logo เงินทองของจริง

อายุความบัตรกดเงินสด มีผลอย่างไรต่อการฟ้องร้องหรือไม่ ? | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : เมื่อเป็นหนี้ บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หนี้เงินกู้ หรือสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งหนี้เหล่านี้เมื่อเข้าสู่กระบวนการกฎหมาย จะเกิดเป็นกา ch7hd news,tero digital,ch7hdnews,terodigital,เงินทองของจริง,moneycoach,money coach,โคชหนุ่ม จักรพงษ์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โค้ชหนุ่ม,กาย สวิตต์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน

9,327 ครั้ง
|
09 ก.ค. 2567
เมื่อเป็นหนี้ บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หนี้เงินกู้ หรือสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งหนี้เหล่านี้เมื่อเข้าสู่กระบวนการกฎหมาย จะเกิดเป็นการฟ้องร้อง คดีแพ่ง
 
อันดับแรกต้องทราบก่อนว่าความหมายของอายุความคือ ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้มาฟ้องศาล ถ้าหนี้ขาดอายุความแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/10 ลูกหนี้มีสิทธิ์ในการปฏิเสธไม่จ่ายหนี้ได้โดยแม้เป็นสิทธิ์ตามกฎหมายแต่จะมีเงื่อนไขสำคัญในมาตรา 193/29 ถ้าลูกหนี้ไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ห้ามศาลยกอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้อง หมายความว่า
 
แม้หนี้จะขาดอายุความแล้วเจ้าหนี้ยังคงมีอำนาจฟ้องลูกหนี้ ! ดังนั้นหากคุณหรือคนที่รู้จักเป็นหนี้บัตรเครดิตมาเป็นระยะเวลานานก็อย่าพึ่งคิดว่าจะไม่โดนฟ้อง และเมื่อถูกฟ้องจุดสำคัญลูกหนี้จะต้องยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจึงจะนำเหตุเรื่องอายุความมาพิพากษายกฟ้องให้ได้
 
สำหรับคำถามที่ว่าในความเป็นจริงแล้วหนี้บัตรเครดิตมีอายุความกี่ปีนั้นส่วนนี้จะอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34 คือหนี้ที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเอาวงเงินที่ตนเองได้ออกไปแทน ดังนั้นจึงมีกำหนดอายุความแค่ 2 ปีเท่านั้น แต่ถึงแม้ว่าจะหมดอายุความแล้วก็ตามเจ้าหนี้ก็ยังคงฟ้องร้องได้ ซึ่งตัวผู้เป็นหนี้บัตรเครดิตเองอาจเลือกแก้ไขปัญหาผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การรีไฟแนนซ์ หรือการ รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต นั้นเอง
 
ไม่ว่าหนี้บัตรเครดิตจะมีอายุความกี่ปีก็ตาม ตามบัญญัติกฎหมายระบุเอาไว้ชัดเจนว่าไม่ว่ามูลหนี้จะมีมูลค่าจำนวนเท่าใดก็ตาม หากมีการผิดนัดชำระหนี้เจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ฟ้องร้องได้ แต่ถ้ามูลค่าหนี้เกินจำนวน 2,000 บาท การฟ้องร้องจะทำได้ก็เมื่อมีหลักฐานคือสัญญาหนังสือเงินกู้ เพราะหากไม่มีก็จะไม่สามารถฟ้องได้
 
หากเป็นหนี้ เจ้าหนี้สามารถอายัดเงินของเราได้ไหม ?
 
คำตอบคือ ได้ โดยเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระคืนตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยศาลจะตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายยึดและอายัดต่อไป ซึ่งทรัพย์สินที่สามารถยึดได้ มีดังนี้
1. เงินเดือน อายัดได้ไม่เกิน 30% และลูกหนี้ต้องมีเงินเดือนมากกว่า หนี้ 20,000 บาทถึงจะสามารถอายัดได้ และถ้าลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่น ๆ เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่ารักษาพยาบาลก็สามารถนำหลักฐานไปขอลดหย่อนที่กรมบังคับคดีเพื่อลดเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้
ตัวอย่างเช่น  นายเอ ลูกหนี้ มีเงินเดือน 15,000 บาท กรณีนี้ไม่ถูกอายัดเงินเดือน  นายบี ลูกหนี้ มีเงินเดือน 40,000 บาท กรณีนี้จะถูกอายัดได้ไม่เกิน 30% คือ 12,000 บาท คงเหลือเงินเดือนที่ไม่ถูกอายัด 28,000 บาท
2. เงินโบนัส อายัดได้ไม่เกิน 50%
3. เงินตอบแทนการออกจากงาน อายัดไว้ได้ไม่เกินสามแสนบาทหรือตามที่เจ้าหน้าที่บังคับคดีเห็นสมควร
4. เงินค่าตอบแทน ค่าสวัสดิการต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ อายัดได้ตามที่ขอแต่ไม่เกิน 30%ของจำนวนทีมีสิทธิได้รับ
5. เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลจากการลงทุน อายัดให้ตามที่ขอ โดยหากเจ้าหนี้ไม่ได้ระบุให้อายัดเฉพาะปีใดปีหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเป็นประจำทุกปีจนกว่าจะพ้นหนี้
6. ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน เช่น หุ้น ทองคำ ตราสารหนี้ หรือ กองทุน ให้อายัดให้ตามที่ขอ โดยระบุให้บุคคลภายนอกผู้รับคำสั่งอายัดส่งเงินเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาสิ้นสมาชิกภาพ
 
ทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทรัพย์ได้
1. เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ บําเหน็จ เบี้ยหวัดของลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ
2. เงินเบี้ยเลี้ยงชีพ (เบี้ยคนชรา, เบี้ยคนพิการ)
3. เงินค่าวิทยฐานะ (ค่าตำแหน่งทางวิชาการ)กรณีเป็นข้าราชการ
4. เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
5. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/WYAXN0oLzOQ?feature=shared