หากพูดถึงเรื่องสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศเมียนมา นับตั้งแต่เมียนมามีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในประเทศ ส่งผลต่อเศรษฐกิจในประเทศอย่างไรบ้าง ?
วันนี้รายการเงินทองของจริงมีแขกรับเชิญพิเศษที่เป็นนักธุรกิจไทยที่มีกิจการอยู่ในเมียนมามายาวนาน ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านการค้า การลงทุน โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา โดย "คุณกริช อึ้งวิฑูรสถิตย์" ประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมา และกรรมการผู้จัดการ บริษัท สากลธุรกิจเลิศรวมมิตร, ร้านอาหารอาจิเซน ราเมน รวมถึงธุรกิจเวดดิ้ง-สถานที่รับจัดงานแต่งงานสไตล์บ้านเรือนไทย
"คุณกริช" ได้พูดถึงสถานการณ์ในประเมียนมา ว่า หลังจากที่เมียนมามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งเกิดความระส่ำระสายภายในประเทศเมียนมา โดยทำให้ผู้คนออกมาเดินบนท้องถนนเพื่อประท้วงรัฐบาล ทำให้เริ่มมีการปราบปรามผู้ประท้วงเกิดขึ้น มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต ส่งผลต่อเศรษฐกิจในประเทศมีปัญหา และธนาคารไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อจำกัดในการทำงานไม่สามารถเปิดให้ผู้คนเข้าไปทำธุรกรรมได้อย่างเต็มที่ และมีข้อกังวลเรื่องผู้คนในประเทศนั้นเข้าไปถอนเงินเป็นจำนวนมาก
โดยทางประเทศตะวันตก ที่มีชาติสหรัฐเป็นผู้นำ ได้เข้ามา Sanction ทำให้ค่าเงินของประเทศเมียนมาตกลงค่อนข้างจะสูง โดยอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลจ๊าดเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐ ก็ปรับตัวสูงขึ้นตาม ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศของประเทศเมียนมาเกิดปัญหาขึ้นมาทันที เนื่องจากกระแสเงินสดในประเทศเมียนมาเกิดการสั่นคลอน ทำให้ความมั่งคั่งของประชาชนลดลง ซึ่งหลาย ๆ ฝ่ายจับตามองประเทศเมียนมา ไม่ว่าจะเป็น สถาบันธนาคารโลก , IMF (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) , องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น รวมถึง ธนาคารพัฒนาเอเชีย โดยสถาบันการเงินต่างประเทศเลิกให้ความช่วยเหลือ ส่งผลให้เงินทุนสำรองของประเทศเมียนมาประสบปัญหา ทั้งการนำเข้าเชื้อเพลิง และสินบริโภคอุปโภค
แต่ปัจจุบันรัฐบาลเมียนมาได้เข้ามาควบคุมการนำเข้าสินค้า และมีการส่งเสริมการส่งออกสินค้า ทำให้ GDP ขยับขึ้น 2-3 เปอร์เซ็นต์
แล้วคลื่นปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย อย่างไรบ้าง ?
โดยการค้าบริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมาเริ่มมีปัญหามากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ผลกระทบจากโควิด-19 ที่ทำให้ไทยต้องระวังตัวมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในเมียนมา ที่ส่งผลให้ตามตะเข็บชายแดนเริ่มมีปัญหาเรื่องการค้าขาย โดยก่อนหน้านี้ผมได้เดินทางไปด่านชายแดนหลาย ๆ ด้าน พบว่ามีปัญหาให้แก้ไม่ตกกันทุกด่าน
สถิติการซื้อขายพุ่งไปสูงขนาดไหน แล้วนักธุรกิจด้านอสังหาของเมืองไทยต้องเตรียมรับมืออย่างไรบ้าง ?
จากข้อมูลของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ชี้ให้เห็นว่าตัวเลขผู้ซื้อคอนโดมิเนียมของนักลงทุนชาวเมียนมา มาแรงเป็นอันดับที่ 4 เป็นรองแค่ จีน รัสเซีย และสหรัฐอเมริกาเท่านั้นเอง จากผลสำรวจพบว่า ในปี 2566 ชาวเมียนมา ซื้อคอนโดมิเนียม 564 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 3,707 ล้านบาท โดยข้อมูลเหล่านี้สะท้อนถึงความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ความไม่มั่นคงในประเทศมากขึ้น
โดยเหตุผลที่ชาวเมียนมาเข้ามาลงทุนในบ้านเรามากขึ้น เนื่องจากในช่วง ปี ค.ศ.2000 เป็นต้นมา เศรษฐกิจเมียนมาเริ่มฟื้นตัวขึ้นตามกระแสโลก สิ่งแรกที่สร้างเม็ดเงินและความร่ำรวยให้แก่นักธุรกิจของเขา คือ “อสังหาริมทรัพย์” ฉะนั้น นี่จึงกลายเป็นโจทย์ของผู้ประกอบการไทยในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องเตรียมรับมือกับการเข้ามาลงทุนของนักธุรกิจเมียนมา
นำไปสู่งานสัมนา “เมียนมา-ไทย โอกาสธุรกิจของอนุภูมิภาค” ที่จะเชิญ กลุ่มนักธุรกิจ ทั้งไทยและเมียนมา มาจัดเสวนาอัปเดตสถานการณ์บ้านเมืองของเมียนมา ทั้งในแง่สังคม เศรษฐกิจ การลงทุน การศึกษา และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ ด้านการศึกษา แรงงาน และอสังหาริมทรัพย์ ได้มีพื้นที่สำหรับเจรจาทางการค้าระหว่างไทยและเมียนมา
อัปเดตโอกาสธุรกิจไทยและเมียนมา
Thailand & Myanmar Business Matching 2024
โอกาสพิเศษในการจับคู่เครือข่ายธุรกิจ เข้าถึงระบบการศึกษา ส่องเทรนด์อสังหาฯ ลงทุนสินค้าและบริการทั้ง 2 ประเทศ
- - สถานการณ์เมียนมา 2567 : เจาะลึกการลงทุนของนักธุรกิจไทยและเมียนมา
- - เปิดตลาดธุรกิจ ส่องเทรนด์ของสินค้าและบริการที่มาแรง
- - ที่ปรึกษาด้านกฎหมายไทย-เมียนมา : การเข้าเมืองอย่างถูกต้อง และวิธีการทำธุรกิจในไทยและเมียนมา ฯลฯ
- - โอกาสอสังหาฯ ไทย "เมียนมา" ติดท็อป 3 ชาวต่างชาติซื้อคอนโดในไทย
- - ประเทศไทย : เมืองแห่งการศึกษาของคนเมียนมา
ในวันอังคารที่ 9 เมษายน 2567 เวลา 09.00 - 18.00 น.
ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพฯ
จำหน่ายบัตรราคาเพียง 1,400 บาท
พิเศษ! สมาชิกสภาอุตสาหกรรม ลด 10%
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital