวดเร็ว
- สร้างร้านค้าออนไลน์, จัดการสินค้า, รับชำระเงินผ่านระบบออนไลน์
- ระบบโลจิสติกส์เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มโดยตรง
- การค้าแบบดั้งเดิม :
- กระบวนการซับซ้อน
- ต้องเจรจาต่อรอง, จัดการเอกสารศุลกากร, ดูแลการขนส่งและการชำระเงิน
- ใช้เวลาและทรัพยากรมากกว่า
3. ความสะดวกสบาย
- Cross-border e-commerce :
- ทำธุรกรรมได้ตลอดเวลาและทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต
- ผู้บริโภคเปรียบเทียบราคาและสินค้าได้ง่าย
- การตัดสินใจซื้อทำได้รวดเร็ว
- การค้าแบบดั้งเดิม :
- ต้องติดต่อผ่านช่องทางอื่น เช่น โทรศัพท์, อีเมล, การเดินทางไปเจรจา
- ใช้เวลานานและอาจมีปัญหาในการสื่อสาร
4. ต้นทุน
- Cross-border e-commerce :
- ต้นทุนเริ่มต้นต่ำ ไม่ต้องมีหน้าร้านจริง
- ต้องลงทุนด้านการตลาดออนไลน์และระบบหลังบ้าน
การค้าแบบดั้งเดิม :
- ต้นทุนสูงกว่า
- ค่าใช้จ่ายรวมถึงค่าเช่าพื้นที่, ค่าจ้างพนักงาน, ค่าเดินทาง
5. ความเสี่ยง
- Cross-border e-commerce :
- การแข่งขันสูงเนื่องจากมีผู้ขายจำนวนมาก
- อาจมีความเสี่ยงด้านการโกงหรือหลอกลวง
- การค้าแบบดั้งเดิม :
- เสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจ
- ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบาย
- การแข่งขันจากคู่แข่งในท้องถิ่น
การเลือกระหว่าง Cross-border e-commerce และการค้าแบบดั้งเดิมขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจ เป้าหมาย และทรัพยากรที่มี ผู้ประกอบการควรพิจารณาข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีก่อนตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับธุรกิจของตน
เจาะลึกด้าน Cross-border e-commerce กับท่านพรวิช ศิลาอ่อน รองอธิบดี กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการส่งออก ขยายตลาด สินค้าและธุรกิจบริการของไทย พัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและธุรกิจบริการส่งออก ให้บริการข้อมูลการค้าและเพิ่มศักยภาพ การแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก เพื่อเพิ่มมูลค่าและปริมาณการส่งออกของประเทศไทย
โดยปัจจุบันเป็นยุคที่อินเทอร์เน็ตมีบทบาทและเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคม อีกทั้งอินเทอร์เน็ตยังก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจบนโลกออนไลน์ สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการที่ใช้นวัตกรรมสร้างธุรกิจใหม่บนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อม ปรับตัวให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป การค้าในช่องทางเดิมหรือช่องทางหลักเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ ดังนั้น การค้า/การส่งออกผ่านช่องทางออนไลน์ จึงเริ่มเข้ามามีบทบามสำคัญ
กรมฯ ในฐานะหน่วยงานหลักที่ช่วยผลักดันการส่งออกสินค้าไทยไปยังต่างประเทศ จึงจัดทำโครงการเพื่อช่วยผู้ประกอบการไทยและผลักดันภาคธุรกิจไทยปรับตัวเข้าสู่การค้าโลกในยุคดิจิทัลได้ผ่าน การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่การค้าออนไลน์ การขยายความร่วมมือกับพันธมิตรแพลตฟอร์มชั้นนำต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ SMEs ไทยเข้าถึงผู้บริโภคในต่างประเทศโดยตรง และที่สำคัญ กรมฯ ได้จัดตั้งร้าน TOPTHAI บนแพลตฟอร์ม e-Commerce พันธมิตร เพื่อเป็นช่องทางในการส่งเสริมสินค้าไทยคุณภาพให้สามารถส่งออกสู่ตลาดโลกผ่านช่องทางออนไลน์ได้ โดยกรมฯ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายบนแพลตฟอร์มต่อเนื่อง ปัจจุบัน มีร้าน TOPTHAI บน 9 แพลตฟอร์ม ใน 10 ประเทศ
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการทุกท่านมาสมัครเข้าร่วมโครงการ TOPTHAI และสามารถติดตามข่าวสารได้ที่
Facebook : ThaiTrade.com, TikTok : topthaibyditp
หรือ website : digitalnet@ditp.go.th และ โทรสายด่วน : 1169
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital