logo เงินทองของจริง

ผ่อนรถไม่ไหว ค่างวดแพงไป รถก็ต้องใช้ แก้อย่างไรดี ? | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : เมื่อซื้อรถมาแล้วเกิดผ่อนไม่ไหว รถก็ยังต้องใช้ จะขายก็ขายไม่ได้ เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว จะมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไร ให้ส่งผลกระทบกับตั ch7hd news,tero digital,เงินทองของจริง,โคชหนุ่ม,กาย สวิตต์,แพรว ภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,ซื้อรถ,วางแผนซื้อรถ,เก็บเงินซื้อรถ,ซื้อรถเงินสด,กู้ซื้อรถ,วิธีกู้ซื้อรถ,กู้ซื้อรถอย่างไร,กู้ซื้อรถยังไง,ขั้นตอนกู้ซื้อรถ,ซื้อรถ ไฟแนนซ์ไหนดี,กู้ซื้อรถธนาคารไหนดี,กู้ซื้อรถของอะไรดี,ดอกเบี้ยรถ,อัตราดอกเบี้ยรถยนต์,ผ่อนรถ,ผ่อนรถไม่ไหว,ผ่อนรถไม่ไหว ทำอย่างไร,ผ่อนรถไม่ไหว ทำยังไง,ผ่อนรถไม่ไหว แก้อย่างไร,ผ่อนรถไม่ไหว แก้ยังไง,แก้ปัญหา ผ่อนรถไม่ไหว

8,140 ครั้ง
|
13 ก.ย. 2566
เมื่อซื้อรถมาแล้วเกิดผ่อนไม่ไหว รถก็ยังต้องใช้ จะขายก็ขายไม่ได้ เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว จะมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไร ให้ส่งผลกระทบกับตัวเราน้อยที่สุด ?
 
เรื่องการผ่อนรถไม่ไหว ถ้ารู้สถานการณ์ล่วงหน้าได้จะถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะหากเผลอทำผิดพลาด หรือผิดนัดชำระ แน่นอนว่าต้องกระทบประวัติการชำระหนี้ ซึ่งการกระทบประวัติการชำระหนี้มีข้อเสีย คือ ทำให้การเจรจาต่าง ๆ เป็นไปได้ยาก ดังนั้น ต้องหมั่นวางแผนการเงิน สำรวจตัวเองอยู่เสมอ จะทำให้สามารถเห็นแนวโน้มทางการเงินของตัวเองได้ก่อน
 
ผ่อนรถไปแล้วมีทีท่าว่าจะไปต่อไม่ไหว สิ่งแรกที่ต้องคิด คือ ประเมินสถานการณ์ว่าจะเกิดขึ้นแค่ชั่วคราว หรือจะเกิดขึ้นต่อไประยะยาว ตัวอย่างสถานการณ์ชั่วคราวเช่น รายได้สะดุด เงินเข้าช้า เงินติดขัด ซึ่งอาจจะกระทบเพียงแค่ 2-3 เดือน เราอาจจะใช้วิธีการการเจรจาเพื่อขอปรับลดค่างวดลงมาหน่อย หรือขอจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยไปก่อนก็ได้ และหากผ่านพ้นไปได้แล้ว ค่อยกลับมาผ่อนแบบปกติ
 
แต่หากมองแล้วว่าไม่ใช่ระยะสั้นแน่ ๆ ยกตัวอย่างเช่น การปรับเปลี่ยนงาน รายได้ลดลง อาจจะต้องใช้วิธีการรีไฟแนนซ์ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งที่เดิมและที่ใหม่ โดยการทำกับที่เดิม คือ การนำยอดคงเหลือมายืดระยะเวลาออกไป สำคัญที่สุดต้องเช็กให้ชัวร์ ว่าตัวเลขที่ย่อลงมา รวมดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มนั้นเอาอยู่หรือไม่ ฉะนั้น ข้อดีของการรีไฟแนนซ์กับที่เดิมก็คือ ประวัติการชำระหนี้ มีข้อมูลอยู่แล้ว คุยเจรจาได้ง่าย ดำเนินการได้รวดเร็ว หรืออาจจะลองเปรียบเทียบกับที่อื่นดูว่าค่างวดโอเคกว่าหรือไม่ ดอกเบี้ยโดยรวมดีกว่าหรือเปล่า ถ้ารู้สึกว่าลงตัวกว่าก็สามารถย้ายไปที่อื่นได้เช่นกัน
 
เมื่อเราอยู่ในสถานการณ์การเงินเริ่มตึง โดยมีการไปขอปรับลดยอดผ่อนต่องวด สิ่งที่ต้องระมัดระวังต่อจากนั้น อันดับแรก คือ ทบทวนเอกสารข้อสัญญาให้ดี ตรวจเช็กเงื่อนไขอื่น ๆ เช่น หากตกลงปรับลดแล้วห้ามย้ายไฟแนนซ์ไปที่อื่น เป็นต้น ซึ่งในสัญญาอาจจะมีรายละเอียดเงื่อนไขทำนองนี้ผูกมัดเอาไว้อยู่
 
เรื่องที่ 2 คือ การคิดคำนวณ แม้กระทั่งการรีไฟแนนซ์เอง หากขอปรับลดงวดผ่อนไปแล้ว ต้องคำนวณตัวเลขว่ามีกำลังจ่ายได้จริงหรือไม่ ห้ามหลอกตัวเองอย่างเด็ดขาด ยกตัวอย่าง การกำหนดลิมิตตัวเลข เช่น จ่ายไหวสูงสุดไม่เกิน 8,000 บาท/เดือน และเลือกปรับแผนให้เหมาะสม
 
เรื่องที่ 3 คือ ค่าใช้จ่ายโดยรวมในชีวิตประจำวัน เพราะหลายครั้งที่การเงินในชีวิตเริ่มตึง จึงส่งผลต่อการผ่อนรถ วิธีแก้คืออย่าโฟกัสแก้ปัญหาเรื่องการผ่อนรถเพียงอย่างเดียว อาจจะต้องแก้ที่มุมอื่น ๆ ประกอบกันไปด้วย เช่น วิธีการลดรายจ่ายส่วนอื่น เพื่อเพิ่มความสมดุลทางการเงิน
 
เรื่องสุดท้าย คือ การรักษาคำพูด เมื่อใดก็ตามที่เรามีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา เช่น การขอปรับลดค่างวด โดยทางสถาบันการเงินก็อนุมัติให้ ถือเป็นเรื่องที่ต้องรักษาสัญญาให้ดี เพราะหากผิดพลาดไปแล้วจะส่งผลกระทบใหญ่
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://www.youtube.com/live/XWUobcTHCR8?si=Fs7qn4cNhpSoWdjy

ข่าวที่เกี่ยวข้อง