logo ถกไม่เถียง

หนุ่มน้ำตาตก หอบเงินเก็บก้อนสุดท้าย ซื้อ “แฟรนไชส์หม่าล่า” จ่ายเงินครบ แต่ได้แค่ป้ายร้าน !

ถกไม่เถียง : หนุ่มน้ำตาซึม ตกงาน นำเงินเก็บตัวเองไปลงทุนซื้อ "แฟรนไชส์หม่าล่า" จ่ายเงินไปกว่า 1.5 หมื่น กลับถูกเข้าของแฟรนไชส์สุดแสบ ให้แค่เคาน์เ ถกไม่เถียง,ทิน โชคกมลกิจ,ch7hd,ถกไม่เถียง,ทิน โชคกมลกิจ,TERO Digital,ยำโดนโกง,โดนโกง,แฟรนไชส์หม่าล่า,หม่าล่า,ลงทุนซื้อแฟรนไชส์,แฟรนไชส์โกง,หนุ่มน้ำตาตก,น้ำตาตก,เงินเก็บก้อนสุดท้าย,เงินเก็บ,เงินก้อนสุดท้าย,เงินลงทุนก้อนสุดท้าย,ลงทุนก้อนสุดท้าย,ทุนก้อนสุดท้าย,เงินลงทุน,ลงทุน,เปิดร้าน,ร้านหม่าล่า,เปิดร้านหม่าล่า,แฟรนไชส์,สงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์,ทนายสงกาญ์,สงกาญ์,ธีรภัทร แร่อร่าม,ซื้อแฟรนไชส์

6,571 ครั้ง
|
27 ต.ค. 2566
หนุ่มน้ำตาซึม ตกงาน นำเงินเก็บตัวเองไปลงทุนซื้อ "แฟรนไชส์หม่าล่า" จ่ายเงินไปกว่า 1.5 หมื่น กลับถูกเข้าของแฟรนไชส์สุดแสบ ให้แค่เคาน์เตอร์ร้าน ที่เหลือชิ่ง ติดต่อไม่ได้ บ่ายเบี่ยงไปเรื่อย สุดท้าย หนุ่มต้องเปลี่ยนเป็นร้าน "ยำโดนโกง" !
 
ถกไม่เถียง : หนุ่มน้ำตาตก หอบเงินเก็บก้อนสุดท้าย
 
             วันที่ 27 ต.ค. 2566 ธีรภัทร แร่อร่าม (ไวไว) ผู้เสียหาย ออกมาเล่าเรื่องราวผ่านรายการ "ถกไม่เถียง" ทางช่อง 7HD กด 35 ดำเนินรายการโดยทิน โชคกมลกิจ เล่าว่า หลังจากที่ตนตกงาน จึงมีความคิดว่าอยากนำเงินเก็บที่มีอยู่ประมาณ 4 หมื่นบาท นำไปลงทุนขายของ เลยลองไปโพสต์หาแฟรนไชส์ที่น่าลงทุนในเฟซบุ๊ค ก็มีชายคนหนึ่ง อ้างเป็นเจ้าของแฟรนไชส์หม่าล่าคอมเมนต์แนะนำแฟรนไชส์ ตนเห็นว่ามีหน้าร้านสาขาใกล้บ้านเลยไปลองชิม แต่ตอนนั้นก็ยังไม่ได้ตัดสินใจจะลงทุน แต่เจ้าของแฟรนไชส์ติดต่อเข้ามาอีกครั้ง เข้ามาคุยเรื่องที่ตั้งร้าน พร้อมทั้งเสนอโปรโมชั่นลดราคา ทำให้ตนเกิดสนใจขึ้น 
 
             โดยที่ตนตั้งงบไว้ตอนแรก 1.5 หมื่นบาท ทางเจ้าของแฟรนไชส์จึงแนะนำชุดโปรโมชั่น 9.9 พันบาท และลดให้เหลือ 8.9 พันบาท วันที่ 28 ก.ย. 2566 จึงได้ทำสัญญา และได้ชำระเงิน ค่าเฟรนไชส์เลย พร้อมกับตนไปดูที่ทางทำเลในตลาดที่จะไปขายด้วย ซึ่งได้ตัดสินใจเปิดร้านขายวันที่ 2 ต.ค. 2566 ต่อมาวันที่ 29 ก.ย. 2566 ก็ได้คุยกับเจ้าของเรื่องการส่งของสดมาให้ ก็ได้โอนเงินจ่ายเขาไปอีก 2,030 บาท โดยที่เขาอ้างว่าส่งของทันวันที่ 2 ต.ค. 2566 ทั้งของสด อุปกรณ์ทุกอย่างพร้อมขายแน่นอน 
 
             ทว่าพอถึงวันที่ 2 ต.ค. เจ้าของแฟรนไชส์ก็มาขอเลื่อนส่งของ อ้างว่า เคาน์เตอร์ที่เขาสั่งทำโรงงานทำให้ไม่เสร็จ โดยเลื่อนเป็นวันที่ 4 ต.ค.  และเมื่อถึงวันที่ 4 ต.ค. เจ้าของแฟรนไชส์แจ้งว่าจะได้แค่เคาน์เตอร์ตั้งร้าน และป้ายไวนิล 1 ใบ ส่วนของสดยังไม่มา ตนเลยให้โอกาสเขาว่า วันที่ 5 ต.ค. ให้เอาของมาให้ตนให้พร้อมขายเลย สุดท้ายวันจริงเขาก็มาติดตั้งเคาน์เตอร์ร้านให้ที่ตลาด แต่ของอย่างอื่นอ้างว่าลูกน้องกำลังตามมาส่ง และเขาก็เสนอให้สั่งของสดเพิ่ม และเสนอถังแก๊สให้อีก ด้วยความที่ตนคิดว่าของสดชุดแรกกำลังมา เลยตกลงสั่งของเขาไปอีกต้องจ่ายเงินเพิ่มไปอีก 4 พันกว่าบาท สุดท้ายก็ไม่มีอะไรมา วันนั้นเขาก็อ้างว่าจะไปตามของจากลูกน้องให้ และเขาก็หายไปเลย ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ได้เจอตัวเขา เมื่อติดต่อเขาไปเขาก็อ้างบ่ายเบี่ยงไปเรื่อย อ้างรถชนบ้าง เปลี่ยนโทรศัพท์บ้าง จนติดต่อไม่ได้ในที่สุด
 
             นอกจากนี้ วันที่ 10 ต.ค. จึงตัดสินใจไปแจ้งความ โดยกำชับว่าอยากแจ้งความดำเนินคดี ไม่ใช่การแจ้งลงบันทึกประจำวัน แต่ตำรวจกลับบอกว่า ยังไม่เข้าข่ายการโกง เนื่องจากยังมีการส่งของอยู่ หลังจากนั้นตนได้ไปตามเจ้าของแฟรนไชส์ถึงบ้าน แต่ไม่เจอตัว เจอแต่แม่และพี่สาวของเขา โดยแม่และพี่สาว เขาบอกว่าจะรับผิดชอบค่าเสียหายให้ ส่วนของก็จะได้ แต่ไม่กำหนดวันที่ชัดเจนมาให้ ตนจึงได้ขอคืนเป็นเงินสดเลย แต่เขากลับจะคืนเป็นหม่าล่ามาให้ตนไปนั่งขายฟรีตามจำนวนค่าเสียหาย แต่ตนไม่อยากได้แล้ว อยากได้เงินสดคืน อย่างไรก็ตาม ตนเจอเหตุการณ์แบบนี้ มันเจ็บปวดมาก แต่จนแล้วจนรอดตนก็ต้องนำเคาน์เตอร์ร้านที่ได้จากเจ้าของแฟรนไชส์มาเปิดร้านยำขาย โดยเขียนป้ายแปะใหม่ว่า "ยำโดนโกง" 
 
ถกไม่เถียง : หนุ่มน้ำตาตก หอบเงินเก็บก้อนสุดท้าย
 
             ด้าน อาราฟัด พี่ของผู้เสียหาย เผยว่า ตนได้คุยกับครอบครัวเจ้าของแฟรนไชส์ ซึ่งเขาได้หลุดพูดมาว่าของต่าง ๆ ที่ยังไม่มาส่ง เขาจะตรวจสอบให้ว่ามันถึงไหนแล้ว โดยเขาพูดว่าจะเข็กในแอปฯช้อปปิ้งออนไลน์แห่งหนึ่ง ซึ่งการซื้อของในแอปฯออนไลน์มันก็ทำให้การส่งของมันคลาดเคลื่อน ทำไมเขาถึงไม่จัดการซื้อผ่านห้างสรรพสินค้า 
 
             ขณะที่ความเสียหายนั้น แบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนแรกเป็นค่าเสียหายค่าเช่าที่ ค่าตั้งร้านแต่ไม่ได้ขาย เพราะไม่ได้ของตามที่ตกลงกันไว้ ส่วนที่ 2 คือความเสียหายที่ลงทุนเพิ่มในการขายยำ เพราะ ถ้าไม่ขายอะไรเลยจะโดนทางตลาดเขายึดแผงไปฟรี ๆ ส่วนที่ 3 คือ ค่าติดตามตัวเจ้าของแฟรนไชส์ และส่วนที่ 4 คือค่าเสียโอกาสที่น้องควรจะได้ รวมแล้วเสียหายกว่า 8.6 หมื่น 
 
ถกไม่เถียง : หนุ่มน้ำตาตก หอบเงินเก็บก้อนสุดท้าย
 
             ฟาก สงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม กล่าวว่า พฤติการณ์ของเจ้าของแฟรนไชส์ในเคสนี้ เข้าข่ายมีความผิดเกี่ยวกับเรื่อง พ.ร.บ.คอมฯ เนื่องจากมีการส่งข้อมูลเท็จ บิดเบือนผ่านทางเฟซบุ๊ก และแอปฯไลน์ ทั้งนี้ ตนเชื่อว่าฝั่งเจ้าของแฟรนไชส์อาจจะรู้กฎหมายก็ได้ ซึ่งคดีฉ้อโกงถ้าพ้นอายุความ 3 เดือน มันจะไม่เป็นความผิดอาญา เขาถึงได้ประวิงเวลาเอาไว้ ตนแนะนำว่าให้เร่งรีบดำเนินคดีอาญา  
 
             กราฟ ผู้เสียหาย เผยว่า ในกรณีของตนเกิดขึ้นช่วงเดือน มิ.ย. 2566 ตนได้โพสต์หาตู้เคาน์เตอร์ขายของมือ 2 ด้วยงบไม่เกิน 2 หมื่น แล้วเจ้าของแฟรนไชส์คนดังกล่าวได้ติดต่อเข้ามาว่ามีของ และอ้างตัวว่าเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ ตนเลยเชื่อถือ จากนั้นเขาก็มาหาตนที่ทำงานเพื่อทำข้อตกลงกัน ก็สรุปตกลงราคากันที่ 2 หมื่น และเขาให้ตนโอนเงินมัดจำ 1.2 หมื่น และโอนเพิ่มไปอีก 1 พันบาทเป็นค่าฟิวส์ ซึ่งนัดรับของวันที่ 19 ก.ค. 2566 แต่พอถึงวัน เขาก็ขอเลื่อนออกไปอีก 2-3 วัน และหลังจากนั้นก็บอกตนว่าจะโอนเงินคืน ส่งของไม่ทัน อ้างว่าหลังคาเคาน์เตอร์มันถล่ม ทว่าจากวันนั้นจนถึงวันนี้เขาโอนเงินคืนตนมาแค่ 5 พันบาท ขณะเดียวกันตนไปดูที่เฟซบุ๊กของเขาก็พบว่า รูปที่เขาส่งมาให้ตนดูว่าเป็นเคาน์เตอร์ของตน เขาเคยใช้มาก่อนแล้ว 
 
ถกไม่เถียง : หนุ่มน้ำตาตก หอบเงินเก็บก้อนสุดท้าย
 
             ทั้งนี้ทางทีมงานรายการถกไม่เถียงได้ติดต่อไปยัง สน.ราษฎร์บูรณะ เพื่อสอบถามความคืบหน้าคดี ซึ่งเจ้าหน้าที่ร้อยเวรได้ให้ข้อมูลว่า ทางตำรวจไม่ได้นิ่งนอนใจ ตอนนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐานทั้งหมด ยืนยันว่าทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย ขณะเดียวกัน ทีมงานรายการ ก็ได้ติดต่อไปยังเจ้าของแฟรนไชส์รายดังกล่าว โดยเจ้าของแฟรนไชส์ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ตัวเขาเองอยากมาออกรายการมากเพื่อชี้แจงด้วยตัวเอง แต่ทางทนายเขาไม่ให้มาออก 
 
ติดตาม  รายการข่าวเย็นประเด็นร้อน ช่วง "ถกไม่เถียง"  ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 

ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/-yKuB25i5O0?si=ChuT9sRK3Dcc-BVI