logo เงินทองของจริง

ภาษีลาภลอยคืออะไร ส่งผลกับใครบ้าง ? | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : เคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับภาษีลาภลอย สงสัยว่าเป็นภาษีเกี่ยวกับอะไร ส่งผลกระทบกับใครบ้าง ? ch7hd news,tero digital,ch7hdnews,terodigital,เงินทองของจริง,moneycoach,money coach,โคชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โคชหนุ่ม จักรพงษ์,โคชหนุ่ม,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์,โค้ชหนุ่ม,โคชหนุ่มจักรพงษ์,โค้ชหนุ่มจักรพงษ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,กาย สวิตต์,กายสวิตต์,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,แพรว ภัทรนันท์,แพรวภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน

868 ครั้ง
|
14 มี.ค. 2567

เคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับภาษีลาภลอย สงสัยว่าเป็นภาษีเกี่ยวกับอะไร ส่งผลกระทบกับใครบ้าง ?

ภาษีลาภลอย ( Windfall Tax ) คือ ร่างพระราชบัญญัติภาษีสำหรับผู้ที่ได้ประโยชน์จากที่ดินที่มีโครงการของภาครัฐตัดผ่าน หรือเป็นโครงการของภาครัฐที่กำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ ทางด่วน สร้างสนามบิน หรือ เมกะโปรเจกต์ยักษ์ใหญ่ต่างๆ ของภาครัฐ จนทำให้ที่ดินบริเวณดังกล่าวได้รับอิทธิพลจากการก่อสร้างจนทำให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเรียกได้ว่าเจ้าของที่ดินนั้นจะได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาของภาครัฐ 
 
ภาษีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2561 แต่ก็เงียบไปและเหมือนจะกลับมาใช้ดังนั้น เพื่อสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษีและสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาจากผู้ที่ได้รับประโยชน์ดังกล่าว จึงให้มีการจัดเก็บภาษีจากเจ้าของที่ดิน หรือห้องชุดที่ได้รับประโยชน์จากการเพิ่มของมูลค่าที่ดินและนำรายได้จากการจัดเก็บภาษีดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
การจัดเก็บภาษี แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. ในระหว่างการดำเนินการจัดทำโครงการฯ จะจัดเก็บภาษีจากการขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือห้องชุดซึ่งตั้งอยู่รอบพื้นที่โครงการฯ ในรัศมีที่กำหนด
2. เมื่อการก่อสร้างโครงการฯ แล้วเสร็จจะจัดเก็บภาษี เพียงครั้งเดียวจาก
- ที่ดินหรือห้องชุดเฉพาะส่วนที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาท (ยกเว้นภาษีให้แก่ที่ดินหรือห้องชุดที่ใช้เพื่อพักอาศัยและที่ดินที่ใช้ประกอบเกษตรกรรม)
- ห้องชุดของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่รอจำหน่าย ซึ่งอยู่รอบพื้นที่ที่มีโครงการฯ
 
ใครบ้างที่มีหน้าที่จ่าย “ภาษีลาภลอย” สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีลาภลอยนั้นจะเป็นทั้งบุคคลธรรม และ นิติบุคคลหรือเป็นเจ้าของห้องชุดที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาท ที่มีที่ดินอยู่รอบๆ ตัวโครงการไม่ว่าจะเป็น โครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ ท่าเรือ สนามบิน และโครงการอื่นๆ ที่จะกำหนดในกฎกระทรวงรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร
 
ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นเจ้าของห้องชุดรอการจำหน่ายซึ่งอยู่นอกพื้นที่ที่มีโครงการโดยการเก็บภาษีนั้นจะเก็บเฉพาะราคาที่ดินที่ปรับสูงขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะหักมูลค่าของตัวอาคารออกไป
 
สิ่งที่จะถูกยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีลาภลอยนั้นจะเป็นพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย พื้นที่สำหรับทำเกษตรกรรม และ พื้นที่ที่เป็นมรดก ซึ่งภาครัฐจะเก็บภาษีเฉพาะโครงการที่สร้างขึ้นใหม่เท่านั้น จะไม่มีการเก็บย้อนหลัง
 
การที่ภาครัฐนั้นจะนำกฎหมายดังกล่าวมาบังคับใช้จะต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนที่สำคัญหากภาครัฐมีกำหนดการใช้กฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาจริง ๆ จะเป็นการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อนมาก เนื่องจากว่าเรามีการจัดเก็บ “ภาษีธุรกิจเฉพาะ” “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” อยู่แล้ว และหากมีการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้น ก็จะถูกสะท้อนลงไปในการซื้อ - ขาย ซึ่งเป็นฐานภาษีอยู่แล้ว
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtube.com/live/60BSR6vdmb8?feature=share
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง