logo เงินทองของจริง

BNPL ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง สินเชื่อจูงใจ Gen Z เสี่ยงติดกับดักหนี้ | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : บอกเลยว่าการใช้จ่ายในปัจจุบันมีกลยุทธ์ใหม่ๆในการจูงใจให้คนใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งการซื้อขายสินค้า บริการผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ "Bu ch7hd news,tero digital,ch7hdnews,terodigital,เงินทองของจริง,moneycoach,money coach,โคชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โคชหนุ่ม จักรพงษ์,โคชหนุ่ม,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์,โค้ชหนุ่ม,โคชหนุ่มจักรพงษ์,โค้ชหนุ่มจักรพงษ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,กาย สวิตต์,กายสวิตต์,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,แพรว ภัทรนันท์,แพรวภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน

9,640 ครั้ง
|
12 เม.ย. 2567
บอกเลยว่าการใช้จ่ายในปัจจุบันมีกลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการจูงใจให้คนใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งการซื้อขายสินค้า บริการผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ "Buy Now Pay Later" สินเชื่อบริการผ่อนชำระที่เรียกว่า “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” เป็นที่จับตาของกลุ่ม Gen Z ที่กำลังเข้าสู่วัยทำงาน ยังไม่ได้มีสภาพคล่องหรือ Credit score ที่ดี ทำให้สนใจในสินเชื่อนี้ ขอแนะนำการใช้สินเชื่อนี้อย่างไรไม่ให้เสี่ยงติดกับดักหนี้
 
เมื่อ Gen Z เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ยังไม่ได้มีสภาพคล่องหรือ Credit score ที่ดี รวมไปถึงสถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น "สินเชื่อเพื่อผู้บริโภค" ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวน Gen Z เพิ่มมากขึ้นที่เปิดรับแนวคิด "ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง" หรือ Buy Now Pay Later (BNPL) เป็นบริการให้สินเชื่อหรือการผ่อนชำระสินค้าที่เข้าถึงง่าย อนุมัติไว และปราศจากดอกเบี้ย 
 
หากชำระเงินตามเงื่อนไข BNPLจึงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นด้านการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สินเชื่อนี้เป็นที่นิยมในผู้บริโภคกลุ่มนี้ นอกจากจะช่วยให้เข้าถึงการซื้อสินค้าที่ราคาสูงได้ง่ายแล้ว BNPL ยังเป็นสินเชื่อที่มีข้อผูกมัดต่ำ และเป็นทางเลือกเพิ่มเติมจากบัตรเครดิต
 
Buy now, Pay Later คืออะไร ?
- Buy now Pay Later หรือ การซื้อสินค้าแบบ "ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง" เป็นการซื้อสินค้า
- ที่มีการแบ่งชำระเงินออกเป็นงวด ๆ เท่าๆกัน โดยงวดแรกเกิดขึ้น ณ วันทำการซื้อขาย 
- และการชำระครั้งต่อไปจะถูกเรียกเก็บจากบัญชีธนาคารบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตของ
- ผู้ใช้บริการ จนกว่าจะชำระเต็มจำนวน ซึ่งการซื้อก่อนจ่ายทีหลังจะมีค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต่ำหรือไม่มีค่าธรรมเนียม ไม่มีดอกเบี้ยหากชำระตามเงื่อนไข ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ ธุรกิจนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา
 
สินเชื่อ BNPL มีผลดีกับใครบ้าง ?
 
ส่งผลดีกับผู้ประกอบการสามารถสร้างโอกาสทางรายได้การค้าขายจากการเสนอรูปแบบการชำระเงินแบบ BNPL ได้ดังนี้ 
- ช่วยเพิ่มยอดขายให้กับร้านค้า: การเสนอตัวเลือก BNPL ให้ผู้บริโภคที่มีงบ
ประมาณไม่เพียงพอตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาสูงเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
- เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ค้าปลีก: เนื่องจากการชำระค่าสินค้า
แบบ BNPL ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการชำระเงิน ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ ส่งผลให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าที่ให้บริการ BNPL เป็นตัวเลือกแรก ๆ
- ช่วยเพิ่มมูลค่ายอดขายต่อคำสั่งชื่อ: การมี BNPL เป็นทางเลือกในการชำระ
ค่าสินค้าและบริการ ทำให้ลูกค้าสามารถแบ่งการชำระได้เป็นงวด ๆ ดังนั้น ยอดซื้อสินค้าในแต่ละครั้งของลูกค้าจึงเพิ่มขึ้น และอาจจูงใจให้ตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นจากความตั้งใจแรก
- ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น: สินเชื่อ BNPL ไม่ได้กำหนด
รายได้ขั้นต่ำของผู้ใช้บริการทำให้กลุ่มคนที่มีรายได้น้อย หรือมีรายได้ที่ไม่แน่นอนสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น ซึ่งทำให้ร้านค้าที่รับการชำระเงินแบบ BNPL สามารถขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้น
 
4 พฤติกรรมความเสี่ยงของสินเชื่อ BNPL
อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการใช้บริการและทัศนคติของผู้ใช้บริการสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงของ BNPL คือ
1. มากกว่าครึ่งของเด็ก Gen Z ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท ใช้บริการ BNPL และส่วนใหญ่ใช้จ่ายไปกับเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมเสี่ยงของเด็กรุ่นใหม่ที่อาจก่อหนี้เกินตัวในอนาคต
2. BNPL กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น ขณะที่ผู้ใช้ BNPL ยังเป็นกลุ่มที่มีหนี้หลายประเภท โดยผู้ใช้ BNPL มากกว่า 3 ใน 5 ระบุว่า ตัดสินใจซื้อสินค้าได้เร็วขึ้น หากมีบริการผ่อนชำระ อีกทั้ง ผู้ใช้บริการ BNPL เกือบครึ่งมีภาระหนี้อยู่แล้ว (ไม่รวมหนี้ BNPL) จึงอาจนำไปสู่ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้และเกิดหนี้เสียในระยะถัดไป
3. ผู้ใช้บริการ BNPL ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจะซื้อของไม่จำเป็นมากขึ้นหากมีการผ่อนชำระรวมเห็นด้วยกับการใช้จ่ายพื่อให้รางวัลกับนเองก่อนการตัดสินใจออมหรือลงทุนเห็นว่า บริการ BNPL อาจทำให้ผู้ใช้ขาดวินัยการออมและการลงทุน
4. ผู้ใช้บริการ BNPL ได้รับข้อมูลจากผู้ให้กู้ยืมยังไม่ครบถ่วน และต้องการการกำกับดูแลจากภาครัฐ อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย จากประเด็นข้างต้นชี้ให้เห็นว่า แม้ BNPL จะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง และมีส่วนช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ แต่อาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสมและการติดกับดักหนี
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://www.youtube.com/live/wRz9TlRsF6c?feature=shared

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง