“เรตินอล” คืออะไร ดีจริงหรือแค่การตลาด ?
logo ข่าวอัพเดท

“เรตินอล” คืออะไร ดีจริงหรือแค่การตลาด ?

ข่าวอัพเดท : เรตินอล (Retinol) เป็นส่วนหนึ่งของเรตินอยด์ (Retinoids) สารในกลุ่มเบต้าแคโรทีน เรามักจะรู้จักกันในชื่อ วิตามินเอและอนุพันธ์ุวิตามินเ เรตินอล,Retinol,เรตินอยด์,เรตินเอ

6,662 ครั้ง
|
02 พ.ค. 2567

เรตินอล (Retinol) เป็นส่วนหนึ่งของเรตินอยด์ (Retinoids) สารในกลุ่มเบต้าแคโรทีน เรามักจะรู้จักกันในชื่อ วิตามินเอและอนุพันธ์ุวิตามินเอ กลุ่มเรตินอยด์ยังมีสารย่อยตัวอื่นอีก คือ Retiyl ester, Retinol, Retinaldehyde, Retinoic acid หรือ Tretinoin แต่อย่าเพิ่งคิดว่าบทความนี้จะมาสอนเกี่ยวกับธาตุเคมี เพราะเราจะมาพูดถึง “เรตินอล” (Retinol) ที่มักถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในสกินแคร์โดยดึงเอาคุณสมบัติที่แทบจะครอบจักรวาลของสารตัวนี้กัน

กระบวนการในการทำงานของเรตินอลคือ เรตินอลจะกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังทำให้ผิวหนาขึ้น ริ้วรอยที่มีอยู่ตื้นขึ้น มีการผลัดเซลล์ผิวออกส่งผลให้จุดด่างดำลดลง นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการ ควบคุมการผลิตน้ำมัน ช่วยลดการอุดตัน ลดการอักเสบของผิว ลดการเจริญเติบโตของ P.acne ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดสิว

จากที่อ่านคุณสมบัติที่รักษาแทบจะครอบคลุมทุกปัญหาผิว แต่เรตินอลมีข้อที่ควรระวังในการใช้เนื่องจากเป็นสารที่มีการระคายเคืองสูง ส่งผลกระทบหลายอย่างต่อผิว หากใช้ผิดวิธีหรือขาดความระมัดระวังแทนที่จะได้ผิวหน้าเรียบลื่น ใสเหมือนกระจก อาจกลายเป็นหน้าพังได้เลยทีเดียว

1. สิ่งที่ควรระวังมากที่สุด กลุ่มเรตินอยด์ทุกตัวรวมถึงเรตินอลสามารถทำให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือมีแนวโน้วสูงจะตั้งครรภ์ห้ามใช้สารในกลุ่มนี้เด็ดขาด
2.เรตินอลมีฤทธิ์ในการผลัดเซลล์จึงทำให้ผิวหน้าขณะเริ่มใช้ช่วงแรก แสบ แห้ง แดง ลอก และอาจทำให้เกิดสิว จึงควรใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่เพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิวเพื่อลดการระคายเคืองลง
3.เรตินอลเป็นสารที่ไวต่อแสงอาทิตย์หากถูกแสงอาทิตย์ประสิทธิภาพจะลดลง จึงเหมาะแก่การใช้แค่ในตอนกลางคืนมากกว่า
4.หลังจากใช้เรตินอลผิวจะไวต่อแสงแดดทำให้ผิวคล้ำง่ายขึ้น เพราะฉะนั้นควรทาครีมกันแดดในปริมาณที่ถูกต้องและหมั่นเติมทุก ๆ 2 ชั่วโมงหากเจอกับแดดจัด
5.เนื่องจากเรตินอลเป็นสารที่มีการระคายเคืองสูง ปริมาณที่ใช้จึงควรใช้แค่ขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียวเท่านั้น ช่วงแรกไม่แนะนำให้ใช้ทุกวันควรค่อย ๆ ใช้สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพิ่มความถี่ทีละนิดเพื่อป้องกันผลกระทบจากเรตินอล และไม่ควรใช้เริ่มใช้จากผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นของเรตินอลสูงเกินไป

จะเห็นได้ว่าเรตินอลมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อีกทั้งยังส่งผลอันตรายต่อผู้ใช้ ผู้ที่สนใจเริ่มใช้สารเรตินอลควรศึกษาที่มาต่าง ๆ ของสารตั้งต้น กระบวนการการออกฤทธิ์ และการรับมือกับอาการระคายเคืองที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้เรตินอลสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ที่ผู้ใช้พึงพอใจในอนาคต

 

ที่มา : PHARSKIN, THE STANDARD