logo ถกไม่เถียง

พ่อแม่ทุกข์ระทม “ลูกติดมือถือหนัก” พัฒนาการสะดุด สุดก้าวร้าว ต้องแก้อย่างไร ?

ถกไม่เถียง : ในยุคดิจิทัล ผู้ปกครองหลายคนอาจจะไม่มีเวลาเลี้ยงลูก จนต้องปล่อยให้ลูกอยู่กับจอมือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์มากเกินไป กลายเป็นเป็นป ถกไม่เถียง,ทิน โชคกมลกิจ,พ่อแม่ทุกข์ระทม,พ่อแม่ทุกข์,ลูกติดมือถือหนัก,ลูกติดมือถือ,พัฒนาการสะดุด,พัฒนาการเด็ก,พัฒนาการ,ถกไม่เถียง Weekend,เด็กติดจอ,เด็กติดมือถือ,ติดมือถือ,ติดจอ,เลี้ยงลูก,วิธีเลี้ยงลูก,คู่มือเลี้ยงลูก,บี กมลาสน์ เอียดศรีชาย,บี กมลาสน์,กมลาสน์ เอียดศรีชาย,รศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี,รศ.นพ.ศิริไชย,ศิริไชย หงษ์สงวนศรี,อาจารย์ธิดา พิทักษ์สินสุข,ธิดา พิทักษ์สินสุข,จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น,จิตแพทย์เด็ก

13,073 ครั้ง
|
27 ม.ค. 2567
ในยุคดิจิทัล ผู้ปกครองหลายคนอาจจะไม่มีเวลาเลี้ยงลูก จนต้องปล่อยให้ลูกอยู่กับจอมือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์มากเกินไป กลายเป็นเป็นปัญหาลูกติดจอ ติดเกม จนทำให้พฤติกรรมเปลี่ยน ปัญหานี้จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาการที่สมบูรณ์ของเด็กในอนาคต
 
วันที่ 27 ม.ค. 67 รศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ออกมาเล่าเรื่องราวผ่านรายการ "ถกไม่เถียง" ทางช่อง 7HD กด 35 ดำเนินรายการโดย ทิน โชคกมลกิจ ว่า ปัญหาเด็กติดจอมีหลากหลายรูปแบบ โดยเด็กมักจะหมกมุ่นอยู่กับเกม โลกโซเชียลมีเดีย ถ้าหากมีคนมาห้ามหรือขัดขวางเด็กจะเกิดอาการไม่พอใจอย่างรุนแรง 
 
ถกไม่เถียง : พ่อแม่ทุกข์ระทม “ลูกติดมือถือหนัก”
 
สาเหตุที่ทำให้เด็กติดจอเนื่องจากเกมเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ชนะ สถิติในปัจจุบันเด็กจะเล่นเกม 3-4 ชั่วโมงต่อวัน และอยู่กับหน้าจอเฉลี่ยถึง 6-7 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจะทำให้เด็กขาดพัฒนาการทางสังคม ไม่ได้เรียนรู้จากสิ่งรอบข้าง นอกจากนี้เกมที่มีความรุนแรงก็ทำให้เด็กมีพฤติกรรมรุนแรงตามไปด้วย 
 
อาจารย์ธิดา พิทักษ์สินสุข (ครูหวาน) นายกสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย เตือนผู้ปกครองว่า การให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการจำกัดระยะเวลาในการเล่น เพื่อป้องกันปัญหาเด็กติดจอ โดยเฉพาะเด็กก่อนวัย 2 ขวบ ยิ่งไม่ควรให้เข้าใกล้จอ หลังจาก 3 ขวบขึ้นไปเวลาเด็กใช้จอจะต้องมีพ่อแม่คอยควบคุมอยู่ข้าง ๆ ถ้าหากไม่คอยควบคุมก็อาจทำให้ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กในระยะยาว ซึ่งจะแก้ไขได้ยากในอนาคต
 
ถกไม่เถียง : พ่อแม่ทุกข์ระทม “ลูกติดมือถือหนัก”
 
คุณบี กมลาสน์ เอียดศรีชาย คุณแม่ที่ประสบปัญหาลูกๆ ติดจอ เล่าว่า จากประสบการณ์ของตน ขณะที่ลูกชายอายุ 2 ขวบ ตนเลี้ยงลูกโดยให้อยู่กับจอมาตั้งแต่แรก และไม่ค่อยได้ดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากทำงานหนักและมีลูกเล็กอีกคน จึงปล่อยให้ลูกชายอยู่กับญาติผู้ใหญ่ จนสุดท้ายตนสังเกตเห็นว่าลูกมีพฤติกรรมที่ไม่ปกติ ไม่พูด ไม่สบตา ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ เชื่อว่าลูกมีปัญหาด้านพัฒนาการจึงตัดสินใจไปหาหมอ ได้รับคำแนะนำว่าควรให้ลูกอยู่กับคนมากกว่าจอมือถือหรือสิ่งของ เพราะจะทำให้เด็กไม่รู้ว่าใครคือพ่อแม่ของเขา เนื่องจากเด็กให้ความสนใจกับสิ่งของมาตลอด ซึ่งอาจเสี่ยงทำให้เป็นโรคออทิสติกเทียม ตนต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าลูกจะกลับมาเป็นปกติ และอยากให้เรื่องราวของลูกเป็นอุทาหรณ์ให้ทุกคนที่กำลังจะมีลูก
 
ถกไม่เถียง : พ่อแม่ทุกข์ระทม “ลูกติดมือถือหนัก”
 
รศ.นพ.ศิริไชย วินิจฉัยอาการลูกของคุณบีว่า มีอาการใกล้เคียงกับโรคออทิสเทียม ที่มีความบกพร่องทางทักษะทางสังคมและพัฒนาการทางภาษาช้า เกิดจากความสนใจทำสิ่งเดิมซ้ำ ๆ โดยไม่สนใจผู้อื่น วิธีรักษาจะต้องให้ผู้ปกครองใช้เวลากับลูกมากขึ้น เปลี่ยนจากหน้าจอเป็นการฝึกทักษะพื้นฐาน เช่น การวาด การอ่าน การเขียน ซึ่งช่วยเพิ่มพัฒนาการของเด็กได้ดีกว่าดูจออย่างแน่นอน
 
ด้านครูหวาน แนะนำวิธีการป้องกันเด็กติดจอ หากพ่อแม่มีเวลาน้อย ก็จะต้องใช้เวลากับลูกอย่างมีคุณภาพ ควรเล่นของเล่นกับลูก เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการหลายด้านมากขึ้น และควรอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังบ่อย ๆ ที่สำคัญอย่าลืมแสดงความรักกับลูกทุกครั้งที่มีโอกาส เชื่อว่าการไม่มีเวลาเลี้ยงลูกไม่ควรเป็นข้ออ้าง เพราะลูกเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของชีวิตพ่อแม่
 
 
ติดตาม  รายการ “ถกไม่เถียง Weekend”  ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ได้ทุกวันเสาร์ และ วันอาทิตย์ เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 

ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/D3yQ9p0Vo2Q?feature=shared

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง