เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าหรู ออกมาร้องสื่อ หลังไม่ได้รับความเป็นธรรม จากเหตุการณ์ ถูกเซลขายรถให้ในราคาเต็ม เร่งคะยั้นคะยอให้รีบมารับรถ สุดท้ายถึงบางอ้อ รับรถมาไม่ทันไร ประกาศลดราคาทันควัน 2.6 แสน !
วันที่ 9 ต.ค. 2566 ธนกฤต ดุษฎีพลภัทร์ (ปกป้อง) เจ้าของรถ เล่าว่า เมือวันที่ 11 ก.ย. 2566 ตนได้จองรถที่ศูนย์ฯรถยนต์ไฟฟ้า ในราคา 1,959,000 บาท และตนได้เลือกวันรับรถวันที่ 17 ต.ค. 2566 ต่อมาวันที่ 27 ก.ย. 2566 เซลได้โทรมาแจ้งว่ามีรถรุ่นเดียวกันหลุดจอง สามารถรับรถได้วันที่ 29 ก.ย. 2566 แต่ตนยังยืนยันจะรับรถวันที่ 17 ต.ค. เหมือนเดิม ซึ่งพนักงานเร่งให้ตนคะยั้นคะยอเอาคันนี้ให้ได้ ใช้เวลา 50 นาที โทรหาตนถึง 7 สาย จนตัดสินเอาตกลงเอาในที่สุด
หลังจากได้รับรถมาไม่กี่วัน ตนก็ได้ยินข่าวสุดช็อกในวันที่ 3 ต.ค. 2566 บริษัทเจ้าของแบรนด์รถประลดราคารถ 2.6 แสน ทำให้ตนคลายความงสัยว่าทำไมพนักงานถึงได้เร่งให้รับรถ พอตนรู้เรื่องก็ได้ติดต่อไปเซล เซลตอบกลับว่าเขาเองก็รู้เรื่องพร้อมกับตน ทว่าตนไม่เชื่อ เพราะ การที่เขาเร่งให้รับรถมันน่าสงสัย และคิดว่าบริษัทแบรนด์ใหญ่ขนาดนี้เขาน่าจะมีการรู้มาก่อนว่าจะลดราคา ทั้งนี้ตนอยากให้เขาออกมารับผิดชอบ ไม่ต้องเป็นเงินส่วนต่าง 2.6 แสนก็ได้ เป็นแพ็กเกจเสริม อาทิ การชาร์จไฟฟรีจากตู้ชาร์จของเขาฟรีตามจำนวนเงินส่วนต่าง หรือโปรแกรมเสริมต่าง ๆ ของรถในราคาหลักแสนก็ได้ โดยตอนนี้มีผู้เสียหายกว่า 100 ราย
ด้าน ณัชชา ศุภอุดมฤกษ์ (ตุ๊กติ๊ก) เจ้าของรถ เล่าว่า รถของตนจองในราคา 2,259,000 บาท เมื่อ 21 ส.ค. 2566 ซึ่งเป็นการจองเพื่อให้ทันวันเกิด 29 พ.ย. แต่ปรากฎว่าภายใน 2 วัน มีอีเมลแจ้งว่าได้รถแล้ว 4 ก.ย. 2566 แฟนของตนจึงได้นำเงินไปวางดาวน์ 1.2 ล้านบาท และแจ้งว่ารับรถได้วันที่ 21 ก.ย. 2566 ต่อมาวันที่ 8 ก.ย. 2566 แฟนตนได้โทรไปขอเลื่อนวันรับรถเป็นช่วงเดือน ต.ค. แต่เซลไม่ยอม ยืนยันว่าต้องรับรถภายในเดือน ก.ย. สุดท้ายคุยตกลงวันรับรถกันได้วันที่ 2 ต.ค. 2566
ทว่า ทางเซล เขามีการให้ตนเซ็นสัญญารับรถก่อนวันรับรถจริง โดยระบุนสัญญาประมาณว่า วันรับรถจริงคือวันที่ 25 ก.ย. 2566 แต่จนถึงวันที่ 2 ต.ค. 2566 คือฝากรถไว้กับศูนย์ และถ้าไม่มารับรถในวันที่ 2 ต.ค. 2566 หากเกิดความเสียหายจะไม่รับผิดชอบ แล้วเมื่อไปรับรถมา 1 วัน วันที่ 3 ต.ค. 2566 ก็พบข่าวรถแบรนด์ที่ตนซื้อมานั้นประกาศลดราคา 2.6 แสนบาท
ฟาก รณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม ให้ความเห็นว่า เคสนี้ หากพิสูจน์ได้ว่าเซลรู้เรื่องการลดราคาของรถมาก่อนขายให้ผู้เสียหาย ก็จะเข้าข่ายมีความผิดที่ปกปิดข้อเท็จกับผู้บริโภค จะกลายเป็นคดีฉ้อโกงทันที ซึ่งตนก็สงสัยว่า พนักงานในองค์กรขนาดใหญ่จะไม่รู้ได้อย่างไรว่าจะมีการประกาศลดราคา ซึ่งถ้าพิสูจน์ได้ ยังมีโอกาสที่จะนำรถคืนศูนย์ไปได้อยู่
ด้าน ประทีป เจริญกัลป์ รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า ตอนนี้ทาง สคบ.ได้รับเรื่องร้องเรียนเคสลักษณะนี้ประมาณ 35 ราย ต้องดูตามข้อเท็จจริง เพราะบางรายก็เพิ่งซื้อรถมา ขณะเดียวกันตอนนี้ สคบ.กำลังเร่งรัดจัดการเนื่องจากมีผู้ร้องเรียนเข้ามาหลายราย และเป็นคดีที่ประชาชนสนใจ ซึ่งวันที่ 10 ต.ค. 2566 ทางผู้บริหารของฝ่ายผู้ประกอบการจะมาพบกับ สคบ.
ติดตาม รายการข่าวเย็นประเด็นร้อน ช่วง "ถกไม่เถียง" ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ” ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35