logo เงินทองของจริง

วางแผนเกษียณ ฉบับมนุษย์เงินเดือน เริ่มต้นอย่างไร ? | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : แนะนำแนวทางวางแผนเกษียณตามสไตล์คนทำงาน บริหารเรื่องเงินในวันนี้ เพื่อชีวิตที่ดี เที่ยวฟิน กินอิ่ม นอนหลับสบาย ในอีก 40 ปีข้างหน้า ch7hd news,tero digital,เงินทองของจริง,โคชหนุ่ม,กาย สวิตต์,แพรว ภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,วางแผนการเงิน,วางแผนเรื่องเงิน,วางแผนเก็บเงิน,วางแผนเกษียณ,เก็บเงินเกษียณ,วิธีวางแผนเกษียณ,วางแผนเกษียณอย่างไร,วางแผนเกษียณยังไง,ความรู้ทางการเงิน,ความรู้ด้านการเงิน,ความรู้การเงิน

28,130 ครั้ง
|
29 ส.ค. 2566
แนะนำแนวทางวางแผนเกษียณตามสไตล์คนทำงาน บริหารเรื่องเงินในวันนี้ เพื่อชีวิตที่ดี เที่ยวฟิน กินอิ่ม นอนหลับสบาย ในอีก 40 ปีข้างหน้า
 
การวางแผนเกษียณในปัจจุบันค่อนข้างเปลี่ยนไปจากแต่ก่อน เดิมทีคนเรามักเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี แต่เดี๋ยวนี้มีไม่น้อยที่เลือกที่จะเกษียณตัวเองตั้งแต่อายุ 55 ปี และจะเห็นได้ว่าเงื่อนไขทางการเงินหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ประกันสังคม หรือกองทุน RMF ก็ตั้งกฎรับ โดยสามารถถอนได้ตั้งแต่อายุ 55 ปีด้วย
 
หากคนเราเกษียณตั้งแต่อายุ 55 ปี และอยู่ถึงอายุ 80 ปี เท่ากับว่าเรายังต้องกินต้องใช้ไปทุกวันตลอด 25 ปี หลังรายได้หดหายจากวัยทำงาน จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ในวันหน้า ที่จำเป็นต้องวางแผนตั้งแต่วันนี้ด้วยการตั้งโจทย์สำคัญให้ตัวเอง 3 ข้อ
 
1. เกษียณเมื่อไหร่ ? เป็นโจทย์แรกที่ต้องคิดอันดับแรก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักตั้งตัวเลขไว้ที่ 60 ปี แต่ก็มีบางคนที่ขยายเวลาออกไปถึง 65 ปี
 
2. มีชีวิตอยู่ถึงเมื่อไหร่ ? เป็นคำถามที่ตอบได้ยาก แต่ข้อมูลในปัจจุบัน เพศหญิงมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 77 ปี ส่วนเพศชายมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 73 ปี แต่ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัยขึ้น ทำให้หลายคนคิดเผื่อไปถึง 80 ปี นั่นหมายความว่าจะต้องเตรียมเงินในระหว่างที่ทำงานอยู่เพื่อใช้เลี้ยงตัวเองในอนาคตให้ได้ถึง 20 ปี
 
3. วางแผนเร็ว เริ่มต้นเร็ว ! โดยเงินเก็บที่ได้มาจากการบริหารค่าใช้จ่ายและเงินออมได้ดี ซึ่งพนักงานบริษัทเองก็มีตัวช่วยสำหรับเก็บเงินที่ดีหลากหลายช่องทางทั้ง ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือหากเป็นข้าราชการก็จะมี กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือหากเป็นอาชีพอิสระก็อาจใช้ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ได้
 
การคำนวนและการจัดการทางการเงินสำหรับวางแผนเกษียณ ถือเป็นการเก็บเงินในระยะยาว และมูลค่าของเงินเองก็เป็นมูลค่าที่ไม่คงที่ ซึ่งหากพูดให้เห็นภาพคำว่า "มูลค่าของเงินไม่คงที่" ได้ชัด ๆ แล้ว หลายคนอาจเคยได้ยินคำถามที่ว่า "เคยซื้อก๋วยเตี๋ยวชามละกี่บาท" ซึ่งก๋วยเตี๋ยวแต่ละยุคสมัยก็ราคาไม่เท่ากันแล้วแต่ช่วงเวลานั่นเอง โดยเหตุผลที่ทำให้ราคาก๋วยเตี๋ยวเปลี่ยนไป คือ "เงินเฟ้อ" ที่ทำให้อำนาจของเงินลดลง
 
เช่นเดียวกันกับที่เกริ่นไป หากวางแผนในวันนี้ว่าหลังเกษียณไปแล้วจะใช้เงินเพียงเดือนละ 1 หมื่นบาท แน่นอนว่า 1 หมื่นบาทวันนี้ไม่มีทางเท่ากับ 1 หมื่นบาทในอีก 40 ปีข้างหน้า เพราะเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2-3% ในทุกปีเป็นธรรมดา ดังนั้น หลักการคำนวณเพื่อเก็บเงินเกษียณจึงต้องมีตัวคุณเพิ่มเข้าไป ตามสูตร "มูลค่าเงินตามเวลา" หรือ Time Value of Money (TVM) ดังนี้
 
  • อายุ 50 ปีขึ้นไป: จำนวนเงินปัจจุบัน * 1.2 = จำนวนเงินในอนาคต
  • อายุ 40-49 ปี: จำนวนเงินปัจจุบัน * 1.5 = จำนวนเงินในอนาคต
  • อายุ 30-39 ปี: จำนวนเงินปัจจุบัน * 1.8 = จำนวนเงินในอนาคต
  • อายุ 20-29 ปี: จำนวนเงินปัจจุบัน * 2.2 = จำนวนเงินในอนาคต
 
เมื่อดูจากสูตรคำนวณแล้ว ใครที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน ช่วงอายุระหว่าง 20-29 ปี หากคิดไว้ว่าเมื่อเกษียณตอนอายุ 60 ปี แล้วจะใช้เงินเพียงเดือนละ 1 หมื่นบาท เท่ากับว่าเงิน 1 หมื่นบาทที่คิดไว้ในวันนี้ คือเงินจำนวนมากถึง 22,000 บาทในอนาคต ดังนั้น ณ วันที่เรายังหาเงินได้ หากบริหารจัดการเงินดี มีเงินเก็บออมแล้ว ควรนำเงินไปวางให้ถูกที่ เพื่อสร้างผลตอบแทนสูง ๆ ในระยะยาว แล้วชีวิตเกษียณจะเป็นสุขยั่งยืน
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.15-9.25 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://www.youtube.com/live/6mdZP6Jvjv0?si=CAT2mRuLzCv0V7Vi

ข่าวที่เกี่ยวข้อง