บางคนที่ต้องการใช้เงินแต่กลัวการพึ่งสินเชื่อ กลัวการเป็นหนี้ แนะนำใช้สินเชื่อให้เกิดประโยชน์ ลดปัญหาหนี้เกินตัวบ้าง ?
สินเชื่อเป็นตัวเลือกที่ดีทางนึงเลยก็ว่าได้ เป็นเครื่องมือทางการเงินที่มีประโยชน์อย่ากลัวการใช้สินเชื่อแค่ใช้ให้เป็น อย่างแรกต้องตอบคำถามตัวเองก่อนว่าจะนำเงินสินเชื่อไปใช้อะไรควรพิจารณาจาก
- พิจารณาจากความจำเป็นพื้นฐานว่าจำเป็นที่ต้องใช้ไหม หากจำเป็นการซื้อแบบไหนที่เราสามารถจ่ายได้และไม่เป็นภาระหนักเกินไปในระยะยาว
- พิจารณามองภาพรวมคำนวณต้นทุนของการซื้อและการใช้สินเชื่อ ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน ประกันรถยนต์ฯลฯ อย่ามองแค่ค่าผ่อนเพราะมีรายจ่ายอีกมากที่ตามมา
- พิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้คืน ประเมินความสามารถตัวเองสภาพคล่องทางการเงินว่าได้รับผลกระทบมากแค่ไหนไหวไหม จัดทำงบรายรับ-ร่ายจ่าย เพิ่มค่าผ่อนชำระสินเชื่อลงในงบรายรับ-รายจ่าย เพิ่ม/ลดรายการที่เกี่ยวข้องมองถึงความจำเป็น ตรวจสอบเงินคงเหลือ ว่าติดลบหรือไม่
รู้จักกับสินเชื่อแต่ละประเภทก่อนว่าใช้ในส่วนบุคคลหรือทางธุรกิจหรือและแต่ละคนแตกต่างกันไป
- ใช้เพื่อปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต การกู้ซื้อบ้าน คอนโด การกู้ซื้อรถยนต์ เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาฯลฯ
- ใช้เพื่อการบริโภค การกู้ซื้อเพื่อการใช้จ่ายส่วนตัว บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล ผ่อนสินค้าและบริการหนี้นอกระบบสินเชื่อประเภทนี้เลี่ยงได้ก็ควรที่จะเลี่ยงเพราะอัตราดอกเบี้ยสูง
- ใช้เพื่อการลงทุน การกู้ยืมเงินเพื่อลงทุนหรือเพื่อสร้างกิจการ ข้อควรระวังคือควรทำการลงทุนให้เป็นหรือลงทุนผิดวิธีอาจสร้างความเสียหายเป็นหนี้ได้
การแก้ปัญหาไม่พร้อมใช้สินเชื่อ
ประเมินได้ 2 ทาง ลดขนาดความต้องการลงจากเดิมหรือให้เลื่อนการซื้อหรือการใช้สินเชื่อออกไปก่อนแต่การขอสินเชื่อก็มีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยการขอสินเชื่อควรพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อว่า ต้องการใช้ไปทำอะไร วงเงินที่ต้องการ ระยะเวลาผ่อนชำระ และตระหนักถึงความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ รวมถึงการจัดการเงินอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจเพื่อป้องกันความเสี่ยงในอนาคต
ถ้ารายรับเราลดลงจนส่งผลให้จ่ายหนี้ได้ไม่เต็มจำนวนที่ถูกเรียกเก็บหรือจ่ายไม่ได้ตามสัญญา หรือเกิดเหตุอื่นๆ ที่กระทบรายรับโดยรวมของครอบครัว ควรมีแนวทางการชำระหนี้คืน จัดทำงบประมาณรายรับจ่าย ชำระหนี้ให้ตรงเวลา ทำแผนหนี้เพิ่มบางรายการ
- ลดอัตราดอกเบี้ย
เป็นการลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับหนี้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้ภาระหนี้ที่จะต้องจ่ายลดลงบางส่วน แต่ส่วนมากสถาบันการเงินมักลดอัตราดอกเบี้ยให้เพื่อให้ลูกหนี้มีเวลาปรับตัวในช่วงที่รายได้ลดกะทันหัน เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน
- พักชำระเงินต้น
เราไม่ต้องจ่ายเงินต้นแต่ยังต้องจ่ายดอกเบี้ย (จำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับยอดหนี้ทั้งหมด ประเภทหนี้ ระยะเวลากู้ยืม และอัตราดอกเบี้ย) ซึ่งส่วนใหญ่สถาบันการเงินมักให้พักชำระเงินต้นประมาณ 3 – 6 เดือน วิธีนี้จึงเหมาะกับคนที่รายรับลดลงเพียงไม่นานและจะกลับมาชำระหนี้ตามเดิมได้
- ขยายเวลาชำระหนี้
เป็นการเพิ่มระยะเวลาในการจ่ายหนี้ วิธีนี้จะทำให้เราเป็นหนี้นานขึ้น แต่จำนวนผ่อนต่อเดือนจะลดลง ซึ่งเราสามารถขอขยายเวลาชำระหนี้ได้เป็นปี เช่น บางรายขอเพิ่มได้ 5 ปี (ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ ประเภทหนี้ รวมถึงฐานะการเงินของลูกหนี้)
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital