ฤดู PM2.5 หวนกลับมา ! ฝุ่นละอองตัวร้าย ภัยอันตรายต่อสุขภาพเด็ก
logo ข่าวอัพเดท

ฤดู PM2.5 หวนกลับมา ! ฝุ่นละอองตัวร้าย ภัยอันตรายต่อสุขภาพเด็ก

ข่าวอัพเดท : ฤดูหนาวได้กลับมาอีกครั้ง แต่สิ่งที่ตามมาด้วยนั้นก็คือ ฤดูของฝุ่น PM2.5 ที่หลายคนอาจจะอยู่กับมันจนคุ้นชิน แต่จริง ๆ แล้วฝุ่นละอองขนาด pm2.5,ฝุ่นละออง,ฝุ่นpm2.5,เด็ก,แม่และเด็ก,สุขภาพเด็ก,กรมการแพทย์,สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

16,242 ครั้ง
|
01 พ.ย. 2566
ฤดูหนาวได้กลับมาอีกครั้ง แต่สิ่งที่ตามมาด้วยนั้นก็คือ ฤดูของฝุ่น PM2.5 ที่หลายคนอาจจะอยู่กับมันจนคุ้นชิน แต่จริง ๆ แล้วฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้ มีความอันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กเล็ก
 
ข่าวอัพเดท :  ฤดู PM2.5 หวนกลับมา ! ฝุ่นละอองตัว
 
ทางด้านกรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ชี้ระดับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ
 
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ฝุ่นละออง PM 2.5 คือฝุ่นขนาดเล็ก มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 25 เท่า ทำให้สูดเข้าไปในร่างกายได้โดยตรง ความรุนแรงของ ฝุ่น PM 2.5 นี้มีอันตรายต่อเด็กเพราะสามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย และทำลายระบบต่างๆ ได้ 
 
ซึ่งปกติแล้วเด็กจะมีอัตราการหายใจถี่กว่าผู้ใหญ่ จะสูดอากาศที่มีมลพิษเข้าไปมากกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งเด็กอายุน้อยเท่าไร อัตราการหายใจเข้าต่อนาทีก็ยิ่งถี่มากขึ้นเท่านั้น เด็กจึงมีความเปราะบางต่อผลกระทบต่าง ๆ มากกว่าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 
 
เมื่อฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ผ่านเข้าไปในสมองของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กที่อยู่ในครรภ์มารดา ฝุ่นละอองเหล่านี้จะทำลายเซลล์สมอง ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งสามารถส่งผลต่อการเรียนรู้ ความเป็นอยู่ และความสามารถในการประกอบอาชีพในระยะยาวด้วย
 
นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า เพื่อลดความเสี่ยงของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อเด็กผู้ปกครองควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กๆไปทำกิจกรรมนอกบ้าน 
 
กรณีที่มีความจำเป็นต้องออกไปนอกบ้าน 
ควรสวมหน้ากากอนามัยที่มีไซส์ขนาดเล็กที่เหมาะกับเด็กขนาดพอดีหน้า ไม่มีช่องให้ฝุ่นรอดเข้าไปได้ 
ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 6 – 8 แก้วต่อวัน
รับประทานผักผลไม้ อาหารที่มีประโยชน์ 
กรณีเด็กที่มีโรคประจำตัวควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และสังเกตอาการของเด็ก หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจรักษาทันที
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง