ข่าวเย็นประเด็นร้อน - วันที่ 4 ของปฏิบัติการกู้ภัยช่วยชีวิตคนงาน 3 คนติดอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงที่นครราชสีมา เจ้าหน้าที่ยังคงทำงานแข่งกับเวลา และเปลี่ยนแผนต่อเนื่อง
ความคืบหน้าการค้นหา และช่วยเหลือผู้ประสบภัยเหตุดินถล่ม ภายในอุโมงค์ก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ช่วงสถานีรถไฟ คลองขนานจิตร ริมอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ช่วงกิโลเมตรที่ 189+435 ตำบลจันทึก เหตุเกิด 5 ทุ่ม 40 นาที วันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา
โดยจุดที่ดินถล่ม ห่างจากปากทางเข้าอุโมงค์ก่อสร้าง ประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีผู้สูญหายจำนวน 3 ราย เป็นชาวจีน 2 ราย และ ชาวเมียนมา 1 ราย เจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานทั้งไทยและจีนได้ระดมกำลังเข้าเร่งค้นหาช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องเข้าสู่วันที่ 4 ซึ่งเมื่อวานนี้ มีรายงานตลอดช่วงเย็นว่า อาจจะมีข่าวดี ช่วยผู้ที่ติดค้างด้านในออกมาได้ 1 ราย
ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ณ พื้นที่เกิดเหตุ ซึ่งมีนายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ได้รายงานความคืบหน้าในการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเมื่อเวลา 7 โมงเช้าที่ผ่านมา ทีมขุดค้นหาได้ขุดอุโมงค์ เข้าไปได้รวมระยะทาง 3 เมตร อยู่ระหว่างการติดตั้งเสาค้ำยัน ตัวที่ 2 และตัวที่ 3 หลังจากนั้นจะใช้คนขุดต่อเข้าไปอีก 1 เมตร ซึ่งเป็นระยะเป้าหมายที่คาดว่าจะพบผู้ประสบภัยรายที่ 1 ติดอยู่ และคาดว่าเจอรถบรรทุกก่อน
ส่วนขั้นตอนการเข้าช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ได้ทำการฉีดปูนที่ผสมสารเร่งการแข็งตัวของปูนบริเวณจุดที่เป็นดินสไลด์ลงมาจากภูเขาทั้งหมด และต้องรอการแข็งตัว 1 ชั่วโมง มีการนำกระสอบทรายอุดช่องว่างบริเวณด้านข้างของจุดที่ค้ำยันภายในอุโมงค์ และหยุดการขุดเพิ่มเป็นระยะ เพื่อติดตั้งเครื่องค้ำยันเสริมเพื่อป้องกันดินถล่มลงมาซ้ำ
ขณะที่นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุมภ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เดินทางมาอำนวยการการช่วยเหลือ ทั้ง 3 ชีวิต พร้อมเรียกประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินสถานการณ์อีกครั้ง หลังจากที่ทีมปฏิบัติการ ยังไม่สามารถช่วยผู้ติดค้างออกมาได้แม้แต่รายเดียว
ขณะที่ในช่วงเช้า ได้รับรายงานจากผู้ควบคุมงาน ว่ามีเหตุเพดานอุโมงค์ถล่ม จนเป็นรูและมีแสงเข้ามาด้านในอุโมงค์ ความกว้างกะด้วยสายตา ประมาณ 2-3 เมตร อาจเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ กู้ภัยต้องถอนกำลังออกมาก่อน และใช้อากาศยานไร้คนขับบินเพื่อดูแนวความปลอดภัย
นายชัยวัฒน์ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว เรื่องการสร้างอุโมงค์ซ้อนอุโมงค์ เนื่องจากเพดานด้านบนเห็นแสงสว่าง แสดงว่าดินมีช่องว่าง ต้องปิดรอยรั่ว ไม่ให้ดินถล่มลงมาอีก โดยวิธีการฉีดคอนกรีตเลี้ยงบริเวณเนินดินไม่ให้สไลด์ หากเจาะเข้าไปโดยไม่มีคอนกรีต อาจทำให้ดินสไลด์ลงมาได้
นายชัยวัฒน์ ยืนยัน ผู้ติดค้างคนแรก อยู่ในระยะแค่ 1.2 เมตร ซึ่งระยะดังกล่าวเป็นการใช้สแกนทั้งซ้ายและขวา แต่ทั้ง 3 คนยังมีสัญญาชีพอยู่ การปฎิบัติงานเจ้าหน้าที่ประชุมกันว่ามาถูกทางแล้ว
ด้านนายเกริกเสกข์สัณห์ วาสะศิริ ผอ.ส่วนปฏิบัติการพิเศษค้นหาและกู้ภัยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย เปิดเผยว่า ขั้นตอนการขุดเจาะอุโมงค์ช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุ 3 รายนั้น ทีมกู้ภัยจะสร้างอุโมงค์ชั่วคราว หรืออุโมงค์ซ้อนอุโมงค์ โดยใช้เหล็กความยาวประมาณ 6 เมตร กว้าง 1.20 เมตร /วางเป็นแกนและคานทำเป็นท่อช่วยชีวิต แล้วนำโครงเหล็กและไม้ มาประกอบเป็นอุโมงค์ความยาวเท่าเหล็ก
เมื่อประกอบเป็นอุโมงค์แล้ว ทีมกู้ภัยอีกชุดจะใช้เครื่องจักรขุดดินที่อยู่ในอุโมงค์ ซึ่งจะใช้วิธีการนี้ไปจนกว่าจะถึงจะจุดที่เครื่องตรวจจับความเคลื่อนไหวของสภาพร่างกายตรวจเจอ แต่ถ้าขุดไปแล้วยังไม่ถึงตัวผู้ประสบเหตุ จะใช้วิธีการเดียวกันขุดไปจนกว่าจะถึงจุดที่ประสบเหตุติดอยู่
โดยเจ้าหน้าที่จะใช้วิธีขุดเป็นแนวทะเเยง หลังเครื่องตรวจจับความเคลื่อนไหวบ่งชี้ว่า ผู้ประสบเหตุรายแรกซึ่งเป็นแรงงานเมียมา อยู่ไม่ไกลจากเครื่องตรวจวัด
เบื้องต้นคาดว่า น่าจะนำผู้ประสบเหตุออกมาเป็นคนแรก ได้ภายในวันนี้ และจากการใช้เครื่องตรวจจับความเคลื่อนไหวของร่างกายพบว่า ยังมีความเคลื่อนไหวที่บริเวณหน้าอกลักษณะคล้ายการหายใจ
สำหรับผู้ที่ติดค้างรายแรกที่เหลือระยะอีกแค่ 1 เมตร เจ้าหน้าที่ชุดกู้ภัยก็จะถึงตัวแล้วนั้น พบว่าผู้ที่ติดค้างรายนี้ น่าจะติดค้างอยู่ในรถบรรทุก
ส่วนผู้ประสบเหตุรายที่ 2 เป็นชาวจีน อยู่ห่างจุดที่ดินถล่ม 8 เมตร และอยู่ห่างจากผู้ที่ติดค้างรายแรก 5 เมตร อยูู่ใกล้กับแบ๊กโฮ ส่วนรายที่ 3 เป็นวิศกรชาวจีน อยู่ห่างจากจุดถล่ม 14 เมตร อยู่ห่างจากคนแรก 11 เมตร
ขณะที่การสอดท่อช่วยชีวิตเพื่อลำเลียงผู้ประสบภัยทั้ง 3 รายนั้น เมื่อมีการดันท่อเข้าไปจะถึงที่หมาย ทำให้ดินภายในทรุดลงมาเป็นระยะ โดยอุปสรรคที่พบ ฝั่งซ้ายของผนังดินจะมีดินสไลด์ลงมาอยู่ตลอด ต้องนำกระสอบทรายไปวางถ่วงสมดุล เพื่อป้องกันไม่ให้ดินสไลด์
การทำงานด้านใน ต้องใช้คนงานกรอกดินใส่ถุงแล้วแบกออกมาทิ้งด้านนอก ส่วนสาเหตุที่ดินถล่ม คาดว่าเกิดจากช่วงก่อนวันเกิดเหตุมีฝนตกต่อเนื่อง มีน้ำซึมเข้าสู่ชั้นดินบริเวณด้านบนของอุโมงค์ เมื่อดินอุ้มน้ำมีปริมาณน้ำมาก
ในขณะที่มีการดาดคอนกรีตด้านบนบางส่วน(ดาดคอนกรีต=โครงสร้างที่ป้องกันน้ำกัดเซาะหน้าดินป้องกันการพังทลายของดิน)แต่ยังไม่ได้ดำเนินการดาดเต็มวงรอบของผนังอุโมงค์ให้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้ดินที่มีน้ำหนักมากดังกล่าวถล่มลงมาทับรถบรรทุก และยานพาหนะที่เข้าไปปฏิบัติงาน
ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางไปที่หน้าอุโมงค์เป็นวันที่ 2 ติดต่อกันเพื่อติดตามการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยภัยทั้ง 3 ราย
นายอนุทิน ระบุว่า พร้อมให้ความช่วยเหลือในทุกด้านในการช่วยชีวิตผู้ที่ติดค้างอยู่ด้านใน กำชับให้ทั้งภาครัฐและเอกชน แบ่งหน้าที่ให้ชัดเจนและต้องประสานงานกันอย่างไร้รอยต่อ พร้อมทั้งให้กำลังใจทีมกู้ภัย และย้ำว่าให้ทำงานภายใต้ความปลอดภัย ไม่อยากเห็นอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับใครอีก
เจอปัญหา ! ขุดเจาะคนละแนวกับคนงานรายแรก
นายอนุทิน บอกด้วยว่า จุดที่ผู้ประสบภัยคนที่ 1 อยู่ใกล้ที่สุด ห่างจากเครื่องขุดในรัศมี 1.2 เมตร ติดอยู่ในรถบรรทุก มีการขยับตัว แต่พบว่าไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกับเครื่องขุดเจาะ ต้องมีการขุดทะแยงลงไปอีก 1.8 เมตร โดยใช้รถแบ็กโฮ
สำหรับคนที่ 2 ชาวจีน ติดในรถแบ็กโฮ ระยะทางห่างจากจุดแรก 8 เมตร และคนที่ 3 ห่างไปอีก 14 เมตร ซึ่งจากการเจาะพบว่ามีดินสไลด์ลงเป็นระยะ ซึ่งตามแผนการช่วยเหลือจะดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยคนแรกให้ได้ภายในบ่ายสามโมงวันนี้
นายอนุทิน บอกด้วยว่า การพบสัญญาณชีพ คนข้างในยังสู้ คนของนอกก็ต้องไม่ท้อ ต้องมีความหวังแต่งานซับซ้อน เนื่องจากเราสู้กับแรงดันจากดินด้านบน การทำงานต้องระวัง แต่มั่นใจว่าทุกอย่างจะลุล่วงได้
สำหรับอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงที่ถล่มลงมานั้น โครงสร้างที่ดำเนินก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น มีระยะทาง 1.5 กิโลเมตร // จุดที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณฯ์ มีระยะทางทาง 15 เมตร อยู่ระหว่างการเทคอนกรีตเสริมความแข็งแรง ส่วนจุดที่ดินถล่มนั้น มีระยะทาง 500 เมตร
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้ง 3 คน เจ้าหน้าที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา เนื่องจากผู้ประสบภัย แม้จะยังมีสัญญาณชีพ แต่อยู่ในสภาวะขาดน้ำและอาหาร มานานกว่า 70 ชั่วโมงแล้ว ซึ่งมีความเสี่ยง//แต่เจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานยังคงมั่นใจว่าจะสามารถเข้าถึงตัวผู้ประสบภัยได้
ส่วนแผนการลำเลียงทั้ง 3 คน ทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยจีนจะลอดผ่านอุโมงค์เล็กและท่อแคสซิ่ง แล้วไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการเตรียมเครื่องมือตัดถ่างเหล็กเพื่อไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ในรถให้ออกมาได้
โดยคนแรกที่ช่วยเหลือคือคนงานชาวเมียนมา จากนั้นจะลำเลียงผู้ประสบภัยคนแรกออกมาขึ้นรถกู้ภัยไทยที่เตรียมสแตนด์บายไว้อยู่ในอุโมงค์ ขณะที่ทั้งกู้ภัยไทยและกู้ภัยจีนจะมีการช่วยชีวิตและประเมินสถานการณ์ร่างกายเบื้องต้นของผู้ประสบภัยก่อน โดยมีทีมแพทย์ที่อยู่บริเวณศูนย์อำนวยการ เข้าประเมินอาการภายหลัง จากนั้นจะมีการประเมิน
อาการจากทางทีมแพทย์ไทย โดยระบุว่า หากผู้ประสบภัยบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย จะเคลื่อนย้ายด้วยเปลผู้ป่วยและใช้รถกู้ภัยนำส่งโรงพยาบาลปากช่องนาน ใช้เวลาเดินทาง 45 นาที
ส่วนกรณีผู้บาดเจ็บอาการรุนแรงจะเคลื่อนย้ายด้วยการนอนในเปลผู้ป่วยของรถกู้ภัย และนำส่งโรงพยาบาลสีคิ้ว ใช้เวลาเดินทาง 25 นาที
หากผู้ประสบภัยอาการวิกฤตจะเคลื่อนย้ายด้วยเฮลิคอปเตอร์ไปโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อเวลา 14 นาฬิกา 55 นาที ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ขุดไปพบคนงานรายแรกที่ติดในอุโมงค์แล้ว เป็นชาวเมียนมา โดยเจ้าหน้าที่เคาะประตูรถที่ขุดไปเจอ และมีสัญญาณเคาะตอบกลับมา เจ้าหน้าที่จึงเรียกทีมแพทย์ไปเสริมพร้อมอาหารและยา ก่อนประเมินสถานการณ์ในการเคลื่อนย้ายนำตัวออกมาว่าจะเดินทางไปโรงพยาบาลทางเฮลิคอปเตอร์หรือทางรถ
ล่าสุดเมื่อเวลา 14.55 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ขุดไปพบคนงานรายแรก ที่ติดอยู่ในอุโมงค์แล้ว เป็นชาวเมียนมา / โดยเจ้าหน้าที่เคาะกระจกประตูรถ ที่ติดภายใน ก่อนมีสัญญาณเคาะตอบสนองกลับมา / เจ้าหน้าที่จึงเรียกทีมแพทย์ไปเสริม เพื่อเตรียมขนย้ายผู้ประสบภัยออกมา
ขณะที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ตอนนี้กำลังเตรียมการเรื่องดูแลผู้ประสบภัย ถ้านำตัวออกมาได้แล้ว จะนำตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ที่มีเครื่องมือและแพทย์พร้อม แต่เรื่องการขนส่ง ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า จะเคลื่อนย้ายทางรถ หรือเฮลิคอปเตอร์ / ส่วนคนที่เหลืออีก 2 คน ยังมีสัญญาณการเคลื่อนไหว
ติดตาม รายการ “ข่าวเย็นประเด็นร้อน” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.00-17.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35