ระวังโรคฉี่หนู ! ผู้ครองควรรู้โรคที่มาคู่กับหน้าฝน
logo ข่าวอัพเดท

ระวังโรคฉี่หนู ! ผู้ครองควรรู้โรคที่มาคู่กับหน้าฝน

ข่าวอัพเดท : เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนย่อมมีเชื้อโรคหรือภัยอัตรายมากมายที่ผู้ปกครองควรระวังมิเช่นนั้นลูกน้อย ที่บ้านอาจเกิดอาการเจ็บป่วยได้ โดยเฉพาะโ โรคฉี่หนู,ฉี่หนูในเด็ก,แม่และเด็ก,ฤดูฝน,น้ำท่วม

1,016 ครั้ง
|
12 ต.ค. 2566
เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนย่อมมีเชื้อโรคหรือภัยอัตรายมากมายที่ผู้ปกครองควรระวังมิเช่นนั้นลูกน้อย ที่บ้านอาจเกิดอาการเจ็บป่วยได้ โดยเฉพาะโรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วมขัง หากน้ำระบายไม่ทันจะมีการท่วมขังเป็นเวลานานยิ่งเป็นแหล่งสะสมและยิ่งทำให้เชื้อโรคเติบโตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะโรคฉี่หนู (Leptospirosis) ฉะนั้นผู้ปกครองควรมีความรู้ ความเข้าใจและรู้จักวิธีการป้องกันที่ถูกต้องเพื่อป้องกันพฤติกรรมของลูกน้อยที่อาจเกิดการติดเชื้อได้
 
โรคฉี่หนู เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่มักพบบ่อยที่สุด มีสาเหตุเกิดมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น สภาพแวดล้อมด้านสุขอนามัย การประกอบอาชีพทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสกับสัตว์หรือน้ำ การเดินทาง ผจญภัย และกีฬา การเดินลุยน้ำท่วม หรือการสัมผัสดิน 
ส่งผลให้เด็กๆ มักได้รับเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา ซึ่งเป็นตัวการของโรคฉี่หนูที่นำเข้าไปสู่ร่างกายได้ ปัจจุบันโรคฉี่หนู เป็นโรคที่มนุษย์ยังไม่มีภูมิคุ้มกันตั้งแต่กำเนิดที่ช่วยต่อต้านการติดเชื้อ และยังไม่มีวัคซีนที่สามารถฉีดเพื่อป้องกันโรคนี้ในประเทศไทย
 
สาเหตุของโรคฉี่หนู แม้จะมีชื่อว่าโรคฉี่หนู แต่ความเป็นจริงแล้วสามารถเกิดขึ้นได้กับสัตว์ป่าและสัตว์ฟันแทะหลายชนิดที่เป็นพาหะและแพร่เชื้อไปยังคนได้ สาเหตุของ โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา (Leptospira) ในผู้ติดเชื้อบางรายอาจจะไม่มีการแสดงอาการเลย แต่ในผู้ติดเชื้อรายที่มีอาการรุนแรงหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อไต ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (การอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง) ตับวาย หายใจลำบาก และถึงแก่ชีวิตในที่สุด
 
อาการของผู้ติดเชื้อฉี่หนูอย่างรุนแรงเรียกว่า ‘Weil’s disease’  ในแต่ละปีจะผู้ติดเชื้อนับหมื่นคน ส่วนใหญ่สามารถฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์หลังจากการรักษา อย่างไรก็ตามหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ส่งผลให้มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้จากความเสียหายของอวัยวะที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นผู้ป่วยโรคฉี่หนูควรได้เข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด
 
โรคฉี่หนู เกิดจากแบคทีเรียเลปโตสไปรา (Leptospira) สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้จากทางบาดแผล หรือเยื่อเมือก เช่น ตาหรือปาก เมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดและได้แพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่มีการสัมผัสกับ สัตว์ที่ติดเชื้อ ปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ และดินหรือน้ำปนเปื้อนเชื้อ สัตว์ที่อาจจะเป็นโรคฉี่หนูเมื่ออีการติดเชื้อจะแสดงอาการผิดปกติ พวกมันอาจปล่อยแบคทีเรียซึ่งส่วนใหญ่ก่อตัวขึ้นที่ไตและอยู่ในปัสสาวะสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื้อสามารถอยู่รอดได้หลายสัปดาห์หรืออาจจะนานเป็นเดือน เมื่อเด็กไปสัมผัสอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ มักพบได้ในปัสสาวะของสัตว์บางชนิดต่อไปนี้
 
วัว
หมู
ม้า
แรคคูน
เม่น
สุนัข
หนู
กระรอก
 
สำหรับบ้านที่มีการเลี้ยงสุนัขหากต้องการป้องกันโรคฉี่หนูจากสุนัข สามารถพาสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฉี่หนูได้ตั้งแต่ตอนยังเป็นลูกสุนัข ซึ่งจะให้การป้องกันอย่างน้อย 12 เดือนและควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทุกปี เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ และคนในครอบครัว
 
อาการของโรคเลปโตสไปโรซิส ในช่วงแรกจะแสดงอาการคลุมเครือเหมือนกับโรคติดเชื้อทั่วไปที่เกิดขึ้นในเด็ก เช่น ไข้หวัดใหญ่  อาจทำให้ผู้ปกครองเกิดความชะล่าใจได้ หากเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ ต้องมีการตรวจเลือดจึงจะสามารถวินิจฉัยการเจ็บป่วยได้ ซึ่งในการวินิจฉัยของเด็กอาจทำได้ยากเนื่องจากมีอาการที่หลากหลาย
ในบางครั้งการติดเชื้อจะแสดงจะมีอาการคล้ายกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งเป็นผื่นแดงบนผิวหนัง อาการเหล่านี้มักเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่สำคัญเสมอ และควรนำเด็กส่งโรงพยาบาลทันที อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หากติดเชื้อฉี่หนู มีดังนี้
 
มีไข้สูง
ปวดศีรษะ
หนาวสั่น
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
อาเจียน
ดีซ่าน (ผิวและตาเหลือง)
ตาแดง
อาการปวดท้อง
ท้องเสีย
ผื่นขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง