logo ถกไม่เถียง

หนุ่มเจ็บใจ โดน “ตร. จับ” เหตุใช้ “ป้ายแดงปลอม” เซลแนะประหลาด โชว์รูมปัดรับผิดชอบ !

ถกไม่เถียง : หนุ่มซื้อรถป้ายแดงยี่ห้อดัง ขับรถออกจากศูนย์ครั้งแรกรถมีปัญหา ก่อนขอเปลี่ยนเป็นรถคันที่สอง ขับออกมาก็ยังมีปัญหา จึงตัดสินใจเปลี่ยนเป ถกไม่เถียง,ถกไม่เถียง Weekend,ทิน โชคกมลกิจ,ทะเบียนรถ,รถป้ายแดง,ออกรถใหม่,รถใหม่,ตำรวจ,ตำรวจทางหลวง,ติดป้ายปลอม,ป้ายปลอม,เซล,เซลล์,ศูนย์รถ,กฤษ,สคบ.,อนุพงษ์ เจริญเวช,นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการพิเศษ

667 ครั้ง
|
31 มี.ค. 2567
หนุ่มซื้อรถป้ายแดงยี่ห้อดัง ขับรถออกจากศูนย์ครั้งแรกรถมีปัญหา ก่อนขอเปลี่ยนเป็นรถคันที่สอง ขับออกมาก็ยังมีปัญหา จึงตัดสินใจเปลี่ยนเป็นรถคันที่สาม พร้อมเปลี่ยนยี่ห้อรถ สุดงง ? ถูกจับป้ายแดง โดนแจ้งข้อหาปลอมแปลงเอกสารทางราชการ ตั้งคำถาม รถป้ายแดงขับออกจากศูนย์ โดนตำรวจจับได้อย่างไร ?
 
วันที่ 31 มี.ค. 67 กฤษ ผู้เสียหาย ออกมาเล่าเรื่องราวผ่านรายการ "ถกไม่เถียง" ทางช่อง 7HD กด 35 ดำเนินรายการโดย ทิน โชคกมลกิจ ว่า วันแรกที่ได้รถ ก็มีรอยตามตัวรถ และมีรอยเหมือนโดนชน ตอนซื้อก็มีการวางมัดจำเป็นเงิน 3,000 บาท พอรถมีปัญหาตนก็เปลี่ยนรถเป็นคันที่สอง เปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาวมุก เป็นรุ่นและยี่ห้อเดียวกับรถคันแรก ตนจำไม่ได้ว่าป้ายรถคันแรกเป็นเลขอะไร เพราะรถอยู่กับตนแค่หนึ่งวัน รถคันที่สองเป็นเลข 9999 ใช้ได้ไม่กี่เป็นก็ซ่อมอีก และซ่อมมาตลอด เป็นระยะเวลาหลายปี จนตนทนไม่ไหว วันที่ 26 เมษายน 2564 ตัดสินใจขายรถให้กับบริษัทรถแห่งหนึ่ง เขาตีราคาถูกไป ตนจึงไปขายให้เต็นท์รถซึ่งมีราคาสูงขึ้นมาหน่อยซึ่ง 5-6 ปี ยังไม่ได้ป้ายขาว แต่ตนก็ขอจากศูนย์มาตลอด สุดท้ายศูนย์ก็จดให้หลังจากนั้นตนก็ใส่ป้ายขาวเลย ตนพยายามเอาเล่มแดงไปคืนเพื่อนที่จะเอาเงินมัดจำ 3 พัน คืน แต่ทางศูนย์ก็ไม่ให้ จนตนทนไม่ไหวขายรถคันที่สอง เพื่อไปซื้อรถคันที่สามเปลี่ยนเป็นยี่ห้ออื่น 
 
ถกไม่เถียง : หนุ่มเจ็บใจ โดน “ตร. จับ” เหตุใช้ “
 
ตอนตนไปรับรถ ตนจ่ายเงินดาวน์จ่ายค่าอื่น ๆ เรียบร้อยครบถ้วน จ่ายเงินค่ามัดจำป้ายแดง 3 พัน เรียบร้อย และค่าจดทะเบียนป้ายอีก 6 พันกว่าบาท ค่าออกรถ จ่ายเรียบร้อยหมด เพื่อที่จะไปรับรถคันใหม่ แต่ป้ายแดงจากคันที่หนึ่งและสองก็ยังอยู่ที่ตน ที่ศูนย์เห็นว่ายังไม่คืนและมีเล่มถูกต้องเลยบอกว่าจะทำเรื่องคืนเงินมัดจำให้และให้ใช้ป้ายแดงอันเดิมที่มาจากรถคันที่หนึ่งและสองนำมาใส่คันที่สาม หลังจากนั้นตั้งแต่โควิดงานที่ตนทำอยู่ก็เจ๋ง ตนเลยจอดรถวางไว้เพื่อให้เจ้าหนี้สบายใจ เอารถคันที่สามที่มีป้ายแดงจากคันที่หนึ่งและคันที่สองจอดเป็นประกันเอาไว้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าตนจะไม่โกง เนื่องจากเงินเหลือไม่มากตนจึงโยกรถไปที่นายทุนคนใหม่ เพราะดอกเบี้ยน้อยกว่าที่เดิม
 
ตนก็หางาน หาเงินเพื่อไปเอารถออกมา ตนวานให้ที่ใหม่เปลี่ยนป้ายรถให้เป็นป้ายขาวแต่เขาไม่ได้เปลี่ยนเพราะไม่กล้ายุ่งกับรถของตน แต่ก็ไปเสียภาษีให้ตนเรียบร้อย แค่ไม่ได้เปลี่ยนป้ายให้ สรุปป้ายก็ยังอยู่ที่ตน รถก็ยังติดป้ายแดงอยู่ ตนก็เอารถกลับบ้าน พอจะมาสตาร์ตรถก็ไม่ติดเพราะแบตเสื่อมตนจึงโทรติดต่อร้านให้มาเปลี่ยนแบตเตอรี่ หลังจากนั้นตนก็นำรถไปศูนย์เพื่อที่จะเปลี่ยนป้ายแดงเป็นป้ายขาว จุดประสงค์คือจะนำรถไปเช็กระบบ พอขับรถออกจากซอยก็โดนตำรวจทางหลวงจับ ตนจึงถามว่าตนขับรถชนหรือเฉี่ยวหรือเปล่า ตำรวจก็บอกว่าตนใช้ป้ายปลอม ปลอมเอกสาร ตนก็งงว่าปลอมอะไร ก่อนจะไปหยิบป้ายขาวมาให้ตำรวจดูว่าตนกำลังจะไปเปลี่ยน ตนไปปลอมอะไร รถตนซื้อมาอย่างถูกกฎหมายแต่ตนเพิ่งไปไถ่รถมา
 
ถกไม่เถียง : หนุ่มเจ็บใจ โดน “ตร. จับ” เหตุใช้ “
 
ตำรวจก็ทำการแจ้งข้อกล่าวหาเลยว่า ตนปลอมอะไรต่ออะไร ตนก็เถียงกลับว่าตนไม่ได้ปลอมทำไมมาแจ้งข้อหาตนแบบนี้ ตอบปฏิเสธ ตนไม่ได้ทำ ไม่ได้ปลอม ใช้มาตนก็ไม่รู้ว่ามันปลอมหรือไม่ปลอม ตนจะรู้ได้อย่างไร แต่ตนรู้อย่างเดียวคือว่า ศูนย์รถให้มาและตนก็ไม่ทราบจริง ๆ ว่ามันจะเป็นของปลอม ตนถามทำไมศูนย์ไม่โทรไปคุยกับตำรวจ ศูนย์ก็โยนให้ตนไปหาตำรวจเพื่อให้ตนไปนำรถออกมา ตำรวจบอกว่าเอาออกไปได้อย่างไรต้องประกันล้านกว่าบาท เพราะรถตนถูกอายัดไว้ เหตุการณ์ล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2566 เมื่อปลายปีที่แล้ว
 
ลูกตน ครอบครัวตนได้รับความเดือดร้อนมาก ขายทั้งโรงงาน ขายทุกอย่าง ไม่มีอะไรเหลือแล้ว อยากให้ศูนย์ออกมารับผิดชอบ ตอบบ่ายเบี่ยง ตนไม่รู้ว่าศูนย์ไปคุยอะไรกับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่บอกตนว่า ศูนย์รอด แต่ตนคงไม่รอด ทางศูนย์รถคันแรก ตนโทรไปคุยที่ยื่นข้อเสนอว่าจะดูแลแค่ 5 พัน ถึง 1 หมื่นบาท ตนเลยบอกว่าเรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องค่าปรับแล้วเพราะฉะนั้นศูนย์ต้องเข้ามายืนยัน ต้องมาเป็นพยาน ว่าส่งมอบรถมาแบบนี้ ทีนี้ทางศูนย์บอกว่าทางศูนย์รู้จักกับผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่โทรไปคุยแล้ว ตนคิดว่าศูนย์รถกับโรงงานตกลงกันเพื่อปัดความรับผิดชอบ ตนเลยคิดว่ามีบุคคลที่สามเข้ามาแทรกแซง
 
ถกไม่เถียง : หนุ่มเจ็บใจ โดน “ตร. จับ” เหตุใช้ “
 
ด้าน อนุพงษ์ เจริญเวช นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ความเห็นว่า ในส่วนของคุณ กฤษ ผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงค่อนข้างแตกต่างจากเรื่องที่เคยได้ยินมา สมมติย้อนกลับไปเมื่อปี 2558 วันนั้นถ้าโดนจับป้ายแดงปลอม จะสามารถซัดทางผู้ชายได้เต็มข้อเลย แต่เผอิญว่าคุณ กฤษ ผู้เสียหาย มาโดนจับจากคันที่สาม ซึ่งเป็นอีกยี่ห้อหนึ่ง ดังนั้นป้ายนี้มันมาตั้งแต่ปี 2558-2566 ปาเข้าไป 8 ปีแล้ว โดยจะแยกเป็นสองคดี คดีที่ทางพนักงานสอบสวนส่งฟ้องไปเรื่องการใช้เอกสารปลอมก็ไปสู่พนักงานอัยการ ในส่วนของคดีแพ่ง ที่ทางคุณกฤษ ผู้เสียหาย ยื่นไว้ที่ สคบ. มีการดำเนินไปแล้วระดับหนึ่ง 
 
อาจจะต้องขอข้อเท็จจริงจากพนักงานสอบสวนด้วย ในส่วนของป้ายแดงปลอม ตนมองว่าคนใช้เขาไม่รู้หรอก เพียงแต่ว่าสิ่งที่เคยเจอมาจะเป็นเคสที่ว่านำรถออกมาใช้ไม่กี่วันก็จะถูกจับ ไม่เคยเจอเคสที่ 7-8 ปี ผ่านมา แต่ยังไม่เคยโดนจับ จึงมีข้อเท็จจริงที่มีความซับซ้อน สคบ. ก็จะดูว่าสามารถดำเนินการช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง
 
ติดตาม รายการ “ถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ” ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.30-18.00 น. และทุกวันเสาร์ - วันอาทิตย์ พบกับ รายการ “ถกไม่เถียง Weekend” เวลา 17.30-18.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 

ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/jkvGQyijA0Q?feature=shared

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง