logo ข่าวเย็นประเด็นร้อน

คืบหน้า ! มวลน้ำถูกทอน ไม่ท่วมตัวเมือง จ.สุโขทัย | ข่าวเย็นประเด็นร้อน

ข่าวเย็นประเด็นร้อน : ข่าวเย็นประเด็นร้อน - เมื่อเวลา 12.00 น. มวลน้ำก้อนใหญ่มาถึงหาดสะพานจันทร์เรียบร้อยแล้ว และจะถึงอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ใ ช่อง7,ช่อง7HD,CH7,CH7HD,7HD,CH7HDNEWS,ข่าว,ข่าว7,ข่าวช่อง7,ข่าววันนี้,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ข่าวสด,ข่าวเด็ด,ข่าวด่วน,ข่าวร้อน,ข่าวไทย,ข่าวออนไลน์,ข่าวโซเชียล,ข่าวสังคม,ข่าวภูมิภาค,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวการเมือง,ดูทีวีย้อนหลัง,ดูรายการย้อนหลัง,ดูย้อนหลัง,ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,TERODigital,ข่าวเย็นประเด็นร้อน,สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,สงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์,เปรมสุดา สันติวัฒนา,ฝนฟ้าอากาศ,ทิน โชคกมลกิจ,จีรนันท์ เขตพงศ์,สันติวิธี พรหมบุตร

898 ครั้ง
|
27 ส.ค. 2567
ข่าวเย็นประเด็นร้อน - เมื่อเวลา 12.00 น. มวลน้ำก้อนใหญ่มาถึงหาดสะพานจันทร์เรียบร้อยแล้ว และจะถึงอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ในเวลา 24.00 น. ของคืนนี้ แต่ระหว่างที่น้ำจะถึงเมืองสุโขทัย มวลน้ำถูกทอนไปยัง จุดแตก หมู่ 6 ตำบลคลองกระจง, จุดล้นและแตก หมู่ 3 หมู่ 6 หมู่ 7 ตำบลท่าทอง, จุดแตกใหญ่ หมู่ 5 ตำบลคลองตาล, จุดแตกใหญ่ หมู่ 6 ตำบลวังใหญ่, ระบายไปยังคลองบางคลอง ออกทุ่งทะเลหลวง, ระบายไปยังคลองต้นข้อ, จุดแตกยางซ้าย, ระบายไปยังคลองบ้านหลุม ทำให้ในตัวเมืองอาจจะรอด เพราะว่าน้ำถูกทอนไปมาก แต่เพื่อไม่ประมาท โปรดยกของขึ้นที่สูง
 
ส่วนบรรยากาศเมื่อเช้านี้ ที่ตำบลท่าทอง อำเภอสวรรคโลก พนังกั้นน้ำแตก ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน แม่น้ำยมในอำเภอสวรรคโลก เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จนมวลน้ำได้มุดใต้กำแพงผนังปูนกั้นน้ำ ริมแม่น้ำยม หมู่ 6 ตำบลท่าทอง ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา กระทั่งเวลาประมาณ 09.30 น. น้ำได้กัดเซาะจนผนังปูนพัง ขาดเป็นทางยาวกว่า 20 เมตร จนมวลน้ำไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนกว่า 100 ครอบครัว ถนนถูกตัดขาดทั้ง 2 ฝั่ง
 
นางเปลือย ชาวบ้าน บอกว่า เมื่อคืนนี้ไปอาศัยนอนที่วัดหนองป่าตอ กระทั่งช่วงสาย เพื่อนบ้านโทรมาบอกว่าผนังปูนพังให้รีบมาดูบ้าน ยอมรับน้ำท่วมครั้งนี้ถือว่ารุนแรงมาก
 
ขณะเดียวกัน แม่น้ำยมยังได้กัดเซาะแนวคันดินป้องกันตลิ่งพังเพิ่มอีกหลายจุด ทั้งบริเวณใต้สะพานสิริปัญญารัต หมู่ 6 ตำบลวังใหญ่ และหมู่ 5 ตำบลคลองตาล อำเภอศรีสำโรง รวมทั้งกัดเซาะคอสะพานบ้านหนองโว้ง หมู่ 1 ตำบลเมืองบางยม และกระแสน้ำยังได้พังแนวกระสอบทราย หมู่ 3 หมู่ 7 ตำบลท่าทอง อำเภอสวรรคโลก ทำให้มวลน้ำไหลทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
 
โดยเฉพาะที่หมู่ 8 ตำบลวังทอง อำเภอศรีสำโรง เขตติดต่อกับหมู่ 6 ตำบลวังใหญ่ (จุดคันดินแตก) ในหมู่บ้าน ถูกน้ำท่วมสูงถึง 2 เมตร ประชาชนต้องใช้เรือพายเข้า-ออกจากบ้าน
 
ด้าน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า ช่วงนี้ยังคงต้องเฝ้าระวังตลอดริมแม่น้ำยม เพราะว่าปริมาณน้ำที่มาจากจังหวัดแพร่ เข้ามาในพื้นที่สุโขทัยตามลำน้ำยม ยังคงมีปริมาณมากอยู่ ส่วนเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี เป็นพื้นที่เศรษฐกิจนั้น ยังพอรับสถานการณ์ได้ แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังอยู่
 
ส่วนตอนนี้ในพื้นที่สุโขทัย มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ รวม 4 อำเภอ ดังนี้
 
1. อำเภอเมืองสุโขทัย น้ำล้นพนังกั้นน้ำ ท่วมขังบ้านเรือน 5 ตำบล 9 หมู่บ้าน 3 ชุมชน 309 ครัวเรือน ถนนเสียหาย 1 เส้นทาง
 
2. อำเภอศรีสำโรง คันดินสะพานสิริปัญญารัตน์ถูกน้ำกัดเซาะและพังทลาย น้ำท่วมขังบ้านเรือน 6 ตำบล 16 หมู่บ้าน 604 ครัวเรือน
 
3. อำเภอศรีสัชนาลัย น้ำท่วมขังบ้านเรือน 4 ตำบล 16 หมู่บ้าน 212 ครัวเรือน โรงเรียน 1 แห่ง ถนน 11 เส้น
 
4. อำเภอสวรรคโลก คลองยมน่านคันคลองถูกกัดเซาะ น้ำท่วมขังบ้านเรือน 8 ตำบล 39 หมู่บ้าน 2,440 ครัวเรือน ถนน 8 เส้น
 
ส่วนสถานการณ์ที่จังหวัดพิษณุโลก หลังน้ำยมหลากในเขตภาคเหนือตอนล่าง ส่วนหนึ่งกำลังไหลเข้ามาในเขตแม่น้ำยมสายเก่า ทำให้วันนี้ ที่บ้านวังขี้เหล็ก หมู่ 10 ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม ได้เปิดการระบายน้ำจากท่อระบายน้ำคลองแยงมุม เข้าทุ่งบางระกำ เป็นทุ่งนาที่เก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว
 
สำหรับโครงการบางระกำโมเดล เป็นโครงการปรับปฏิทินการเพาะปลูก เพื่อใช้เป็นพื้นที่รองรับน้ำหลากและหน่วงน้ำ ในเขตอำเภอพรหมพิราม อำเภอบางระกำ อำเภอเมือง และอำเภอวัดโบสถ์ และอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยเกษตรจะเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวนาปีก่อนฤดูกาลปกติ เริ่มเพาะปลูก 1 เมษายน และเก็บเกี่ยวก่อนฤดูน้ำหลาก ไม่เกิน 15 สิงหาคม หลังจากนั้นจะงดทำการเพาะปลูก เพื่อเป็นพื้นที่รองรับน้ำเป็นทุ่งหน่วงน้ำให้กับลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ก่อนเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวนาปรังรอบใหม่ ตั้งแต่ 1 ธันวาคม เป็นต้นไป
 
อัปเดตสถานการณ์ล่าสุด ในพื้นที่ตัวเมืองสุโขทัย ต้องบอกว่ารอดปลอดภัย โดยได้รับการยืนยันจาก นายฐนโรจน์ วรรัฐประเสิร์ฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มวลน้ำสูงสุด 1,700 ลูกบาศก์เมตรนั้นได้ถึงที่อำเภอศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ 6 โมงเช้าที่ผ่านมา จนถึงเวลาประมาณเที่ยง จากนั้นระดับเริ่มคงที่และลดลง ซึ่งน้ำที่ตัวเมืองสุโขทัย ก็ลดลงจาก 7.66 เมตร เหลือ 7.53 เมตรด้วย
 
อย่างไรก็ตาม มองต่อจากนี้ พื้นที่รับน้ำต่อไปคือภาคกลาง ซึ่งจะต้องเตรียมรับน้ำ 2 ส่วน คือ มวลน้ำเหนือ และน้ำจากลุ่มน้ำยม โดยจะใช้เวลาเดินทางจากสุโขทัยไปที่เขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ประมาณ 5-7 วัน ทำให้เขื่อนเจ้าพระยามีการระบายน้ำท้ายเขื่อน เพื่อรองรับน้ำเหนือที่จะมาถึง
 
ขณะที่ กรมชลประทาน มีหนังสือแจ้งเตือนให้พื้นที่รับน้ำ นอกเขตชลประทาน และพื้นที่ลุ่มต่ำ ให้ระวังน้ำที่จะสูงขึ้นฉบับที่ 5 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด 11 จังหวัด ประกอบด้วย อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร
 
โดยจากการติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ พบว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้
 
ซึ่งทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประเมินพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 24-30 สิงหาคม และจากการคาดการณ์โดยกรมชลประทาน ใน 1-7 วันข้างหน้า
 
โดยในวันที่ 30 สิงหาคม ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคาดการณ์ปริมาณน้ำจากลำน้ำสาขามีปริมาณประมาณ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณน้ำ 1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และรับน้ำเข้าระบบชลประทาน 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในอัตรา 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
 
กรมชลประทานมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อน ในอัตรา 900-1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีก 0.50-1.50 เมตร ในพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ อาทิ บริเวณคลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และแม่น้ำน้อย ที่ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผังไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน
 
หากมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้นที่จะส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
 
อย่างไรก็ตาม กรมชลประทาน ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และพื้นที่ลุ่มต่ำ ทั้ง 11 จังหวัด เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
 
และจากการตรวจสอบข้อมูล ล่าสุด 15.00 น. ทางกรมชลประทานได้ปรับการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาวันนี้ จาก 900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มเป็น 1,100  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อเวลา 13.00 น. ที่ผ่านมา แต่แจ้งให้ทุกคนทราบว่า การระบายน้ำสูงสุดจะไม่เกิน 1,400 ลูกบาศก์เมตร
 
มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ขอเชิญ ร่วมแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ร่วมบริจาคได้ที่ เลขที่บัญชี 020-3-04545-1 ธนาคารไทยพาณิชย์ กระแสรายวัน หรือสแกน QR Code E-Donation บริจาคผ่านระบบ Mobile Banking ได้ทุกธนาคาร ใบเสร็จสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
 
ติดตาม รายการ “ข่าวเย็นประเด็นร้อน” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.00-17.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง