logo เงินทองของจริง

ข้อควรระวังในการวางแผน “ภาษีมรดก” | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : ล่าสุดประเด็นการปรับแก้ไขภาษีมรดกใหม่ จะเพิ่มรายได้รัฐ-ลดความเหลื่อมล้ำ ได้อย่างไง ? ch7hd news,tero digital,ch7hdnews,terodigital,เงินทองของจริง,moneycoach,money coach,โคชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โคชหนุ่ม จักรพงษ์,โคชหนุ่ม,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์,โค้ชหนุ่ม,โคชหนุ่มจักรพงษ์,โค้ชหนุ่มจักรพงษ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,กาย สวิตต์,กายสวิตต์,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,แพรว ภัทรนันท์,แพรวภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน

18,316 ครั้ง
|
28 ก.พ. 2567
ล่าสุดประเด็นการปรับแก้ไขภาษีมรดกใหม่ จะเพิ่มรายได้รัฐ-ลดความเหลื่อมล้ำ ได้อย่างไง ?
 
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กรมสรรพากรได้ส่งหลักการแก้ไขภาษี การรับมรดกซึ่งเป็นการดำเนินการตามนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ที่มอบหมายให้กรมสรรพากรไปศึกษาการปรับปรุงกฎหมายการจัดเก็บภาษี การรับมรดกเมื่อเดือนต.ค.2566 เพื่อให้การจัดเก็บภาษีมีความสอดคล้อง กับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น โดยการแก้ไขภาษีการรับมรดกจะส่งผลต่อให้รัฐสามารถ จัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น สร้างความเป็นธรรมให้ผู้เสียภาษี และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ในสังคม มากกว่าการเป็นกฎหมายที่มีขึ้นในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น
 
สำหรับขั้นตอนพิจารณาแก้ไขจากนี้กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง จะพิจารณาการปรับปรุงหลักการดังกล่าว เพื่อให้รมว.คลังเห็นชอบ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จ ภายในไตรมาส 1/2567 จากนั้นจะส่งรายละเอียดทั้งหมดกลับไปที่กรมสรรพากร เพื่อจัดทำร่างแก้ไขพ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป
 
ทั้งนี้ ภาษีมรดกของไทย ตามกฎหมายดังกล่าว ดำเนินการจัดเก็บมาแล้วประมาณ 5 ปี ถือว่าจัดเก็บได้ค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับยอดรายได้รวมของกรมสรรพากร ที่จัดเก็บรายได้ที่ 2.2 ล้านล้านบาทต่อปี
 
“จากข้อมูลพบว่าที่ผ่านมา 5 ปี มีการเสียภาษีรับมรดกราว 700-800 ล้านบาท ถือว่าไม่สูงมากเพราะเป็นภาษีกรณีเฉพาะคงไม่ได้มุ่งเน้นที่จะเก็บรายได้เพิ่ม อย่างมีนัยยะสำคัญ แต่การปรับปรุงการจัดเก็บใหม่จะทำให้เกิดความเป็นธรรม และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับหลายประเทศ ซึ่งมีการเก็บในอัตราที่สูงกว่าไทยมาก ซึ่งไทยจัดเก็บอยู่ที่ 5-10% ถือว่าค่อนข่างต่ำ แต่หลายประเทศส่วนใหญ่ จัดเก็บภาษีมรดก อยู่ระหว่าง อัตรา 10-30% อาทิ ประเทศญี่ปุ่นจัดเก็บอยู่ที่ 10-55% เกาหลีใต้จัดเก็บที่ 10-50% เยอรมนีจัดเก็บที่ 7-30% เป็นต้น”
 
ขณะที่ทรัพย์สินมรดกที่เข้าข่ายต้องเสียภาษี อาทิ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น ตราสารหนี้ เงินฝาก ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน ทรัพย์สินทางการเงิน ส่วนมรดกที่ไม่ต้องเสียภาษี เช่น เงินสด ทองคำ เครื่องเพชร พลอย ของสะสมของโบราณ และทรัพย์สินทางปัญญา คาดว่าจะยังคงไว้ตามเดิม
 
เดิมภาครัฐประเมินว่า การเก็บภาษีมรดกจะทำให้มีรายได้เข้ารัฐประมาณปีละ 4,000 ล้านบาท โดยเก็บจากผู้รับที่เป็นผู้สืบสันดานโดยตรง จะถูกเก็บภาษีในอัตรา 5% กรณีรับมรดกเกิน 100 ล้านบาท ส่วนผู้รับมรดกที่ไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรง จะถูกเก็บภาษีในอัตรา 10% ทั้งนี้ ทรัพย์สินมรดกที่เก็บภาษีมี 5 ประเภทด้วยกัน คือ เงินฝาก ที่ดิน หุ้น รถยนต์ และตราสารทางการเงิน
 
5 ข้อที่ต้องควรระวังในการวางแผนภาษีมรดกนั้น
 
1. ไม่ได้ชำระภาษีในระยะเวลาที่กำหนด ผู้รับมรดกมีหน้าที่ต้องยื่นแบบภายใน 150 วัน หลังวันที่ได้รับมรดกเกิน 100 ล้านบาท การไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี อาจได้รับบทกำหนดโทษทั้งเบี้ยปรับและโทษทางอาญา
 
2. ไม่รู้สินทรัพย์และหนี้สินที่มี การที่ไม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อน อาจทำให้สินทรัพย์บางรายการตกหล่น หรืออาจต้องใช้เวลาในการรวบรวม ซึ่งทำให้ยากต่อการจัดการ และทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ได้ 
 
3. ไม่ทราบความแตกต่างของประเภททรัพย์สิน : ทรัพย์สินแต่ละประเภท มีข้อดีข้อเสียต่างกัน 
(1) สภาพคล่อง เช่น ทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ เช่น เงินสด รถยนต์ ทองคำ เครื่องประดับ จะมีสภาพคล่องมากกว่า อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน เป็นต้น
(2) อัตราการเสียภาษีการรับการให้ (gift tax) และภาษีมรดก (inheritance tax) ทรัพย์สินแต่ละประเภทมีความแตกต่างของการชำระภาษีการรับให้ และภาษีมรดก
 
4. ไม่จัดการและแบ่งมรดกให้เหมาะสมกับผู้รับ หลายครั้งที่เห็นในข่าวที่มีปัญหาเรื่องแก่งแย่ง คดีความ ฟ้องร้องเรื่องมรดก เนื่องจากเจ้ามรดกอาจไม่ได้มีการทำพินัยกรรมไว้ หรืออาจจะมีแต่ไม่ได้มีการจัดการที่ชัดเจนเหมาะสมกับผู้รับ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันและทะเลาะวิวาทในภายหลัง 
 
5. ไม่ได้เตรียมการจัดสรรมรดกล่วงหน้าเพื่อผลประโยชน์ทางภาษี    ถ้ามีการจัดการ 4 ข้อข้างต้นได้ดีแล้ว จะทำให้สามารถเตรียมการและวางแผนการเงิน สำหรับนำมาชำระภาษีที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เราสามารถเริ่มวางแผนมรดก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. รู้สถานะทางการเงินของตัวเองด้วยการทำบัญชีทรัพย์สินที่มีอย่างละเอียด
2. ศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3. วางแผนให้ส่งต่อมรดกไปยังทายาทโดยได้รับประโยชน์สูงสุดทางภาษี เช่น การใช้ประกันชีวิต เป็นต้น
4. พิจารณาความเหมาะสมในการมอบทรัพย์สินมรดกเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับตัวเอง และทายาทตามมา
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtube.com/live/zTkZLyvV_E0
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง