logo เงินทองของจริง

ทางรอดใหม่ของอุตสาหกรรมยางไทย คาร์บอนเครดิต | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางพารารายใหญ่อันดับ 1 ของโลก แต่ที่ผ่านมาต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านปริมาณการส่งออกที่มีแนวโน้มลดลง จากเศ ch7hd news,tero digital,ch7hdnews,terodigital,เงินทองของจริง,moneycoach,money coach,โคชหนุ่ม จักรพงษ์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โค้ชหนุ่ม,กาย สวิตต์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน

14,357 ครั้ง
|
15 พ.ค. 2567
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางพารารายใหญ่อันดับ 1 ของโลก แต่ที่ผ่านมาต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านปริมาณการส่งออกที่มีแนวโน้มลดลง จากเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจจีน รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงโอกาส จึงได้มีนโยบายส่งเสริมการขายคาร์บอนเครดิตในสวนยางพารา วันนี้มาไขข้อสงสัยว่าทำไมคาร์บอนเครดิตจึงเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมยางพาราไทย หากผู้ประกอบการยางพาราขายคาร์บอนเครดิตจะส่ง ผลดีต่อผลประกอบการอย่างไร ?
 
คาร์บอนเครดิตคืออะไร ?
 
คาร์บอนเครดิต คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด/กักเก็บได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสามารถนำไปแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขายผ่านตลาดคาร์บอนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร บุคคล งานบริการ หรือจากการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ หน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ ได้แก่ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.
 
การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย 
 
ตลาดการซื้อขายคาร์บอน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
 
1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับที่ประกาศเป็นกฎหมาย และมีบทลงโทษเมื่อมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินเกณฑ์ที่กำหนด เช่น มาตรการ EU ETS ในสหภาพยุโรป
2. ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจที่เกิดจากความร่วมมือกันของผู้ประกอบการหรือองค์กร เพื่อเข้าร่วมซื้อขายคาร์บอนเครดิตด้วยความสมัครใจ
 
คาร์บอนเครดิตที่จะสามารถซื้อขายได้ในไทยนั้น จะต้องผ่านกระบวนการอะไร
1. การขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER
2. การรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงหรือกักเก็บได้จากโครงการฯ โดย อบก. ซึ่งสำหรับโครงการ T-VER ในพื้นที่สวนยางพารา จะมีเงื่อนไขเป็นไปตามโครงการ T-VER ภาคเกษตร มาตรฐานไม้ผลไม้ยืนต้น
 
โดยคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรอง สามารถซื้อขายได้ผ่านการเจรจาต่อรองระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขายโดยตรงหรือผ่านแพลตฟอร์มหรือศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต (FTIX)
 
มองว่าหากผู้ประกอบการได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิตในสวนยางพาราจะสร้างโอกาสได้หลายอย่าง โดยผู้ประกอบการยางพาราที่เข้าร่วมโครงการ T-VER และขายคาร์บอนเครดิตจะสามารถเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นได้ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากปริมาณการส่งออกยางพาราที่มีแนวโน้มลดลง
- เพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นให้กับผู้ประกอบการ
การขายคาร์บอนเครดิตในสวนยางพาราจะสามารถเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นได้ โดยผู้ประกอบการที่มีพื้นที่สวนยางพารา และต้องการขายคาร์บอนเครดิต จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน และเงื่อนไขที่ อบก. กำหนด 
- ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
หากได้รับการรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตในพื้นที่สวนยางพาราแล้ว ผู้ประกอบการสามารถนำมาชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรมการผลิตของตนเองได้ เพื่อเป็นการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ก่อนที่จะนำคาร์บอนเครดิตส่วนที่เหลือไปเหลือไปขายให้กับองค์กรอื่นที่ต้องการ
 
นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการยางพาราที่เป็นผู้พัฒนาโครงการและผู้ประกอบการอื่นๆ ที่ต้องการใช้คาร์บอนเครดิตจากโครงการในพื้นที่สวนยางพารา เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
 
สถานการณ์คาร์บอนเครดิตของไทยและต่างประเทศ
- ประเทศที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก
ประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมากที่สุดในโลก 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย รัสเซีย และญี่ปุ่น ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 21 ของโลก มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 277.1 ล้านตันต่อปีซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.87 ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของทั้งโลกที่ถูกปล่อยออกมา
- เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศ
จากการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีเป้าหมายสูงสุด คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปีพ.ศ. 2573 และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ทั่วโลกภายในปีพ.ศ. 2593 โดยแต่ละประเทศมีระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์แตกต่างกันไปตามความพร้อมของแต่ละประเทศ
 
ทำไมคาร์บอนเครดิตถึงน่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรมยางพารา ?
 
1. ยางพาราเป็นพืชยืนต้นที่สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีกว่าพืชยืนต้นประเภทอื่น ดังจะเห็นได้จากการศึกษาของ อบก. ยางพารา 1 ต้น สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 47.4 KgCO2eq/ปี มากกว่าไม้ยืนต้นประเภทอื่นๆ โดยเฉลี่ยแล้วพื้นที่ยางพารา 1 ไร่สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอน-ไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 4.2 tCO2eq/ปี
2. โอกาสในการขยายพื้นที่สวนยางพารา เพื่อขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER และขอรับรองคาร์บอน-เครดิตยังมีอยู่อีกมาก โดยในปี 2566 ไทยมีพื้นที่ในการเพาะปลูกยางพาราราว 24.9 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม พื้นที่สวนยางพาราที่ขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER ยังมีจำนวนไม่มาก ปัจจุบันมีอยู่เพียง 3.7 หมื่นไร่ คิดเป็นเพียง 0.1% ของพื้นที่สวนยางพาราทั่วประเทศ และมีจำนวน 4 โครงการ จากทั้งหมด 375 โครงการ T-VER ที่มีการขึ้นทะเบียนกับ อบก.
3. ภาครัฐให้การสนับสนุน โดยเป็นโครงการที่ กยท. ดำเนินการเพื่อที่จะยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการยางพารา อีกทั้งยังสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่จะให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย carbon neutral ในปี 2593 และ net zero emissions ในปี 2608 โดยทาง กยท. จะเป็นตัวกลางในการดำเนินการและร่วมมือกับหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานของราชการและภาคเอกชน
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/CN-arqVYb-E?feature=shared