logo เงินทองของจริง

ทำความรู้จักอาชีพนายหน้าอสังหาฯ สร้างรายได้ เพิ่มโอกาสให้ใครหลายคน | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : หากพูดถึงการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แน่นอนว่าไม่ได้มีแค่ตัวผู้ซื้อหรือตัวผู้ขายเท่านั้นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ยังมีตัวกลางที่ทำหน ch7hd news,tero digital,ch7hdnews,terodigital,เงินทองของจริง,moneycoach,money coach,โคชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โคชหนุ่ม จักรพงษ์,โคชหนุ่ม,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์,โค้ชหนุ่ม,โคชหนุ่มจักรพงษ์,โค้ชหนุ่มจักรพงษ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,กาย สวิตต์,กายสวิตต์,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,แพรว ภัทรนันท์,แพรวภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน

10,611 ครั้ง
|
23 เม.ย. 2567
หากพูดถึงการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แน่นอนว่าไม่ได้มีแค่ตัวผู้ซื้อหรือตัวผู้ขายเท่านั้นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ยังมีตัวกลางที่ทำหน้าที่เป็นคนคอยเชื่อมโยงความต้องการขาย ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเข้าไว้ด้วยกัน หรือที่รู้จักกันในอาชีพ "นายหน้า" สำหรับใครที่กำลังศึกษาอยากเป็นนายหน้า แต่ยังไม่แน่ใจว่า อาชีพนี้ทำอะไร เริ่มต้นอย่างไร และมีอะไรต้องรู้บ้าง วันนี้มีคำตอบ ?
 
นายหน้าอสังหาฯ หรือที่หลายคนคุ้นหูกับคำว่า เอเจนท์ (Agent) และ โบรกเกอร์  คือ ผู้ทำหน้าที่ในการทำธุรกรรมต่างๆ พร้อมเจรจาต่อรองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ให้ได้ข้อตกลงที่พึงพอใจของทั้งสองฝ่าย โดยหน้าที่หลักของนายหน้าอสังหาฯ ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ในฐานะผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
 
หน้าที่หลักของการเป็นนายหน้าอสังหาฯ (Agent) ในฐานะผู้ขาย
1. ลงประกาศขายอสังหาฯ ตามช่องทางต่างๆ
2. ใส่ข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาฯ ที่ต้องการขายให้ถูกต้อง ครบถ้วน
3. ทำการนัดหมายผู้สนใจซื้อ พร้อมพาชมสถานที่
4. นัดผู้สนใจซื้อ และเจ้าของอสังหาฯ เพื่อทำธุรกรรมขาย
5. ทำธุรกรรมเอกสารการขาย
 
หน้าที่หลักของการเป็นนายหน้าอสังหาฯ (Agent) ในฐานะผู้ซื้อ
1. ค้นหา แนะนำ อสังหาฯ ให้ผู้ที่สนใจเลือกซื้อ
2. ติดต่อเจ้าของอสังหาฯ ที่ต้องการซื้อ
3. สามารถให้ข้อมูล พร้อมคำปรึกษาในการประกอบการตัดสินใจในการซื้อ
4. ทำการนัดหมายเจ้าของอสังหาฯ
5. ดำเนินการทำธุรกรรมการซื้อ
 
นายหน้าอสังหาฯ มีกี่ประเภท
1. นายหน้าโครงการ คือ กลุ่มนายหน้าอสังหาฯ ในรูปแบบบริษัทหรือนิติบุคคล
2. นายหน้าท้องถิ่น คือ กลุ่มนายหน้าอิสระ มักอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
3. นายหน้าโบรกเกอร์ คือ กลุ่มนายหน้าในรูปแบบนิติบุคคล
4. นายหน้าร่วม คือ นายหน้าที่มีการทำงานทั้ง 2 ฝ่าย ผู้ซื้อและผู้ขาย
 
อยากเป็นนายหน้าอสังหาฯ ต้องเตรียมตัวเรียนรู้อะไรบ้าง ?
1. รู้จักตลาดอสังหาฯการทำข้อมูล
ตลาดซื้อ-ขายอสังหาฯ ทั้ง Listing ลงประกาศตามเว็บไซต์ หรือระบบ Offline จากการติดป้ายประกาศต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนายหน้าอสังหาฯ จำเป็นต้องทำความรู้จักกับตลาดนี้ ไปพร้อมกับการทำข้อมูล เพื่อเสนอขายได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
2. เข้าใจเรื่องสัญญาและกฎหมาย
สัญญาจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
- สัญญาแบบเปิด หรือสัญญาที่ให้เจ้าของอสังหาฯ หรือนายหน้าท่านใดก็ได้ขายพร้อมค่าตอบแทนแต่เพียงผู้เดียว โดยสัญญาจะไม่มีการกำหนดระยะเวลาจนกว่าจะปิดการขายสำเร็จ
- สัญญาแบบปิด หรือสัญญาที่มอบหมายให้นิติบุคคลเป็นผู้ดูแลการขายเพียงผู้เดียว โดยตัวสัญญาจะมีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการว่าจ้าง หากขายไม่สำเร็จ เจ้าของอสังหาฯ ถึงจะสามารถจ้างนายหน้าท่านอื่นได้
- กฎหมายที่ควรรู้ เรื่องของกฎหมายที่ต้องศึกษาและเกี่ยวข้องโดยตรงคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ป.พ.พ. บรรพ 3 เอกเทศสัญญาลักษณะ 16 นายหน้า มาตรา 845-849
3. ให้คำปรึกษาเรื่องสินเชื่อ
หากนายหน้ามีความรู้เรื่องสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย ก็จะสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ซื้อ เพื่อเลือกรูปแบบสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ต้องการได้ และเป็นโอกาสที่จะช่วยให้ปิดการขายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
 
นายหน้าอสังหาฯ ถือว่าเป็นอาชีพที่มีค่าตอบแทนสูงหากอยากเริ่มต้นจะต้องทำอย่างไรบ้าง ?
 
1. เข้าร่วมการจัดอบรมหลักสูตรตัวเเทนนายหน้า
ทุกวันนี้จำเป็นที่จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพเพื่อเป็นใบเบิกทางที่จะทำให้นายหน้ามือใหม่ที่ไร้สังกัดหรือนายหน้าอิสระได้รับความน่าเชื่อถือ มีหลักสูตรอบรมการเป็นนายหน้ามากมาย ซึ่งสามารถเข้าร่วมฟังและไปเสวนาได้ เพราะนอกจากจะได้ความรู้แล้ว ยังเป็นอีกวิธีหนึ่งในการหา Connection เพิ่มเติมอีกด้วย
2. ลองฝึกปฎิบัติ
หลังจากอบรมจนเข้าใจขั้นตอนการทำงานแล้ว อาจจะเพิ่มประสบการณ์ด้วยวิธีการฝึกปฏิบัติจริง เช่น ลองติดต่อปรึกษากับบริษัทโบรกเกอร์ หรือหากเคยขายโครงการมาก่อน อาจจะลองทำเเบบอิสระ และใช้ความรู้ที่มีในการสร้างเครือข่ายพาร์ทเนอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและทรัพย์เพิ่มเติมได้เร็วขึ้น
3. สะสมทรัพย์ให้มีในพอร์ต
การจะได้มาซึ่งค่าตอบแทนนั้นหากยิ่งมีทรัพย์มากเท่าไหร่ โอกาสการซื้อขายก็จะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น แต่ต้องเป็นทรัพย์ที่มีคุณภาพในมือ และประเมินมาแล้วว่าขายได้ ขายง่าย 
เพราะอย่าลืมว่าการเป็นนายหน้ามีต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่น้อยเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง การทำการตลาด ค่าที่ปรึกษา ทั้งนี้จะต้องมีการประมาณว่าทรัพย์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากพอที่จะปิดการขายได้
4. เริ่มต้นทำการตลาด
หากอยากได้ลูกค้า แน่นอนว่าการมีช่องทางการขายที่หลากหลาย นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ 
การทำการตลาดทั้งรูปแบบของ Offline อย่างการลงพื้นที่หาทรัพย์เอง และ Online ที่ใช้ทั้งหาทรัพย์และทำการประชาสัมพันธ์เพื่อหาลูกค้า เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสให้คนเข้าถึงและมองเห็นตัวทรัพย์ที่ต้องการจะขายได้มากขึ้น โดยเฉพาะในยุคสมัยที่คนสามารถเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ได้ง่ายดายนั้น หากมีกลยุทธ์ที่แปลกใหม่ล้วนส่งผลให้เป็นข้อได้เปรียบ อีกทั้งยังสามารถติดต่อกับผู้ที่ต้องการเช่าหรือผู้ซื้อได้ไม่ยาก
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง