หลายคนเพิ่งจะเรียนจบ ทยอยรับปริญญาและกำลังเข้าสู่การกลายเป็น First Jobber มาแนะนำวิธีการจัดการพื้นฐานเกี่ยวกับการเงินให้เหล่าน้อง ๆ จบใหม่
การจัดการรายได้และเงินออมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่เริ่มงานครั้งแรก โดยมีวิธีการต่างๆ ที่คุณสามารถใช้เพื่อจัดการเงินให้มีประสิทธิภาพ นี่คือบางขั้นตอนที่คุณสามารถทำเพื่อควบคุมรายได้และเงินออม
1.วางแผนการเงิน วางแผนรายรับและรายจ่ายของคุณในแต่ละเดือน โดยรวมถึงค่าใช้จ่ายพื้นฐาน ควรวางแผนล่วงหน้า 3-6 เดือน และต้องแยกรายจ่ายคงที่ และรายจ่ายผันแปรด้วย
2.วางแผนการออมเงิน กำหนดเป้าหมายออมเงินและกำหนดจำนวนเงินที่คุณต้องออมในแต่ละเดือน รวมถึง ใช้บัญชีออมเงินหรือการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น กองทุนรวม ควรออมให้ได้อย่างต่ำ 10% ของเงินเดือนต่อเดือน และสม่ำเสมอ
3.การลงทุน หากมีเงินเก็บเหลือหลังจากค่าใช้จ่ายและออม เริ่มลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมเพื่อให้เงินเติบโต ศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนและปรึกษากับที่ปรึกษาการเงินหากคุณไม่มีความรู้เกี่ยวกับการลงทุน ที่สำคัญอย่าลงทุนในสิ่งที่เราไม่รู้
4.บัตรเครดิต พยายามอย่ามีบัตรเครดิตหลายใบ หากต้องผ่อนบัตรแล้วควรวางแผนในการชำระให้ดีและตรงต่อเวลา
เรื่องสินเชื่อ เราควรวางแผนอย่างไรให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด
หลาย ๆ คนต้องการมีการเงินที่อิสระมากขึ้น การทำสินเชื่อก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดี ถ้าเราใช้ได้อย่างถูกทาง โดยเฉพาะเหล่า First Jobber ที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัวถือว่าต้องดูอย่างรอบคอบ และประมาณตัวองได้เมื่อใช้บัตรเครดิต
การวางแผนภาษี และการสร้างตัวอย่างไรให้มั่นคงและมั่งคั่ง
คนที่เข้าสู่ระบบแรงงาน ทั้งแบบพนักงานประจำและฟรีแลนซ์ จะมีทั้งคนที่ต้องยื่นภาษีและไม่ต้องยื่น สิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดว่าใครต้องทำบ้างคือตัวเลขรายได้ต่อปี คนที่ต้องยื่นภาษีปัจจุบันจะมีอยู่สองกลุ่มใหญ่ดังนี้
- มีรายได้ (จากเงินเดือนอย่างเดียว) เกิน 120,000 บาทต่อปี
- มีรายได้ประเภทอื่นนอกจากเงินเดือน เกิน 60,000 บาทต่อปี
ข้อมูลที่ใช้ยื่นเรื่องเพื่อลดหย่อนภาษี
- ประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 5,100 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ 30,000 บาทต่อคน โดยพ่อแม่ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท (เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท)
- เบี้ยประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปี
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital