logo ถกไม่เถียง

“ลิเก VS หมอลำ” ฟีเวอร์ ปังอมตะมาทุกยุค ซอฟต์พาวเวอร์ไทย ทำไมไม่มีใครดัน ?

ถกไม่เถียง : ร่วมพูดคุยกับ ศรราม น้ำเพชร (แบงค์) พระเอกลิเก และ ปอยฝ้าย มาลัยพร นักร้องหมอลำ ในประเด็น ลิเกและหมอลำของดีเมืองไทย สะท้อนความเป็นไท ถกไม่เถียง,ลิเก,หมอลำ,ซอฟต์พาว,ศรราม น้ำเพชร,แบงค์,ปอยฝ้าย มาลัยพร,พระเอกลิเก,นักร้องหมอลำ

624 ครั้ง
|
21 ม.ค. 2567
ร่วมพูดคุยกับ ศรราม น้ำเพชร (แบงค์) พระเอกลิเก และ ปอยฝ้าย มาลัยพร นักร้องหมอลำ ในประเด็น ลิเกและหมอลำของดีเมืองไทย สะท้อนความเป็นไทยได้ดีที่สุดอีกสองแขนง ควรผลักดันให้เป็นซอฟต์พาวเวอร์ของไทยหรือไม่ ?
 
วันที่ 21 ม.ค. 67 ศรราม น้ำเพชร (แบงค์) พระเอกลิเก ออกมาเล่าเรื่องราวผ่านรายการ "ถกไม่เถียง" ทางช่อง 7HD กด 35 ดำเนินรายการโดย ทิน โชคกมลกิจ ว่า ตนเริ่มแสดง ลิเก ตอนอายุ 4 ขวบ คุณพ่อได้ตั้งคณะลิเก ชื่อ ศรราม น้ำเพชร ตนหลงใหลในความเป็นลิเกผ่านสายเลือด ครอบครัวฝั่งพ่อและแม่มีอาชีพเดียวกัน คือ ลิเก จึงเหมือนเป็นมรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น สำหรับตนการเล่นลิเกไม่ใช่เรื่องยาก เพราะซึมซับมาตั้งแต่ในท้องแม่ ลิเก ตนเปรียบการร้องลิเกเหมือนการเรียนร้องเพลง การรำก็เหมือนเรียนวิชานาฏศิลป์ ถ้าหากฝึกฝนให้ชำนาญก็สามารถประกอบอาชีพลิเกได้ ซึ่งตนสามารถถ่ายทอดการแสดงลิเกใบแบบเก่าให้มีความทันสมัยขึ้นได้ ส่วนโซเชียลมีผล 100% ทำให้ลิเกเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นได้ง่ายขึ้น
 
ถกไม่เถียง : “ลิเก VS หมอลำ” ฟีเวอร์ ปังอมตะมาทุ
 
ตนคิดว่า ลิเก สามารถเป็นซอฟต์พาวเวอร์ได้ เพราะลิเกเป็นวัฒนธรรมของไทยอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น การรำ การร้อง การเล่าเรื่องราวต่าง ๆ การดู ลิเก ก็เหมือนได้ดูหนังเรื่องหนึ่ง มีเริ่มเรื่อง จบเรื่อง มีการร้องรำ และการนำเสนอผ่านเนื้อเรื่อง การแต่งกายของ ลิเก มีความเป็นเอกลักษณ์ มองแล้วรู้เลยว่าสิ่งนี้ คือ ลิเก และลิเก ยังสามารถนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ได้ ตนเคยไปแสดงลิเกที่อเมริกา แต่โดนโกงค่ามัดจำกว่า 700,000 บาท แต่ตนยังมั่นใจว่าความเป็นไทย ความเป็นลิเกแท้ ๆ จะสามารถครองใจชาวต่างชาติได้ และสามารถทำให้คนไทยในต่างประเทศ รู้สึกคิดถึงบ้านและมีความสุข เมื่อได้ชมลิเก
 
ตนอยากให้ทางภาครัฐสนับสนุนและผลักดัน ให้ลิเกดังไกลสู่สากล เชื่อว่าทุกคนต้องรู้จักลิเกมากขึ้น อย่างการแสดงโขนชาวต่างชาติชื่นชอบเพราะมีความวิจิตร คิดว่าลิเกไม่มีวันหายไปอย่างแน่นอน เพราะมีพื้นที่แสดงความสามารถผ่านสื่อโซเชียลมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กวัยรุ่นเริ่มหันมาให้ความสนใจลิเก ในเรื่องการแสดงลิเก ตนก็ได้มีการปรับตัวไปตามยุคตามสมัย และยังไม่ลืมรากเหง้าของวัฒนธรรม เนื้อแท้ของความเป็นลิเกแน่นอน
 
ถกไม่เถียง : “ลิเก VS หมอลำ” ฟีเวอร์ ปังอมตะมาทุ
 
ด้าน ปอยฝ้าย มาลัยพร นักร้องหมอลำ เล่าว่า หมอลำในยุคก่อนต้องเข้ากรุงเทพฯ เพื่อบันทึกเสียง ในช่วงที่พีกสุด ๆ ของหมอลำ ปีปีหนึ่ง มีงานถึง 8 เดือน เจ้าภาพต้องจองกันข้ามปี สมาชิกในทีมมีประมาณ 300-500 คน ใช้รถประมาณ 30 คัน ราคาจ้างประมาณ 300,000 -350,000 บาท พอเจอโควิดงานก็น้อยลง ตนเคยได้ทริปจากแม่ยกหน้าเวที เป็นแบงก์ยี่สิบบ้าง แบงก์ห้าร้อยบ้าง สูงสุดได้ 30,000 บ้างก็ได้สร้อยทอง นิด ๆ หน่อย ๆ ตนคิดว่าหมอลำ สื่อว่าคนอีสานเป็นคนชอบสนุก อบอุ่น สามัคคี ชอบคิด หมอลำเป็นวัฒนธรรมอันดีงาม ถ้าผู้ใหญ่มองเห็นหมอลำก็สามารถเป็นซอฟต์พาวเวอร์ได้ ประเทศได้มีดีทุกภาค ตนเคยได้ไปทัวร์ต่างประเทศ คิดว่าดนตรีเป็นภาษาสากลที่สื่อสารได้ทั่วโลก
 
ปัจจุบันงานไม่ได้เยอะเหมือนยุคก่อน แต่สามารถเลี้ยงชีพได้ ตอนนี้ตนทำงานเป็นเบื้องหลัง สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ ตนเคยพยายามทำอาชีพอื่นแล้ว เช่น ร้านจิ้มจุ่ม ร้านขายต้นไม้ แต่มันไม่ใช่ตัวตน สุดท้ายตนอยากฝากขอให้มีคนซัปพอร์ต มีคนดูแล อยากให้ช่วยสนับสนุนในทุก ๆ ภาค ตนคิดว่าหมอลำไม่มีวันหายไป มองว่าหมอลำเป็นเหมือนแฟชั่น ฉีกไปตามยุคสมัย และอยู่ในความพอดี
 
ติดตาม  รายการ "ถกไม่เถียง"  ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 

ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/iI97cBOy1dk?feature=shared

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง