“ภาวะเเท้งคุมคาม” ภาวะอันตรายนำพามาสู่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ การเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะแท้งคุกคาม ไม่เพียงเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงของการตั้งครรภ์ ฉะนั้นคุณแม่จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะนี้ไว้ตั้งแต่เริ่มต้น
ทำความรู้จักภาวะแท้งคุกคาม
ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion) หมายถึง การมีเลือดออกในช่องคลอด เป็นภาวะผิดปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มักเกิดขึ้นภายใน 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ โดยจะมีอาการเลือดออกทางช่องคลอดขณะที่ปากมดลูกยังปิด อาจออกมาเป็นเลือดสดหรือมูกเลือด เป็นภาวะร้ายแรงถึงขั้นแท้งบุตรได้หากไม่รีบไปพบแพทย์
สาเหตุการเกิดเลือดออกทางช่องคลอด
- การตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรกสาเหตุเกิดจากทารกมีความผิดปกติทางโครโมโซม เช่น พิการแต่กำเนิด, โครโมโซมผิดปกติ
- มดลูกและโพรงมดลูกมีความผิดปกติ
- เกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศที่ส่งเสริมการตั้งครรภ์ ส่งผลให้การฝังตัวของตัวอ่อนหรือถุงตั้งครรภ์ไม่สมบูรณ์
นอกจากนี้มีสาเหตุอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับภาวะแท้งคุกคามแต่ทำให้เลือดออกทางช่องคลอดได้ อาจเกิดจากการติดเชื้อในช่องคลอด ติ่งเนื้อที่ปากมดลูก ต้องอาศัยการตรวจภายในเพื่อแยกสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะแท้งคุกคามและทำการอัลตราซาวนด์
คุณแม่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วง1-3 เดือนแรก
ภาวะแท้งคุกคามจะมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า 80% ในช่วงอายุครรภ์ 1-12 สัปดาห์มากที่สุด ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะคุณแม่ไม่ทราบว่าตนกำลังตั้งครรภ์ ส่งผลให้อาจจะไม่ทันระวังตัวหรือดูแลตัวเองเป็นพิเศษ ทำให้มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อภาวะแท้งคุกคามได้ ไม่ว่าจะเป็น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ในบางรายอาจจะเกิดภาวะแท้งคุกคามเนื่องจากความผิดปกติของโครโมโซม ส่งผลให้ไม่สามารถพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนที่เป็นปกติ และเกิดการแท้งในที่สุด
ความเสี่ยงสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุเยอะ
การตั้งครรภ์สำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป พบว่ามีความเสี่ยงสูงที่โครโมโซมจะเกิดความผิดปกติ ประกอบกับเคยมีประวัติแท้งมาก่อนตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแท้งคุกคามมากขึ้น จำเป็นต้องเข้าพบแพทย์ทันที หากทราบว่าคุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปกำลังตั้งครรภ์ ซึ่งคุณหมออาจจะมีการฉีดยากันแท้งในช่วงเริ่มต้น แต่เป็นเพียงการป้องกันแต่ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะเสี่ยงต่อการเกิดภาะแท้งคุกคามได้
อาการภาวะแท้งคุกคาม
- มีเลือดสดหรือมูกเลือดออกมาทางบริเวณช่องคลอด อาจปริมาณมากหรือน้อยต่างกัน โดยจะมีสีน้ำตาลหรือเลือดสีแดงก็ได้
- มีเลือดออกกะปริบกะปรอยหลายวันถึงหลายสัปดาห์
- มีอาการปวดท้องน้อยคล้ายอาการปวดประจำเดือน
- มีอาการปวดร้าวไปถึงบริเวณหลัง
วิธีการดูแลเมื่อคุณแม่มีเลือดออกขณะตั้งครรภ์
- เข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
- ให้นอนพักและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
- งดการเคลื่อนไหวร่างกายให้มากที่สุด เช่น การทำงานบ้าน การออกกำลังกาย และงดยกของหนัก
- งดการเดินทางไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ
+ อ่านเพิ่มเติม