“แสงเหนือ-แสงใต้” ผลของพายุสุริยะ แค่สวยงามหรือแฝงความอันตราย ?
logo ข่าวอัพเดท

“แสงเหนือ-แสงใต้” ผลของพายุสุริยะ แค่สวยงามหรือแฝงความอันตราย ?

ข่าวอัพเดท : แสงเหนือ-แสงใต้ เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีความสวยงามและเป็นที่สนใจของมนุษย์ แต่บางทีการจะได้เห็นแสงเหนือ-แสงใต้เป็นไปได้ แสงเหนือ,แสงใต้,แสงเหนือคือ,พายุสุริยะ,ลมสุริยะ,แสงเหนืออันตรายหรือไม่

2,579 ครั้ง
|
16 พ.ค. 2567

แสงเหนือ-แสงใต้ เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีความสวยงามและเป็นที่สนใจของมนุษย์ แต่บางทีการจะได้เห็นแสงเหนือ-แสงใต้เป็นไปได้ค่อนข้างยาก บางครั้งถึงกับต้องใช้ดวงกันเลยทีเดียว เพราะแสงเหนือจะปรากฏแค่บางสถานที่ของโลกเท่านั้น คือ แถบประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตละติจูดสูง

แต่ช่วงนี้ทำไมคนถึงเจอแสงเหนือกันง่าย ๆ เกิดอะไรขึ้นกับโลกของเราตอนนี้กันนะ ก่อนจะรู้จักกับแสงเหนือ-แสงใต้ เรามาทำความเข้าใจกับต้นกำเนิดของปรากฏที่สวยงามเหล่านี้กันก่อนดีกว่า นั่นคือ พายุสุริยะ นั่นเอง

พายุสุริยะ เกิดจากการแผ่รังสีต่าง ๆ จากดวงอาทิตย์โดยหนึ่งในนั่นคือรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ประกอบด้วย ความร้อน แสงสว่าง รังสีเอ็กซ์ และอื่น ๆ โดยรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าจะมีอนุภาคพลังงานสูงพัดออกมา เราเรียกว่า “ลมสุริยะ” หากลมสุริยะมีปริมาณที่มากและรุนแรงกว่าปกติเราก็จะเรียกสิ่งนี้ว่า “พายุสุริยะ”

“แสงเหนือ-แสงใต้” เกิดจากการที่ลมสุริยะเคลื่อนตัวเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ชนกับโมเลกุลของก๊าซที่ชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดเป็นแสงสีต่าง ๆ ที่เราได้เห็นกันบนท้องฟ้า ถ้าชนกับออกซิเจนจะมีสีเขียวหรือแดง ไนโตรเจนจะมีสีน้ำเงินหรือสีม่วง และฮีเลียมจะมีสีฟ้าหรือชมพู

เรามักจะพบแสงเหนือ-แสงใต้ในน่านฟ้าของประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตละติจูดสูง บริเวณเหล่านี้จะมีอุณหภูมิต่ำ อากาศหนาวเย็น เช่น สวีเดน รัสเซีย ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ แคนาดา นอร์เวย์ กรีนแลนด์ และรัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา

แต่ในช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567 นี้มีแสงเหนือปรากฏชัดเจนในหลายประเทศ เหตุจากพายุสุริยะที่รุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปีที่มีความรุนแรงสูงถึงระดับ G5 ทำให้อนุภาคต่าง ๆ จากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าพุ่งกระจายออกมาจำนวนมหาศาล

หากถามว่าแสงเหนือ-แสงใต้อันตรายต่อมนุษย์หรือไม่ คำตอบคือไม่ เพราะแสงที่สวยงามเหล่านี้เป็นการแสดงผลด้านดีของพายุสุริยะเท่านั้น แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามว่า พายุสุริยะอันตรายต่อมนุษย์หรือไม่ ลองมาอ่านคำอธิบายกันต่อ

ต้องบอกว่าเราโชคดีที่อยู่บนดาวโลก เพราะเรามีชั้นบรรยากาศที่สกัดอนุภาคพลังงานเหล่านี้ได้ แต่สิ่งที่อยู่นอกชั้นบรรยากาศต่างหากที่จะได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่า เช่นดาวเทียมหรือยานอวกาศ รังสีเอ็กซ์ที่รุนแรงอาจรบกวนคลื่นวิทยุทำให้เกิดการเบี่ยงเบนทิศ ระยะการสื่อสารลดลง และปัญหาทางโครงสร้างอื่น ๆ

สรุปง่าย ๆ ก็คือ พายุสุริยะไม่ได้ทำอันตรายกับมนุษย์โดยตรง แต่ส่งผลทางอ้อมจากการถูกคลื่นรบกวน เพราะในปัจจุบันเราใช้ประโยชน์กับเทคโนโลยีอวกาศ ถ้าโครงสร้างมีปัญหาก็จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้นั่นเอง

ที่มา : สมาคมดาราศาสตร์ไทย, ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง