logo เช้านี้ที่หมอชิต

ช็อก ! ช่องโหว่ 3 ปี “ปืนแบลงก์กัน” คดีพุ่ง เหตุหาซื้อ-ดัดแปลงง่าย

เช้านี้ที่หมอชิต : เช้านี้ที่หมอชิต - อาวุธปืนและสิ่งเทียมอาวุธปืนในประเทศไทย อันตรายและเข้าถึงง่ายขนาดไหน มาดูรายงานนี้กัน ข่าว,ช่อง7สี,ช่อง7HD,กด35,ข่าวช่อง7,CH7HD,รายการ,ดูย้อนหลัง,คลิปย้อนหลัง,CH7HDNEWS,ข่าวการเมือง,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวบันเทิง,ข่าวโซเชียล,ข่าวออนไลน์,ข่าวสังคม,ข่าวอาชญากรรม,ข่าวกีฬา,ข่าวภูมิภาค,ข่าวด่วน,ข่าวเด็ด,ข่าวร้อน,ข่าวสด,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ch7 news,เช้านี้ที่หมอชิต,ข่าวเช้า,ข่าวเช้าช่อง 7,เช้านี้ที่หมอชิตวันนี้,เช้านี้ที่หมอชิต ล่าสุด,เช้านี้ที่หมอชิต ช่อง7,TERO Digital

397 ครั้ง
|
05 ต.ค. 2566
เช้านี้ที่หมอชิต - อาวุธปืนและสิ่งเทียมอาวุธปืนในประเทศไทย อันตรายและเข้าถึงง่ายขนาดไหน มาดูรายงานนี้กัน
 
ปืนที่เด็กชายวัย 14 ปี ใช้ก่อเหตุยิงในสยามพารากอน ยืนยันชัดเจนแล้วว่า เป็นปืนแบลงค์กันที่นำมาเปลี่ยนลำกล้องปืน ผู้ก่อเหตุยอมรับว่า สั่งซื้อปืนแบลงค์กันแบบที่เปลี่ยนลำกล้องสำเร็จรูปพร้อมยิง มาจากอินเทอร์เน็ต
 
พ.ต.อ.ธนงศักดิ์ บุญมาก ผู้กำกับการกลุ่มงานตรวจอาวุธปืนและเครื่องกระสุน กองพิสูจน์หลักฐานกลาง อธิบายว่า แนวทางของตำรวจพิสูจน์หลักฐาน ถือว่าแบลงค์กัน เป็นอาวุธปืน แม้ว่า กรมการปกครอง จะตีว่าแบลงค์กัน เป็นสิ่งเทียมอาวุธปืน โดยมักใช้ในการแสดงยิงให้เกิดเสียง หรือยิงปล่อยตัวนักกรีฑา กระสุนที่ใช้กับแบลงค์กันจะไม่มีหัวกระสุน แต่ที่คนร้ายนำมาใช้ก่อเหตุในปัจจุบัน เพราะมีการดัดแปลง เปลี่ยนลำกล้องปืนให้มีการทนต่อแรงระเบิด ถ้าทำแล้วก็เหมือนปืนจริงทุกอย่าง ไปฟังจากปากผู้เชี่ยวชาญ
 
ขณะที่ พล.ต.ต.วาที อัศวุตมางกุร ผู้บังคับการตำรวจพิสูจน์หลักฐานกลาง บอกว่า จากการเก็บสถิติของตำรวจพิสูจน์หลักฐานกลาง พบว่าเฉพาะปี 2565 มีคดีปืนแบลงค์กันประมาณ 1,500 คดี จำนวนปืนกว่า 3,500 กระบอก และถ้านับย้อนไปถึงปี 2563 จะพบว่าสถิติคดีปืนแบลงค์กัน เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุกปี มีทั้งที่ยึดแบลงค์กันได้ และปืนแบลงค์กันที่ใช้ก่อเหตุ โดยในส่วนของปืนแบลงค์กัน ถ้ายึดเอาตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน 2490 นับว่าเป็นอาวุธปืน แต่ฝ่ายปกครองมองว่า เป็นสิ่งเทียมอาวุธปืน คือไม่ใช่ปืนจริง เคยมีการคุยกันเรื่องนี้แต่ยังไม่ตกผลึก ซึ่งจะส่งผลต่อกรณีเป็นคดีในศาลด้วย
 
จากข้อมูลจากองค์กรที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาวุธปืนขนาดเล็ก หรือ SAS ของสวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่า ประเทศที่พลเรือนครอบครองปืนสูงสุด อันดับ 1 คือ สหรัฐอเมริกา ประมาณ 393.3 ล้านกระบอก อันดับ 2 อินเดีย ประมาณ 71.1 ล้านกระบอก อันดับ 3 จีน ประมาณ 49.7 ล้านกระบอก ขณะที่ไทยครอบครองอาวุธปืน เป็นอันดับ 13 ของโลก (ข้อมูลปี 2017) มีอาวุธปืนที่อยู่ในการครอบครองของพลเรือนถึง 10,342,000 กระบอก นับเป็นประเทศที่ครอบครองปืนสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือคิดเป็น 15 กระบอก ต่อประชากร 100 คน โดย 6.2 ล้านกระบอก มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และปืนไม่มีทะเบียนราว 6 ล้านกระบอก
 
ขณะที่ เว็บไซต์ World Population Review ที่เผยแพร่ผลสำรวจประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืนมากที่สุดในโลก ประจำปี 2022 พบว่า ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 15 มีผู้เสียชีวิต 2,804 คน โดยคิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 3.91 คน หรือ 4 คน ต่อประชากร 100,000 คน
 
พบกับรายการ “เช้านี้ที่หมอชิต” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 06.00-7.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/CvcFxwnv_DM?si=tgyQ2-4lo07rC99I