logo เงินทองของจริง

รู้ไว้ก่อนทำสัญญา ขายฝาก vs จำนอง ต่างกันอย่างไร ? | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : คนจำนวนไม่น้อยสับสนระหว่างคำว่า “ขายฝาก” กับ “จำนอง” ด้วยลักษณะธุรกรรมที่มีความคล้ายคลึงกัน วันนี้เราจะมาอธิบายถึงความแตกต่าง ถึ ch7hd news,tero digital,ch7hdnews,terodigital,เงินทองของจริง,moneycoach,money coach,โคชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โคชหนุ่ม จักรพงษ์,โคชหนุ่ม,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์,โค้ชหนุ่ม,โคชหนุ่มจักรพงษ์,โค้ชหนุ่มจักรพงษ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,กาย สวิตต์,กายสวิตต์,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,แพรว ภัทรนันท์,แพรวภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน

14,745 ครั้ง
|
14 พ.ค. 2567
คนจำนวนไม่น้อยสับสนระหว่างคำว่า “ขายฝาก” กับ “จำนอง” ด้วยลักษณะธุรกรรมที่มีความคล้ายคลึงกัน วันนี้เราจะมาอธิบายถึงความแตกต่าง ถึงจุดเด่น จุดด้อย ของนิติกรรมแต่ละรูปแบบทั้งการขายฝากและการจำนอง
 
เข้าใจรูปแบบของการขายฝากและการจำนอง
ขายฝาก คือ การที่เราเอาทรัพย์สินของเราไปวางเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินโดยใช้ทรัพย์สินนี้เป็นหลักประกันการชำระหนี้และดอกเบี้ยภายในกำหนดระยะเวลา โดยการขายฝาก นั้นคล้ายกับการซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ จะตกไปเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีตั้งแต่วันที่ทำสัญญา ถ้าหากเราไม่สามารถไถ่ถอนใช้หนี้ได้ในระยะเวลาที่ทำการตกลงกัน ทรัพย์สินที่เราทำการขายฝากนั้นจะตกไปเป็นของผู้ซื้อฝากโดยทันทีคือยึดทรัพย์นั้นได้เลยไม่ต้องฟ้องศาล
 
จำนอง คือ การที่เราเอาทรัพย์สินของเราไปวางเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินโดยใช้ทรัพย์สินนี้เป็นหลักประกันการชำระหนี้และดอกเบี้ยให้กับผู้รับจำนองภายในกำหนดระยะเวลาตามสัญญา แต่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นยังเป็นของเราอยู่ ถ้าหากเราเบี้ยวไม่ชำระหนี้ผู้รับจำนองก็ต้องทำการฟ้องร้องกับศาลเพื่อเรียกค่าเสียหาย จะยึดทรัพย์สิน หรือที่ดินของเราไปเลยทันทีไม่ได้
 
ขั้นตอนการขายฝากและเงื่อนไขต่าง ๆ
1. ผู้รับซื้อฝาก (นายหน้า, นักลงทุน, บุคคลทั่วไป, องค์กรอื่นๆที่ไม่ใช่ธนาคาร) ประเมินราคาพร้อมตีราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการขายฝาก โดยเฉลี่ยราคาจะประมาณ 40 – 70% ของราคาประเมิน
2. ผู้รับซื้อจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะต้องไม่เกิน 15% ต่อปี ตามกฎหมาย
3. เมื่อเจรจาตกลงราคาเป็นที่เรียบร้อย นัดวันทำนิติกรรมสัญญาขายฝาก ณ กรมที่ดิน
4. ณ กรมที่ดิน เมื่อทำสัญญาขายฝาก จดทะเบียนขายฝากและชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายฝากได้รับเงินตามที่ตกลง ในส่วนของผู้รับซื้อฝากจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินทันที
5. เงื่อนไขกำหนดเวลาการไถ่ถอน ไม่ต่ำกว่า 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี
 
ขั้นตอนการจำนองและเงื่อนไขต่าง ๆ
1. เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคาร
2.เตรียมเอกสารยื่นขอสินเชื่อ
3. ธนาคารประเมินราคาหลักประกัน
4. ธนาคารแจ้งผลอนุมัติวงเงิน และอัตราดอกเบี้ย
5. ทำเอกสารกู้เงินและสัญญาจดจำนอง ณ กรมที่ดิน
 
ข้อแตกต่างระหว่างขายฝาก VS จำนอง
 
1. ลักษณะสัญญา
ขายฝาก : ลูกหนี้ต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือเจ้าหนี้
จำนอง : ลูกหนี้ไม่ต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือเจ้าหนี้
 
2. ระยะเวลาของสัญญา และการบังคับคดี
ขายฝาก :กำหนดระยะเวลาการไถ่ถอนขั้นต่ำ 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี หากครบกำหนดระยะ เวลาในการคืนหนี้แล้วผู้จำนองสามารถขอขยายเวลาขายฝากกี่ครั้งก็ได้ แต่ละครั้งจะนาน เท่าไหร่ก็ได้แต่รวมแล้วจะต้องไม่เกิน 10 ปีสำหรับอสังหาริมทรัพย์ แต่ถ้าหากไม่มีการต่อสัญญา สินทรัพย์นั้นจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีโดยไม่ต้องฟ้องร้องศาล
จำนอง : ปกติแล้วระยะเวลาในการจำนองจะตามที่สัญญากำหนด เมื่อครบกำหนดสัญญา แล้วสามารถจ่ายดอกเบี้ยเพื่อขอต่อเวลาใช้หนี้ได้ไม่เกิน 5 ปี แต่ผู้รับจำนองก็สามารถฟ้องศาลนำสินทรัพย์นั้นขายทอดตลาดเพื่อนำมาชำระหนี้ได้โดยที่ระหว่างโดนฟ้องผู้จำนอง และผู้รับจำนองจะไม่สามารถนำสินทรัพย์นั้นไปขายได้
 
3. เจ้าของทรัพย์กับตัวลูกหนี้
จำนอง: เจ้าของทรัพย์ที่นำมาจำนองอาจเป็นคนละคนกับตัวลูกหนี้ได้ โดยเราสามารถนำอสังหาริมทรัพย์ของตัวเองไปจำนองเพื่อประกันหนี้ให้บุคคลอื่นได้
ขายฝาก: ในการขายฝาก ผู้ขายฝากซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้มีสิทธิ์ไถ่ทรัพย์คืนซึ่งเท่ากับว่ามีอีกฐานะหนึ่งเป็นตัวลูกหนี้นั่นเอง เจ้าของทรัพย์กับตัวลูกหนี้ในการขายฝากจึงเป็นบุคคลเดียวกันเสมอต่างจากการจำนองที่อาจเป็นคนละคนกันก็ได้
 
4. กรรมสิทธิ์
ขายฝาก: กรรมสิทธิ์นั้นจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีตั้งแต่วินาทีแรกที่ทำสัญญา แต่เรายังสามารถอยู่อาศัยได้
จำนอง: กรรมสิทธิ์จะยังเป็นของเจ้าของสินทรัพย์หรือที่ดินนั้น ๆ อยู่
 
5. ดอกเบี้ย
ขายฝาก: สัญญาขายฝากไม่มีดอกเบี้ยเนื่องจากไม่ใช่การกู้ยืม แต่มีสิ่งที่กฎหมายเรียกว่า สินไถ่ ก็คือจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพื่อไถ่ทรัพย์สินคืน ซึ่งกฎหมายกำหนดว่าสินไถ่ต้องสูงกว่า ราคาขายฝากไม่เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่กฎหมายกำหนดนั่นเอง
จำนอง: การจำนองไม่ได้มีดอกเบี้ยด้วยตนเอง สัญญามีกฎหมายกำหนดดอกเบี้ยไว้เท่าไหร่ ก็เป็นไปตามนั้น เช่น การกู้ยืมปกติ ดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี แต่ถ้าเป็นสถาบันการเงินก็เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น
 
6. การไถ่ถอน หรือชำระเงินคืน
ขายฝาก: ไม่มีการผ่อนชำระคืนเงินเป็นงวด ๆ แบบเงินกู้ แต่กำหนดชำระคืนงวดเดียวเมื่อครบกำหนดเวลาไถ่ แต่หากเป็นกรณีเงินกู้นอกระบบเราก็มักจะเห็นกันอยู่ประจำว่าเจ้าหนี้มักจะให้ลูกหนี้ชำระหนี้คืนเป็นงวด ๆ ไม่ต่างจากการกู้โดยจำนองทรัพย์สินเป็นประกัน ซึ่งไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และอาจถูกศาลพิพากษาเพิกถอนการขายฝากนั้น ๆ ได้
จำนอง: เป็นไปตามสัญญา ถ้าเป็นกรณีกู้โดยส่วนมากก็เป็นการผ่อนชำระเป็น
งวด ๆ ตามที่สัญญากำหนดไว้
 
7. ค่าจดทะเบียนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ขายฝาก : เสียค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมิน และต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนด
จำนอง : เสียค่าธรรมเนียมอัตรา 1% จากวงเงินที่นำมาจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
 
8. วงเงินในการอนุมัติ
ขายฝาก : ได้วงเงินประมาณ 40-70% ของราคาประเมิน
จำนอง : ส่วนใหญ่จะได้วงเงินน้อยกว่า 30% ของราคาประเมิน
 
ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการขายฝาก และจำนอง
1. การจำนอง และ การขายฝาก ต้องทำสัญญาต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินที่กรมที่ดินเท่านั้น
2. ดอกเบี้ยของการจำนอง และ ขายฝาก ตามกฎหมายคือไม่เกิน 15 % ต่อปี
3. ตามปกติการขายฝากจะได้เงินที่กู้มากกว่าการจำนอง
4. กรณีขายฝาก จะเสียค่าคอมมิชชั่น หรือค่านายหน้า หรือเงินปากถุง 5% ของยอดขายฝาก
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่