การตลาดหลักทรัพย์กล่าวว่าคนไทยไม่มีเงินเก็บยามเกษียณ เพราะอะไรจึงเกิดเหตุการณ์นี้ วันนี้มีคำตอบ ?
ปัญหานี้เกิดขึ้นในประเทศไทยถึง30%ว่าคนไทยไม่มีเงินเก็บยามเกษียณ เหตุผลหลัก ๆ เลย
1. วิถีชีวิตของคนไทย
ยังให้ความสำคัญกับสายสัมพันธ์ครอบครัว เป็นอย่างมากแต่ความเปลี่ยนแปลงได้ ทำให้คนกลุ่มหนึ่งในยุคปัจจุบันมีปัญหาที่ต่างจากรุ่นก่อนๆ ด้วยภาระที่ต้อง "แบก" หลายอย่างไว้พร้อมกันในวันที่โลกไม่เหมือนยุคพ่อแม่อีกต่อไป ทำให้การดูแลครอบครัวกลายเป็นเรื่องที่หนักหนากว่าที่เคย จนเกิดเป็นคำเรียกคนกลุ่มนี้ว่า "Sandwich Generation" คนตรงกลาง แบกทั้งที่บ้านและเศรษฐกิจ
2. คนในวัยไหนก็เป็นอาจตกเป็นเดอะแบก
ได้จากสถานการณ์ของครอบครัวแต่ละคน แต่ส่วนใหญ่มักอยู่ใน Sandwich Generation ซึ่งเป็นคนตรงกลางระหว่างการดูแลผู้ใหญ่และลูกหลาน เนื่องจากคนมีลูกกันช้าลงจากการที่ต้องแบกรับภาระไว้ทั้งสองทาง คล้ายกับลักษณะของแซนด์วิช
3. ยุคปัจจุบันจึงคนดูเหนื่อยกว่ายุคก่อน
เนื่องจาก ยุคที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอย่าง เช่น ปัจจุบันการแบกภาระของครอบครัว ก็รู้สึกเหนื่อยเป็นพิเศษจนหลายคนอาจเคยสงสัยว่า เหตุใดการที่ทุ่มเททำงานอย่างหนัก แล้วก็ยังไม่สามารถดูแลคนรอบข้างได้ดี แถมยังไม่มีเงินเหลือเก็บ
4. โอกาสในการสร้างฐานะในยุคนี้เป็นเรื่องยากขึ้น
โอกาสที่รุ่นลูกจะรวยกว่ารุ่นพ่อแม่ในปัจจุบันได้นั้นลดลงเรื่อยๆ และจากงานศึกษาหนึ่งของไทยก็พบว่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โอกาสที่คนไทยจะสามารถเลื่อนขั้นรายได้หรือขยับสถานะทางสังคมเป็นไปได้ยากขึ้น โดยสถานะทางการเงินของคนรุ่น ปัจจุบันขึ้นอยู่กับฐานะของทางครอบครัวค่อนข้างมาก แม้เราอาจได้ยินเรื่องราวของคนอายุน้อยที่ร่ำรวยขึ้นได้อย่างรวดเร็วอยู่บ่อยครั้ง แต่นั่นยังเป็นคนกลุ่มเล็กมากในสังคม
5. โอกาสด้านการขยับฐานะที่ยากขึ้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียและการตลาดเชิงรุกในยุคใหม่ โดยเฉพาะการ "ใช้ก่อน จ่ายทีหลัง" ได้กระตุ้นความอยากได้อยากมีสิ่งของที่ไม่จำเป็นจนเกิดเป็นหนี้สินจากการใช้จ่ายเกินตัว หรือ ไม่มีเงินเก็บออม ซึ่งอาจเป็นภาระต่อตัวเองในระยะยาว
โดยคนรุ่นใหม่ใฝ่ฝันอยากเกษียณอายุจากการทำงานให้เร็วขึ้น ไม่อยากทำงานจนถึงอายุ 60 ปี เพราะต้องการอิสรภาพในการใช้ชีวิต ต้องมีการวางแผนทางการเงินที่ดี และนี่คือวิธีเช็กบอกว่าคุณเกษียณได้
1.เงินพอใช้
ไม่มีใครรู้ว่าหลังเกษียณจะใช้เงินแค่ไหน แต่ก็ต้องรู้ให้ได้เพื่อเตรียมเงินให้พอใช้ไปจนถึงวันสิ้นลมหายใจ ซึ่งในความจริงก็สามารถคำนวณได้เพียงแค่รู้ค่าใช้จ่ายต่อเดือนและจำนวนปีที่คิดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ
2.ปลดหนี้ทุกอย่างหมดแล้ว
หากชีวิตหลังเกษียณยังเต็มไปด้วยหนี้สิน หรือบางคนก่อนเกษียณไม่กี่ปีก็ยังก่อหนี้เหมือนตอนอายุ 30 ปี แปลว่าต้องแบ่งเงินที่เตรียมไว้ใช้หลังเกษียณมาผ่อนชำระ หากเป็นแบบนี้ย่อมส่งผลให้เงินที่เก็บมาทั้งชีวิตหมดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น สัญญาณสำคัญที่บอกว่าเกษียณได้สมบูรณ์แบบมากขึ้น คือ เคลียร์หนี้ได้หมด โดยเฉพาะหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงๆ เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด หนี้รถยนต์ สำหรับหนี้บ้าน
3.ซ้อมใช้จ่ายว่าหลังเกษียณจะอยู่ได้หรือไม่
เทคนิคง่าย ๆ ที่จะทำให้รู้ว่าชีวิตหลังเกษียณจะต้องใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหน คือ การทดลองลงมือทำว่าถ้าเกษียณจริง ๆ จะมีค่าใช้จ่ายต่อการดำรงชีวิตอะไรบ้าง ซึ่งถ้าต้องการเห็นผลที่ใกล้เคียงก็ควรซ้อมใช้จ่ายทั้งเดือน
4.วางแผนประกันชีวิตได้เหมาะสม
ประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นประกันที่คนไทยให้ความสนใจน้อยมาก เพราะมองว่าต้องจ่ายเบี้ยเป็นระยะเวลานานและกว่าจะได้เงินคืนต้องรอวันเกษียณ แต่ในความจริงแล้วทุกคนควรทำเพราะประกันแบบนี้มีเป้าหมายเพื่อจัดการด้านเกษียณ โดยผู้ทำประกันจะได้รับผลตอบแทนหรือเงินต้นจากบริษัทประกันที่ทยอยจ่ายคืนให้เป็นเงินบำนาญให้เป็นจำนวนเท่าๆ กันทุกปี ตั้งแต่เริ่มเกษียณ (เช่น อายุ 55 ปี หรือ 60 ปี) ไปจนถึงอายุของการจ่ายผลประโยชน์
5.มีเป้าหมายที่อยู่อาศัยและกิจกรรมชัดเจนหลังเกษียณ
ปัจจุบันในแต่ละจังหวัดของประเทศไทยจะมีระดับค่าครองชีพแตกต่างกัน หากเป็นจังหวัดหัวเมืองใหญ่ เป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญ ค่าครองชีพจะอยู่ในระดับสูง ดังนั้น ตัวเลขค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนก็สามารถนำมาวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณในเบื้องต้น
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital