การกู้เงินในยุคปัจจุบันทำได้ง่ายและรวดเร็วมากเลยแค่เรากู้ผ่านมือถือของเรา แล้วทีนี่จะมีวิธีกู้เงินและวิธีแยกแยะแหล่งเงินกู้ออนไลน์ยังไงไมให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ
การกู้เงินในยุคปัจจุบันทำได้ง่ายและรวดเร็วผ่านมือถือโดยไม่ต้องออกจากบ้านให้ยุ่งยาก แต่สิ่งที่ยากสำหรับผู้กู้คือ จะรู้ได้อย่างไรว่าใครคือผู้ให้กู้ หรือมิจฉาชีพที่จะมาหลอก เอาเงินเราไป ยิ่งหากได้รับ "SMS" หรือมีคน "โทรศัพท์" หรือ "แอดไลน์" (add Line) มาแล้วอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร, หน่วยงานภาครัฐ, บริษัทที่จะให้เงินกู้ หรือให้เงินช่วยเหลือ อย่ารีบกดลิงก์หรือกรอกข้อมูล ควรเช็กให้ชัวร์ก่อน
การกู้เงินในยุคปัจจุบันทำได้ง่ายและรวดเร็วผ่านมือถือโดยไม่ต้องออกจากบ้านให้ยุ่งยาก แต่สิ่งที่ยากสำหรับผู้กู้คือ จะรู้ได้อย่างไรว่าใครคือผู้ให้กู้ หรือมิจฉาชีพที่จะมาหลอก เอาเงินเราไป ยิ่งหากได้รับ "SMS" หรือมีคน "โทรศัพท์" หรือ "แอดไลน์" (add Line) มาแล้วอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร, หน่วยงานภาครัฐ, บริษัทที่จะให้เงินกู้ หรือให้เงินช่วยเหลือ อย่ารีบกดลิงก์หรือกรอกข้อมูล ควรเช็กให้ชัวร์ก่อน
1. แยกแยะผู้ให้เงินกู้
แอปฯ กู้เงินออนไลน์ถูกฎหมาย แหล่งเงินกู้ในระบบ จะให้เงินกู้เต็มจำนวน คิดดอกเบี้ยไม่เกินที่ทางการกำหนด มีเงื่อนไขเงินกู้ เช่น อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อนชำระ วิธีการคืนเงินกู้ และจำนวนเงินที่ต้องจ่ายคืน
แอปฯ กู้เงินออนไลน์ นอกระบบ
ได้เงินจริง แต่จะถูกหักค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ยไปก่อน ได้เงินไม่เต็มจำนวนที่กู้ และคิดดอกเบี้ยสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด ระยะเวลาชำระคืนสั้น มีการโทรข่มขู่ คุกคาม หากจ่ายช้า ไม่ตรงกำหนด
แอปฯ กู้เงินออนไลน์ปลอม แอปฯ มิจฉาชีพ
แอปฯ นี้ มิจฉาชีพ มักจะส่ง SMS มาให้กดลิงก์เพื่อดาวน์โหลดแอปฯ หรือให้แอดไลน์ แล้วให้ทำสัญญาเงินกู้ ขอหลักฐานส่วนตัว พร้อมโน้มน้าวให้โอนเงินก่อน อ้างว่าเป็นค่าค้ำประกัน ค่าทำสัญญา ถึงจะได้รับการอนุมัติเงินกู้ แต่สุดท้ายไม่ได้เงินจริง
2. ไม่แน่ใจ อย่าเพิ่งคลิก
หากลองแยกแยะแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าจะใช่ผู้ให้กู้ในระบบหรือเปล่า ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนใช้บริการ ดังนี้
2.1 ตรวจสอบรายชื่อแอปและชื่อผู้ให้บริการ นำข้อมูลชื่อแอปและชื่อผู้ให้บริการไปเทียบกับรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาต โดยสามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ "เช็กแอปเงินกู้" ที่รวบรวมรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตในส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับดูแล และยังมีลิงก์ไปยังเว็บไซต์กระทรวงการคลัง ซึ่งรวบรวมรายชื่อผู้ให้บริการสินเชื่อ พิโกไฟแนนซ์ไว้ในที่เดียว
2.2 ติดต่อสอบถามตามที่อยู่ / เบอร์โทรศัพท์ที่ได้จากข้อ
- เพราะบางครั้งมิจฉาชีพหรือแอปเงินกู้นอกระบบจะตั้งชื่อแอปคล้ายคลึงกับผู้ให้บริการ ที่ได้รับอนุญาต หรือสวมรอยเป็นผู้ได้รับอนุญาต เราจึงควรสอบถามหรือหาข้อมูล ด้วยตัวเองจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ว่าเป็นแอปของผู้ให้บริการจริงหรือไม่
3. เลือกแหล่งดาวน์โหลดแอปที่ปลอดภัย เชื่อถือได้
ซึ่งต้องมาจาก App Store และ Play Store เท่านั้น และไม่ใช้โทรศัพท์มือถือที่ถูก jail break ในการทำธุรกรรมทางการเงิน เพื่อป้องกันภัยจากมัลแวร์
4. อย่าลืมอ่านเงื่อนไขก่อนกู้
ไม่รีบกู้จนลืมดูรายละเอียดที่จำเป็น เช่น อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลา และจำนวนเงิน ที่ต้องจ่ายคืน ที่สำคัญ ต้องคำนึงถึงความสามารถในการผ่อนชำระของเรา โดยควรกู้เท่าที่จำเป็น และรวมภาระผ่อนชำระหนี้ทุกก้อนของเราต่อเดือนไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน เพื่อไม่เกินกว่าที่เราจ่ายคืนได้
วิธีรับมือหากตกเป็นเหยื่อแอปกู้เงินออนไลน์เถื่อน
กรณีที่ตกเป็นเหยื่อแอปกู้เงินออนไลน์เถื่อน ขอให้ตั้งสติก่อนเป็นอันดับแรก และทำตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้
- มีสติตอนถูกทวงเงิน ซึ่งเจ้าหนี้ก็ต้องทำตามกฎหมายหากต้องการทวงเงินด้วย คือ เจ้าหนี้ติดต่อทวงถามหนี้ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 20.00 น. ส่วนวันเสาร์และวันอาทิตย์และวันหยุดราชการจะทวงหนี้ได้ในเวลา 08.00 - 18.00 น. นอกจากนี้ เจ้าหนี้ห้ามพูดจาดูหมิ่นลูกหนี้ ห้ามข่มขู่ใช้ความรุนแรง หรือห้ามประจานลูกหนี้
- หลีกเลี่ยงการเปิดอ่านข้อความหรือรับโทรศัพท์จากแอปฯ กู้เงินเถื่อนที่มาทวงหนี้
- หยุดก่อหนี้เพิ่ม และติดต่อสายด่วนแก้หนี้ 1213 หรือ สายด่วนชนะหนี้ 1443
- เตือนภัยให้กับคนรู้จัก เล่าข้อเท็จจริงและรูปแบบการกระทำของมิจฉาชีพ หรือลงบนโซเชียลมีเดีย
- แจ้งสายด่วน 1559 หรือสายด่วนของศูนย์ปราบปรามอาชญากรรม ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) หากถูกปลอมแปลงหรือขโมยข้อมูลออนไลน์ เพื่อกู้คืนหรือแก้ไขบัญชีให้ถูกต้อง
- ติดตามข่าวสารและเข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยหนี้ที่ภาครัฐจัดขึ้น
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่