logo เงินทองของจริง

4 เรื่องเงินต้องรู้ และวิธีวางแผนการเงินก่อนคิดย้ายงาน ฉบับมนุษย์เงินเดือน | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่กำลังมองหาความก้าวหน้าหรือมองความท้าทายใหม่ๆ โดยเงินถือเป็นปัจจัยหลักเลยในการตัดสินใจว่าจะย้ายงานหรือไม่ ch7hd news,tero digital,ch7hdnews,terodigital,เงินทองของจริง,moneycoach,money coach,โคชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โคชหนุ่ม จักรพงษ์,โคชหนุ่ม,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์,โค้ชหนุ่ม,โคชหนุ่มจักรพงษ์,โค้ชหนุ่มจักรพงษ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,กาย สวิตต์,กายสวิตต์,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,แพรว ภัทรนันท์,แพรวภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน

9,672 ครั้ง
|
09 พ.ค. 2567
สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่กำลังมองหาความก้าวหน้าหรือมองความท้าทายใหม่ๆ โดยเงินถือเป็นปัจจัยหลักเลยในการตัดสินใจว่าจะย้ายงานหรือไม่ แล้วในเรื่องเงินๆทองๆ ที่เราต้องรู้ก่อนตัดสินใจย้ายงานบ้าง
 
4 เรื่องเงินต้องรู้ ก่อนคิดย้ายงาน
 
1.เงินเดือนขึ้น vs ค่าใช้จ่ายที่เพิ่ม
โดยปกติการย้ายงาน คนส่วนใหญ่มักคาดหวังการขึ้นเงินเดือน เช่น อย่างน้อย 20%-30% เพื่อจะได้มีเงินไว้ใช้จ่ายหรือเหลือเก็บมากขึ้น แต่เมื่อย้ายหรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน ก็อาจมีค่าใช้จ่ายบางอย่างที่เปลี่ยนไปหรือเพิ่มสูงขึ้นได้ เช่น
 
- ค่าเดินทาง: ที่อาจไกลบ้านมากขึ้น หรืออยู่ในตัวเมือง ที่ทำให้ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน ค่าที่จอดรถ ค่าเรียก Taxi/Car หรือค่าตั๋วรถไฟฟ้า ในแต่ละวันสูงขึ้น
- ค่าครองชีพ: สำหรับที่ทำงานในตัวเมือง ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม/กาแฟ ค่าขนมยามบ่าย มักสูงกว่าที่ทำงานนอกเมือง หรือในนิคมอุตสาหกรรม
- ภาษีสังคม: เมื่อต้องสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานใหม่ หรือเมื่อตำแหน่งงานสูงขึ้นก็อาจต้องซื้อของแจกหรือเลี้ยงอาหารน้องในทีมบ้าง รวมถึงเงินใส่ซองงานต่าง ๆ ก็ย่อมสูงขึ้น เป็นเรื่องธรรมดาของโลกการทำงาน
 
2.รายได้เพิ่มเติมของเงินเดือน
ความแน่นอนของรายได้: โดยเงินเดือนถือเป็นส่วนที่ไม่สามารถปรับลดได้ง่าย และเป็นฐานในการคำนวณสวัสดิการและรายได้อื่นๆ เช่น ค่าล่วงเวลา และเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
- เงินโบนัส: เป็นรายได้ที่ผันแปรและไม่แน่นอน ซึ่งขึ้นอยู่กับผลประกอบการ ของบริษัทและประเมินผลงานประจำปี
- เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เป็นรายได้ที่ถูกเก็บไว้ในกองทุน และไม่สามารถถอนเงินออกมาใช้ได้ทันที โดยมักเกิดจากเงินส่วนเพิ่มจาก รายได้อื่น แต่มันถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของรายได้ที่มักไม่เป็นรายได้ที่แน่นอน
- รายได้อื่น ๆ เช่น ค่าน้ำมันเหมาจ่าย ค่าคุณวุฒิ/ใบอนุญาต ฯลฯ มักถูกลดหรือ ตัดออกได้ ตามการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน หรือโครงสร้างที่ทำงาน
 
3.เกณฑ์และสวัสดิการ เมื่อเกษียณอายุ
- เกณฑ์อายุที่เกษียณ: เช็กว่าอยู่ที่อายุเท่าไร หากเกณฑ์เกษียณเร็ว กว่าที่ทำงานเดิม สะท้อนถึงโอกาสการหารายได้ที่สั้นลง รวมถึงระยะเวลาใช้จ่าย และเงินหลังเกษียณที่ต้องเตรียมมากขึ้น
- เงินก้อนที่ได้รับเมื่อเกษียณอายุ: เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่ได้รับ อาจน้อยลงเนื่องจากอายุงานของบริษัทล่าสุดน้อยลงเมื่อเทียบกับการทำงาน ที่บริษัทเดิม จึงควรเช็กกับที่ทำงานใหม่ว่า มีเงินก้อนส่วนอื่นอีกไหม และมีเกณฑ์การได้รับเงินก้อนนั้นอย่างไร
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ:
  • เช็กว่านายจ้างจ่ายเงินสมทบที่อัตราเท่าไร สูงกว่าที่ทำงานเดิมหรือไม่ เพราะเงินสมทบส่วนนี้จะถูกเก็บไว้ในกองทุนฯ เพื่อนำออกมาใช้ เมื่อเราเกษียณอายุหรือออกจากงาน
  • เช็กว่าหากออกจากงานก่อนเกษียณอายุ มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนแค่ไหน ได้รับส่วนของนายจ้างทั้งหมดหรือแค่บางส่วน หากยังไม่ได้ตั้งใจ ทำงานที่ใหม่นี้ไปจนเกษียณอายุ
  • เช็กนโยบายการลงทุนว่า มีนโยบายให้เลือกที่สอดคล้องกับความเสี่ยง ที่ตนเองรับได้หรือช่วงอายุตน เพื่อให้เงินได้งอกเงยอย่างเหมาะสมหรือไม่
 
4.สิ่งที่หายหรือลดไป จากการย้ายงาน
- เงินเดือนที่ขึ้นและเงินโบนัสสิ้นปีนี้: ปีแรกที่ทำงานกับบริษัทแห่งใหม่ หากจำนวนวันในการทำงานต่ำกว่าเกณฑ์ที่ HR กำหนด โดยเฉพาะกรณีช่วง การประเมินผลงานสิ้นปียังไม่พ้นช่วงทดลองงาน อาจส่งผลให้
  • การขึ้นเงินเดือน ไม่ได้รับการพิจารณาหรือได้น้อยกว่าคนอื่นที่มีผลการประเมิน ผลงานที่เท่ากัน
  • เงินโบนัส แม้จะได้รับตามจำนวนเท่าของเงินเดือนเหมือนคนอื่น แต่อาจได้รับ ตามสัดส่วนจำนวนวันทำงาน 
- สวัสดิการช่วงทดลองงาน: เช่น 3-6 เดือนแรกที่เข้างาน อาจยังไม่สามารถ เบิกสวัสดิการใดๆ ได้ ดังนั้นเมื่อเกิดเจ็บป่วยในช่วงเวลาดังกล่าว โดยไม่ใช้สิทธิ ประกันสังคมและไม่เคยซื้อประกันสุขภาพไว้ ก็อาจต้องควักเงินเก็บมาจ่าย เป็นค่ารักษาพยาบาลเอง
- วันลาพักร้อน: ตามกฎหมายแรงงานแล้ว พนักงานต้องได้รับสิทธิลาพักร้อน หลังทำงานครบ 1 ปีเต็ม แต่บางบริษัทก็อาจเริ่มให้สิทธิลาพักร้อนหลังพ้นช่วง ทดลองงาน ดังนั้นในช่วง 1 ปีแรกของการทำงาน อาจต้องปรับลดแผน การท่องเที่ยวประจำปีลง เป็นต้น
 
ถ้าเราจะย้ายงานจริง ๆ จะมีวิธีในการวางแผนการเงินอย่างไร ต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง ก่อนเขียนใบลาออก
 
การลาออกนั้นเป็นเรื่องง่ายที่สุดในชีวิตการทำงาน แต่ผลกระทบที่ตามมาหลังการลาออก ซึ่งก็คือ “ภาระค่าใช้จ่าย” ที่ยังอยู่ กลับไม่ง่ายที่จะรับมือ วันนี้เราก็มีวิธีวางแผนการเงิน ที่มนุษย์เงินเดือนต้องเตรียมให้พร้อม ก่อนเขียนใบลาออก รู้ไว้ไม่เครียดหลังตกงาน
 
1. ปิดหนี้ให้เหลือน้อยที่สุด
ก่อนตัดสินใจลาออก “หนี้” เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรีบจัดการให้เรียบร้อย โดยให้สำรวจตัวเอง ว่ามีหนี้กี่ก้อน แต่ละก้อนมีจำนวนเท่าไร หลังจากนั้นนำมาจัดประเภทและเรียงลำดับหนี้สิน ที่ต้องชำระก่อน-หลัง หากหนี้มีหลายก้อนให้เลือกปิดหนี้ก้อนที่ดอกเบี้ยแพงที่สุดก่อน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายในอนาคต และทำให้เรามีเงินเหลือไปใช้จ่ายอย่างอื่น
 
2. เตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน
แม้บางคนจะได้งานที่ใหม่ก่อนทำเรื่องลาออก แต่ไม่มีอะไรมาการันตีว่าจะได้ทำงาน ไปอีกนานเท่าไร การมีเงินสำรองฉุกเฉินคือฟูกที่มาช่วยรองรับค่าใช้จ่ายแทนเงินเดือน ที่เราเคยได้ โดยมนุษย์เงินเดือนควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน ประมาณ 3-6 เท่า ของค่าใช้จ่าย แต่ละเดือนหรือให้พอใช้ไปอีก 3-6 เดือนเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ลำบากเกินไป ระหว่างหางานใหม่ หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น โดนไล่ออกกลางคัน
 
3. หารายได้เสริม
สำหรับใครที่ยังหางานใหม่ไม่ได้ การหาอาชีพเสริม หรือเปลี่ยนงานอดิเรกเล็กๆ น้อยๆ ให้กลายเป็นรายได้ แม้จะไม่มากเท่างานประจำ แต่ก็ช่วยให้เราใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ มีค่าขนมมาใช้จ่ายเพิ่มเติม แถมยังได้พัฒนาสกิลด้านอื่น ซึ่งอาจกลายเป็นหนึ่ง ในรายได้หลักของเราในอนาคต
 
4. สมัครบัตรเครดิต
บัตรเครดิตไม่ใช่ผู้ร้ายทางการเงินเสมอ หากเราใช้อย่างมีวินัย ก็ถือเป็นตัวช่วยให้เรา มีสภาพคล่องมากขึ้น โดยเฉพาะตอนเกิดเหตุฉุกเฉิน หมุนเงินไม่ทัน อีกทั้งยังมี สิทธิประโยชน์ นำคะแนนไปแลกของหรือส่วนลด ช่วยให้การใช้จ่ายของเราคุ้มค่าขึ้น แต่การจะสมัครบัตรเครดิตได้ ต้องมี statement เงินเดือน ซึ่งหลังเราลาออกจะไม่สามารถ สมัครบัตรเครดิตเพิ่มได้
 
5. ใช้สิทธิประกันสังคม
จ่ายเงินสมทบประกันสังคมไปทุกเดือนแล้ว ถึงเวลาอย่าลืมไปใช้สิทธิ มนุษย์เงินเดือน คนไหนที่ลาออกจากงาน อย่าลืมไปขึ้นทะเบียนว่างงาน เพื่อรับเงินชดเชยตามมาตรา 33 โดยจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน ปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
 
6. จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) เป็นกองทุนที่มนุษย์เงินเดือนสะสมเพื่อใช้ในช่วง เกษียณอายุและไม่ต้องนำมาคิดภาษี แต่หากนำเงินออกมาจากกองทุนตอนอายุยังไม่ถึง 55 ปี เนื่องจากที่ทำงานใหม่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือลาออกไปทำอาชีพอิสระ จะถือว่าผิดเงื่อนไขกองทุน ต้องนำเงินที่ได้มานั้น มายื่นเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งหากไม่อยากเสียภาษี สามารถโอนเงินจากกองทุนไปไว้ใน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แทนได้ โดยจะต้องแจ้งความประสงค์ต่อนายจ้างเมื่อลาออก เพื่อให้บริษัทจัดการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โอนเงินไปยัง RMF ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับ เอกสารการลาออก
 
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtube.com/live/j6cie3omT_E?feature=share