อาการเจ็บป่วยของลูกน้อยมักเกิดขึ้นได้เสมอสำหรับลูกน้อยที่เติบโตมาในยุคปัจจุบัน ฉะนั้นการเตรียมยาสามัญประจำบ้านไว้ทุเลาอาการเจ็บป่วยเป็นการรับมือไว้เบื้องต้นเพื่อไม่ให้อาการเจ็บป่วยหนักขึ้นอาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ วันนี้เราจะพาไปเช็คลิสต์ยาสามัญประจำบ้านเพื่อเตรียมรับสำหรับอาการเจ็บป่วยสำหรับคนที่มีลูกน้อย
ยาทาผื่นผ้าอ้อม ทารกที่ใส่ผ้าอ้อมตลอดทั้งวันอาจเกิดอาการระคายเคืองบริเวณผิวหนังได้ คุณพ่อและคุณแม่ควรทำความสะอาดระหว่างการเปลี่ยนผ้าอ้อมในบริเวณที่มีผื่นขึ้นและควรทายาสำหรับผื่นผ้าอ้อมอาจเป็นชนิดครีมหรือขี้ผึ้งก็ได้เช่นกัน ช่วยลดการเสียดสีตรงบริเวณที่เกิดผื่นเพื่อไม่ให้มีการเกิดผื่นเพิ่มมากขึ้น
มหาหิงค์ เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ใช้กันมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งในปัจจุบันก็ควรมีติดบ้านไว้เช่นกันิ เนื่องจากยามหาหิงค์เป็นยาใช้สำหรับทาภายนอก ช่วยขับลม แก้อาการท้องเฟ้อ เสียดท้อง วิธีการใช้คือนำสำลีมาชุบยาแล้วทาบริเวณหน้าท้องและฝ่าเท้าของเด็ก ข้อควรระวังเป็นยาทาภายนอกไม่ควรรับประทานเด็ดขาด นอกจากนี้ควรใช้ยาในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทเนื่องจากตัวยามีกลิ่นค่อนข้างฉุน
ขี้ผึ้งสำหรับทาเวลาแมลงกัดต่อย เป็นยาสมุนไพรใช้สำหรับทาผิวเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ฟกช้ำและลดอาการติดเชื้อ ในบริเวณที่มีแมลง สัตว์กัดต่อย ข้อควรระวังเป็นยาใช้ภายนอกเท่านั้นไม่ควรรับประทานและควรปิดให้สนิทวางให้พ้นมือเด็ก
ยาทาปาก เป็นยาจำพวกกลีนเซอรีน บอแรกซ์ มีลักษณะเป็นน้ำใสและข้น ไม่มีสี หรือเจนเชี่ยนไวโอเล็ต ใช้สำหรับทาแผลบริเวณปาก ลิ้นแตกเป็นฝ้าขาว หากต้องการให้อาการดีขึ้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกน้อยดื่มน้ำเป็นประจำและทานผักผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น เช่น แตงโม กล้วยน้ำว้า เพื่อลดการเกิดอาการร้อนในและช่วยให้แผลหายได้รวดเร็วยิ่งขึ้นฃ
ยาคาลาไมล์โลชั่น เป็นยาชนิดน้ำแขวนตะกอน มีลักษณะเป็นแป้งน้ำสีชมพู ใช้บรรเทาอาการคันที่เกิดตามบริเวณผิวหนัง เช่น ผดผื่นคัน ลมพิษ ผื่นแพ้ เป็นยาปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อีกด้วย เนื่องจากไม่มีผลข้างเคียง ตัวยาสำคัญ คือ ซิงค์ออกไซด์ มีฤทธิ์ฝาด ช่วยบรรเทาการระคายเคืองของผิวหนังได้ระดับที่ดีขึ้น ใช้ทาบริเวณที่มีอาการคันในปริมาณที่พอเหมาะหลังอาบน้ำ สามารถใช้ได้วันละ 3-4 ครั้ง ข้อควรระวังห้ามทาบริเวณริมฝีปาก รอบดวงตาและห้ามใช้สำหรับภายใน ควรปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง วางให้พ้นแสงแดดหรือที่ร้อนกว่า 30 องศาเซลเซียส และวางให้พ้นมือเด็ก หากระหว่างการใช้ยาเกิดอาการผิดปกติรีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดและไปพบแพทย์ทันที
เกลือแร่สำหรับเด็ก สารช่วยทดแทนการสูญเสียของงเกลือแร่และน้ำในร่างกาย จากอาการท้องเสียและอาเจียน โดยการนำเกลือแร่มาละลายน้ำอุณหภูมิปกติ หลังการละลายแล้วควรเก็บไว้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง วิธีการดื่มในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ควรดื่ม 2-3 แก้ว ในเด็กอายุ 2-5 ปี ควรดื่ม 3-4 แก้ว และเด็กอายุมากกว่า 5 ปี ควรดื่มเรื่อย ๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น หากพบว่ามีอาการปิดปกติระหว่างดื่มเกลือแร่ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ยาน้ำแก้ปวดลดไข้ ในปัจจุบันมียารสต่าง ๆ ช่วยให้เด็กทานได้ง่ายขึ้น ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวด ลดไข้ ปราศจากแอสไพรินและแอลกอฮอล์ ควรรับประทานทุก 4-6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 4 ครั้ง และไม่ควรรับประทานร่วมกับยาชนิดอื่นที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ ข้อสำคัญอย่าลืมอ่านฉลากก่อนใช้ยาทุกครั้งด้วย
วิธีการรับประทาน
- เด็กอายุ 1-2 ปี รับประทานขนาด 1.2 – 1.8 มล.
- เด็กอายุ 6-12 เดือน รับประทานขนาด 0.6 – 1.2 มล.
- เด็กอายุ 0-6 เดือน รับประทานขนาด 0.3 – 0.6 มล.
ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก อาการเป็นหวัดอาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัว คุณพ่อคุณแม่ควรมียาลดน้ำมูกติดบ้านไว้เพื่อบรรเทาอาการหวัดที่จะเกิดขึ้น ซึ่งยาแก้แพ้มีทั้งชนิดเม็ดช่วยบรรเทาอาการป่วย คัดจมูก น้ำมูกไหล หรือแพ้อาหาร และชนิดน้ำเชื่อม เหมาะสำหรับเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 4 ปี แต่ไม่เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 สัปดาห์จะทำให้เสมหะที่มีลัษณะข้น เหนียว ขับออกได้ยาก วิธีรับประทานยาชนิดน้ำเชื่อม เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี กินครั้งละ ครึ่งช้อนชา ไม่มากกว่าวันละ 2 ครั้งต่อวัน เด็กที่มีอายุ 1-4 ปี กินครั้งละครึ่งช้อนชา โดยไม่มากกว่า วันละ 3-4 ครั้งต่อวัน เด็กที่มีอายุ 1-4 ปี กินครั้งละ ครึ่งถึงหนึ่งช้อนชา
อุปกรณ์ทำแผลเบื้องต้น อุบัติเหตุเล็กน้อยสำหรับลูกสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยที่เราไม่อาจคาดคิด ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมรับมือให้พร้อมโดยสิ่งที่ควรมีติดบบ้านคือ อุปกรณ์ทำแผลเบื้องต้น เช่น ยาล้างแผล ช่วยให้แผลลดการติดเชื้อ ป้องกันการเกิดบาดทะยัก สำลี สำหรับเช็ดทำความสะอาดเอาสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากบาดแผล พลาสเตอร์ปิดแผล ใช้สำหรับปิดบาดแผลเพื่อป้องกันเไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่แผลได้ หลังทำความสะอาดบาดแผลเรียบร้อยแล้ว ผ้าพันแผลแบบยืด ใช้เมื่อเกิดอาการบวม เคล็ด หรือข้อพลิกต่างๆ จะช่วยรัดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไม่ให้เกิดการขยับได้
ปรอทวัดไข้ เป็นอุปกรณ์ที่ควรมีติดบ้านสามารถใช้ได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นใช้อมใต้ลิ้น หนีบรักแร้ หรือสอดทางทวารหนัก ข้อสำคัญก่อนการใช้งานควรสะบัดปรอทเบาๆ เพื่อให้ปรอทไหลกลับลงกระเปาะให้หมดเสียก่อนจึงจะใช้งานได้ตามปรกติ
เจลลดไข้ ใช้สำหรับลูกน้อยที่มีไข้ขึ้นสูงตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ควรใช้แปะตรงหน้าผากให้ลูกน้อน โดยไม่จำเป็นต้องเช็ดตัวตลอดเวลา มีคุณสมบัติในการดูดซับความร้อนมาไว้ที่เจล ช่วยให้อุณหภูมิที่หัวของลูกน้อยลดลง
น้ำเกลือล้างจมูก เมื่อลูกน้อยเป็นหวัดอาจทำให้หายใจไม่สะดวก การล้างจมูกเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้ลูกน้อยหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยกำจับของเสียและเชื้อโรคที่อยู่ภายในจมูกได้อีกด้วย
สำหรับยาที่กล่าวมาทั้งหมด หากมีติดบ้านไว้จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยของลูกได้อย่างทันท่วงที หากลูกน้อยมีอาการแพ้ยาหรือสารตัวใดที่มีส่วนประกอบอยู่ภายในยาควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้การเก็บรักษายาเป็นสิ่งสำคัญ เราจึงควรมีวิธีการเก็บรักยาที่ถูกต้อง ดังนี้
- ก่อนการใช้ยาควรอ่านสลากยาให้ครบถ้วนและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
- ควรเก็บยาที่อุณหภูมิห้อง ไม่มีแสงแดดส่อง หรือทิ้งไว้ในรถ เพราะยาจะเสื่อมสภาพได้อย่างง่าย
- ไม่ควรเก็บไว้ในที่ที่เด็กสามารถหยิบยาได้เอง
- หากยาระบุว่าให้เก็บไว้ในตู้เย็น ห้ามแช่แข็งเด็ดขาด ควรเก็บในช่องปกติเพราะถ้าแช่ในช่องแข็งจะทำให้ยานนั้นตกตะกอนได้
- ยาน้ำสำหรับเด็กที่มีขวดเป็นสีชา นั้นหมายความว่า ยานั้นต้องไม่ให้โดนแสง ไม่ควรเปลี่ยนภาชนะเป็นแบบใสหรือสีขาว จะทำให้ยาเสื่อมได้นั้นเอง
- ยาบางชนิดที่ต้องระวังเรื่องความชื้นนั้น ควรใส่สารกันชื้นที่มักเห็นเป็นซองเล็กๆ ไว้ในขวดยาตลอดเวลา และปิดภาชนะให้แน่น
- ควรเก็บยาไว้ในภาชนะที่บรรจุเดิมเพราะจะมีการระบุชื่อยาและวันที่ได้รับยา จะทำให้ทราบถึงระยะเวลาในการเก็บยาและทิ้งยาเมื่อหมดอายุนั้นเอง