logo เงินทองของจริง

“จ่ายขั้นต่ำ” บัตรเครดิต ภัยร้ายที่ทำให้เป็นหนี้ | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : การจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต หลายคนอาจมองว่าเป็นทางออกที่ง่ายดายเมื่อไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน แต่แท้จริงแล้ว มันคือ "ภัยร้าย" ที่นำไปส ch7hd news,tero digital,ch7hdnews,terodigital,เงินทองของจริง,moneycoach,money coach,โคชหนุ่ม จักรพงษ์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โค้ชหนุ่ม,กาย สวิตต์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน

4,129 ครั้ง
|
27 มิ.ย. 2567
การจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต หลายคนอาจมองว่าเป็นทางออกที่ง่ายดายเมื่อไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน แต่แท้จริงแล้ว มันคือ "ภัยร้าย" ที่นำไปสู่ปัญหาหนี้สินได้อย่างร้ายแรง อยากให้โค้ชอธิบายเพิ่มเติม ว่าทำไมการจ่ายขั้นต่ำถึงอันตราย ?
 
- ดอกเบี้ยทบต้น : เมื่อเราจ่ายขั้นต่ำ ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือ ซึ่งรวมทั้งยอดใช้จ่ายและดอกเบี้ยที่ยังไม่ชำระจากเดือนก่อน
- หนี้ทวีคูณ : ดอกเบี้ยที่ทบต้นจะทำให้ยอดหนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนก้อนหิมะที่กลิ้งลงจากภูเขา
- ใช้เวลานานกว่าจะปลดหนี้ : การจ่ายขั้นต่ำ ใช้เวลานานกว่าการจ่ายเต็มจำนวนมาก even 7-10 years
 
สัญญาณอันตรายที่กำลังเตือนว่า “เรากำลังมีหนี้สินท่วมหัวจากบัตรเครดิตหรือไม่”
 
1.ผ่อนชำระตามจำนวนยอดหนี้ขั้นต่ำของบัตรเครดิต
 
เมื่อไหร่ก็ตามที่เริ่มจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ แสดงว่ากำลังขาดความสามารถในการชำระหนี้ได้เต็มจำนวนและเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหว ซึ่งรู้หรือไม่ว่าการจ่ายขั้นต่ำ แปลว่า ต้องจ่ายดอกเบี้ยโดยไม่จำเป็น และกว่าจะจ่ายหนี้หมดต้องใช้เวลานานขึ้น
 
2. มีค่าใช้จ่ายจากบัตรเครดิตเกินกว่า 40% ของรายได้แต่ละเดือน
 
โดยปกติแล้วควรมีหนี้บัตรเครดิตไม่เกิน 10 - 20% ของเงินเดือน และควรเป็นการใช้จ่ายเพื่อความจำเป็น เช่น อาหาร สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก เป็นต้น แต่หากจ่ายหนี้บัตรเครดิตสูงทะลุ 40% ต่อเดือน แสดงว่ากำลังขาดสภาพคล่องอย่างหนักและอาจไม่มีเงินเหลือพอไปจ่ายหนี้ที่จำเป็นในชีวิตในเรื่องอื่น เช่น กู้ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ หรือเพื่อการศึกษาบุตร เป็นต้น
 
3. มีบัตรเครดิตหลายใบและวงเงินเต็มเกือบทุกใบ
 
หลายคนมีบัตรเครดิตมากกว่า 2 ใบ และยิ่งมีการใช้จ่ายจนเต็มวงเงินแทบทุกใบ แสดงว่ากำลังก่อหนี้สูงกว่ารายได้ที่หาได้ เพราะบัตรแต่ละใบมักจะให้วงเงินสูงกว่า 1.5 - 5 เท่าของเงินเดือน ยิ่งบัตรกดเงินสดมักจูงใจด้วยการให้วงเงินจำนวนสูงๆ ดังนั้น ยิ่งใช้เงินผ่านการรูดบัตรจนเต็มวงเงิน ถือเป็นสัญญาณอันตรายต่อการเป็นหนี้ท่วมหัว
 
4. ไม่รู้ยอดค่าใช้จ่ายที่แน่นอนในแต่ละเดือน
 
ในยุคที่แผนการตลาดและโปรโมชั่นออกมาเพื่อดึงดูดลูกค้า ทำให้หลายคนขาดความระมัดระวังในการใช้จ่าย โดยเฉพาะซื้อผ่านบัตรเครดิตเพราะคิดแค่ว่า “รูดไปก่อน ค่อยจ่ายทีหลัง” หรือ “สิ้นเดือนค่อยว่ากัน” หมายความว่ากำลังไม่รู้ภาระหนี้สินที่แน่นอนของตัวเองในแต่ละเดือน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการวางแผนในการใช้เงินในอนาคต ยิ่งมีรายได้มาจากแหล่งเดียวแต่มีพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างเมามัน ย่อมนำไปสู่การเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว
 
5. เงินไม่เหลือเก็บเพราะจ่ายหนี้บัตรเครดิตหมด
 
หากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดคิด เช่น เกิดอุบัติเหตุต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วนหรือเกิดเจ็บป่วยต้องไปโรงพยาบาล แต่มีเงินเหลือติดบัญชีไม่กี่ร้อยบาท เพราะแต่ละเดือนนำเงินไปจ่ายหนี้บัตรเครดิตจนหมด ทางออกคงต้องไปกู้ยืมเงินจากช่องทางอื่น หรือกดเงินสดจากบัตรเครดิตหรือบัตรเงินสด แย่ไปกว่านั้น คือการกู้หนี้นอกระบบ ผลที่ตามมาหนีไม่พ้นการเป็นหนี้ไม่มีที่สิ้นสุด
 
6. กดเงินสดจากบัตรเครดิตหรือบัตรเงินสดใบใหม่ เพื่อนำไปจ่ายหนี้บัตรใบเดิม
 
หากเริ่มมีปัญหาเรื่องการจ่ายหนี้บัตรเครดิต หลายคนมักแก้ปัญหาด้วยการสมัครบัตรใบใหม่เพื่อจะได้วงเงินก้อนใหม่ จากนั้นก็กดเงินสดเพื่อนำไปจ่ายหนี้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดใบเดิม อาการแบบนี้แสดงว่ากำลังเข้าข่ายการมีภาระเป็นหนี้สะสม และมีภาระดอกเบี้ยมหาศาลที่คิดคำนวณเป็นรายวัน และเกิดหนี้สินเพิ่มพูนจากดอกเบี้ยมหาโหดนี้
 
หลายคนที่เริ่มรู้ตัวแล้วว่ากำลังเป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่ จะมีวิธีการแก้หนี้อย่างไร ?
 
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดให้มีช่องทางร้องเรียน ปรึกษาปัญหาหนี้ และช่วยหาทางเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ได้แก้ไขและพร้อมเริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน
ทั้ง 3 ช่องทางที่ ธปท. จัดไว้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ในสถานการณ์ที่ต่างกัน ทั้งคลินิกแก้หนี้ ทางด่วนแก้หนี้ และหมอหนี้เพื่อประชาชนนั้น เหมาะกับประชาชนและธุรกิจที่มีความต้องการแตกต่างกันอย่างไร
 
คลินิกแก้หนี้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 เพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในการช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากปัญหาหนี้ ภายใต้ความร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต ชมรมสินเชื่อส่วนบุคคล และผู้ให้บริการ 33 แห่ง (ธนาคารพาณิชย์ 12 แห่ง non-bank 20 แห่ง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 1 แห่ง) โดยมีบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท หรือ SAM เป็นหน่วยงานกลางในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้ที่ร่วมโครงการและลูกหนี้แบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว
 
เงื่อนไขสำคัญของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ผ่านช่องทางคลินิกแก้หนี้ คือ ผ่อนเฉพาะเงินต้น โดยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3–5% ต่อปี (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาผ่อน) กำหนดระยะเวลาผ่อนสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ที่สำคัญจะยกดอกเบี้ยค้างเดิมก่อนเข้าโครงการให้ หากลูกหนี้ปฏิบัติได้ตามสัญญา
 
ลูกหนี้ที่มีหนี้เสียค้างชำระมากกว่า 120 วัน ยอดหนี้คงค้างรวมไม่เกิน 2 ล้านบาท สามารถสมัครเข้าคลินิกแก้หนี้ทางออนไลน์ได้ที่ www.debtclinicbysam.com
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง