ช่วงนี้ข่าวถูกเวนคืนที่ดินจากหน่วยงานรัฐเพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศ มีออกข่าวกันอย่างต่อเนื่อง แล้วเวนคืนที่ดินคืออะไร และขั้นตอนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีอะไรบ้าง ?
เวนคืนที่ดิน คืออะไร
การเวนคืนที่ดิน คือการที่ภาครัฐ หรือหน่วยงานราชการ บังคับซื้อที่ดินคืนจากราษฎรที่เป็นเจ้าของที่ดิน เพื่อนำไปใช้ในกิจการที่เป็นสาธารณประโยชน์ พัฒนาระบบสาธารณูปโภคของประเทศ เช่น สร้างถนน สร้างทางพิเศษหรือทางด่วน สร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ สร้างสถานีรถไฟฟ้าหรือสร้างรางรถไฟฟ้าความเร็วสูงเป็นต้น
ขั้นตอนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
1. การสำรวจที่ดิน สิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ยืนต้นผู้รับมอบหมายจากกรมทางหลวง
2. การกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนจะดำเนินการโดยคณะกรรมการปรองดอง (ในขั้นปรองดอง) หรือคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น (ในขั้น พ.ร.ฎ.) หรือคณะกรรมการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน (ในขั้น พ.ร.บ.)
3. การกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์จะกำหนดให้แก่บุคคลต่อไปนี้
3.1 เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน
3.2 เจ้าของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ ซึ่งมีอยู่ในที่ดิน ที่ต้องเวนคืนนั้นในวันใช้บังคับ
3.3 ผู้เช่าที่ดิน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นในที่ดินที่ต้องเวนคืน
3.4 เจ้าของต้นไม้ยืนต้นที่ขึ้นอยู่ในที่ดิน
3.5 เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนได้ ซึ่งมีอยู่ในที่ดิน
3.6 บุคคลผู้เสียสิทธิ์ในการใช้ทาง วางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสิ่งอื่น ซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินที่ต้องเวนคืนตามมาตรา 1349 หรือ มาตรา 1352
4. การกำหนดค่าทดแทนจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดโดยคำนึงถึง
4.1 ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน
4.2 ราคาของอสังหาริมพรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษี
4.3 ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม
4.4 สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น
4.5 เหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน
4.6 การได้ประโยชน์และเสียประโยชน์จากการเวนคืน
4.7 ค่าทดแทนความเสียหายที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน
5. การปิดประกาศราคาที่กำหนดเมื่อคณะกรรมการได้กำหนดราคาค่าทดแทน
6. การจัดทำบันทึกข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขายเมื่อคณะกรรมการฯ ได้กำหนด ค่าทดแทนแล้ว เจ้าหน้าที่จะมีหนังสือแจ้ง ให้เจ้าของทรัพย์สินมาทำบันทึกข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขาย
7. การจ่ายเงินค่าทดแทน เมื่อทำบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาซื้อขายแล้วกรมทางหลวง ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนทั้งหมดให้แก่เจ้าของทรัพย์สินภายใน 120 วัน
8. การใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อครอบครองรื้นถอนสิ่งปลูกสร้าง
8.1 กรณีทำบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาซื้อขาย ถ้าเจ้าของไม่ยอมรื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง เจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ที่จะรื้อถอนได้ตามบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาหซื้อขาย
8.2 กรณีไม่ทำบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาซื้อขายเจ้าหน้าที่จะดำเนินการ แจ้งครอบครอง วางเงินและรื้อถอนตามกฎหมายต่อไป
เงินทดแทนจากการถูกเวนคืนที่ดิน ต้องเสียภาษีหรือไม่ เมื่อเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนที่ดินและได้รับเงินทดแทนมา แม้ว่าหลายรายอาจจะรับมา ด้วยความไม่สมัครใจ แต่ในทางกฎหมายว่าด้วยเรื่องของเงินทดแทนนี้ ถือเป็นรายได้ ที่เจ้าของที่ดินได้รับ จำเป็นต้องนำมาเสียภาษีอีกหรือไม่ ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
4. อากรแสตมป์
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital