logo ข่าวเย็นประเด็นร้อน

เริ่มชัดเจน ! คาดการณ์รัฐบาลใหม่ เปิดตัวว่าที่ 12 พรรคร่วม จำนวน 315 เสียง

ข่าวเย็นประเด็นร้อน : วันนี้ ครบหนึ่งสัปดาห์ นับจากวันที่พรรคเพื่อไทย แถลงจับมือกับพรรคภูมิใจไทย ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งถ้านับถึงวันนี้ รูปร่าง ช่อง7,ช่อง7HD,CH7,CH7HD,7HD,CH7HDNEWS,ข่าว,ข่าว7,ข่าวช่อง7,ข่าววันนี้,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ข่าวสด,ข่าวเด็ด,ข่าวด่วน,ข่าวร้อน,ข่าวไทย,ข่าวออนไลน์,ข่าวโซเชียล,ข่าวสังคม,ข่าวภูมิภาค,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวการเมือง,ดูทีวีย้อนหลัง,ดูรายการย้อนหลัง,ดูย้อนหลัง,ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,TERODigital,ข่าวเย็นประเด็นร้อน,สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,สงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์,เปรมสุดา สันติวัฒนา,ฝนฟ้าอากาศ,ทิน โชคกมลกิจ

400 ครั้ง
|
14 ส.ค. 2566
ข่าวเย็นประเด็นร้อน - วันนี้ ครบหนึ่งสัปดาห์ นับจากวันที่พรรคเพื่อไทย แถลงจับมือกับพรรคภูมิใจไทย ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งถ้านับถึงวันนี้ รูปร่างหน้าตาของรัฐบาลใหม่ ชัดเจนขึ้นมากแล้ว คาดการณ์สูตรรัฐบาลใหม่ 315 เสียง แต่ว่าก็มาพร้อมกับกระแสข่าวการกดดันจัดสรรเก้าอี้กระทรวงต่าง ๆ ด้วย
 
ว่าที่พรรคร่วมรัฐบาล 12 พรรค 315 เสียง
 
จนถึงวันนี้ พรรคที่มีการแถลงร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยนั้น ประกอบด้วย 8 พรรค รวมเสียงกันได้ 238 เสียง ประกอบด้วย เพื่อไทย 141 เสียง, ภูมิใจไทย 71 เสียง, ชาติไทยพัฒนา 10 เสียง, ประชาชาติ 9 เสียง, เพื่อไทรวมพลัง 2 เสียง, ชาติพัฒนากล้า 2 เสียง, เสรีรวมไทย 1 เสียง, พลังสังคมใหม่ 1 เสียง, ท้องที่ไทย 1 เสียง
 
ส่วนที่ว่ารวมกันได้ 315 เสียงแล้วนั้น มาจากพรรคพลังประชารัฐ 40 เสียง, รวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง และประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง ซึ่งทั้ง 3 พรรคนี้ ยังไม่ได้แถลงร่วมกับพรรคเพื่อไทย แต่ว่าในส่วนพลังประชารัฐ นับจาก คุณไผ่ ลิกค์ ออกมาเปิดเผย พร้อมโหวตให้นายกฯจากเพื่อไทย แบบไม่มีเงื่อนไขต้องได้ร่วมรัฐบาล มาถึงวันนี้ดีลกับพลังประชารัฐก็น่าจะลงตัวกันแล้ว
 
ส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติ แกนนำหลายคนออกมาเปิดเผยว่า พร้อมสนับสนุนเพื่อไทย ซึ่งก็ต้องดูการประชุมพรรคในวันที่ 15 สิงหาคมนี้ ซึ่งก็คาดการณ์กันว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
 
ชัยธวัช ห่วง เพื่อไทย ถูกขั้วอำนาจเดิมบีบจัดสรรเก้าอี้
 
เมื่อเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค แน่นอนว่าย่อมมีการการต่อรองเก้าอี้กันหนัก และในสถานการณ์แบบนี้ มีกระแสข่าวพรรคร่วมขอความชัดเจนจัดสรรเก้าอี้ ก่อนที่จะมีการโหวตนายกฯ
 
ซึ่งในเรื่องนี้ นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวว่า การจัดแบ่งตำแหน่งคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องปกติในการจัดตั้งรัฐบาล ในทางปฏิบัติ ก็ปฏิเสธไม่ได้ที่ต้องทำควบคู่กันไป ก็มองด้วยความเป็นห่วงว่า การจัดตั้งรัฐบาลในสถานการณ์แบบนี้ น่าจะถูกเข้ามากำกับควบคุมโดยขั้วอำนาจเดิมมาก เป็นสิ่งที่น่าจะปฏิเสธยาก
 
ส่วนพรรคก้าวไกล อยากให้กลับมาเป็น 312 เสียงเหมือนเดิมหรือไม่นั้น เรื่องนี้คงเป็นการตัดสินใจของพรรคเพื่อไทย ตอนนี้พรรคก้าวไกล อยู่ในโหมดเตรียมตัวทำงาน ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทไหน ก็ใช้ช่วงเวลานี้ในการเตรียมงานภายในพรรค พัฒนาศักยภาพความพร้อมในการทำงานของ สส.ใหม่
 
เลขาธิการพรรคก้าวไกล ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการถามความเห็นประชาชนในการโหวตเลือกนายกฯ ว่าเป็นเรื่องที่ สส.ทำกันเอง ไม่ได้เป็นการมอบหมายจากพรรค ซึ่งจะนำเรื่องนี้กลับมาพูดคุยกันอีกครั้งในการประชุม สส. ในวันพรุ่งนี้ โดยตอนนี้ยังไม่ได้คุยกันถึงทิศทางของพรรค คาดว่าจะได้ข้อสรุปในที่ประชุม สส. พรุ่งนี้
 
ประเสริฐ ปฏิเสธยังไม่แบ่งเค้กเก้าอี้รัฐมนตรี
 
แต่ว่ามีการปฏิเสธเรื่องการแบ่งเก้าอี้รัฐมนตรีมาจากพรรคเพื่อไทย นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย บอกว่า ยังไม่ได้มีการพูดคุยกัน ตอนนี้ขอตั้งนายกรัฐมนตรีให้ได้ก่อน ส่วนกรณีที่มีการมองว่า ต้องคุยกันเรื่องตำแหน่งให้ชัดเจน ก่อนที่จะมีการโหวตนายกฯ นั้น ตนเองเข้าใจว่าเป็นอย่างไร แต่การจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้ เป็นสถานการณ์พิเศษ ซึ่งเมื่อตั้งนายกฯ เรียบร้อยแล้ว เรื่องต่าง ๆ จะมีการพูดคุยกันด้วยดี ส่วนกรณีพรรคเก่าจำเป็นต้องคุมกระทรวงเดิมหรือไม่นั้น เป็นเพียงแค่แนวคิด ส่วนการปฏิบัติ ตนเองขอยังไม่แสดงความคิดเห็น
 
ส่วนจะมีการไปเทียบเชิญพรรคของ 2 ลุง คือ พลังประชารัฐ และรวมไทยสร้างชาติ ร่วมรัฐบาลด้วยหรือไม่นั้น นายประเสริฐ กล่าวว่า ขณะนี้หากพรรคใดที่จะมาร่วมสนับสนุนแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทย ก็ไม่ได้ปิดโอกาส เหมือนที่พรรคพลังประชารัฐ ที่นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร ให้สัมภาษณ์ว่าจะสนับสนุนแคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย แต่เรื่องนี้ยังพอมีเวลาอยู่อีกระยะ ทั้งนี้ ประธานรัฐสภาก็ยังไม่ได้มีการนัดวันประชุมเพื่อโหวตนายกฯ
 
วันนอร์ ชี้เป็นไปได้ โหวตนายกฯ 18 หรือ 22 ส.ค.
 
ความชัดเจนว่าจะนัดโหวตนายกฯ วันไหนนั้น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวว่า จะต้องขอดูคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะพิจารณาคำร้องมติรัฐสภา กรณีเสนอชื่อโหวตนายกรัฐมนตรีซ้ำได้หรือไม่ ในวันที่ 16 สิงหาคมนี้ ก่อนที่จะนัดประชุมรัฐสภา เพื่อเลือกนายกฯ แต่ก็ยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ที่จะนัดประชุมวันที่ 18 หรือ 22 สิงหาคม โดยต้องดูหน้างานจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นหลัก
 
นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวด้วยว่า หากมีคำวินิจฉัยอย่างไร ต้องประชุมฝ่ายกฎหมายของสภาฯ และประชุมวิป 3 ฝ่าย เพราะเป้าหมายของสภาฯ ต้องการให้มีรัฐบาลโดยเร็ว แต่ก็ต้องเรียบร้อย โดยไม่ผิดกติกาด้วย
 
ส่วนการเลือกนายกฯ รอบที่ 3 จะผ่านไปเรียบร้อยหรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ บอกว่า อยากให้เรียบร้อย แต่อยู่ที่ฝ่ายการเมืองที่จะประสานงานกัน ฝ่ายสภาฯ มีหน้าที่เตรียมการจัดประชุมให้เรียบร้อย และทุกฝ่ายต้องพร้อม ทั้ง สส. และ สว.
 
ศิธา เผยบันได 5 ขั้นโหวตนายกฯ สิ้นสุดตรงไหน
 
การโหวตนายกฯ ยังไม่กำหนดวัน ต้องรอดูศาลรัฐธรรมนูญก่อน แต่ท่านนี้มองล่วงหน้าว่าการโหวตนายกฯ จะจบแบบไหน น.ต.ศิธา ทิวารี แกนนำพรรคไทยสร้างไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงการโหวตนายกฯ ระบุข้อความไว้ว่า
 
บันได 5 ขั้น จะไปสุดที่ตรงไหน?
โหวตพิธา จะเอาเศรษฐา
โหวตเศรษฐา จะเอาอุ๊งอิ๊ง
โหวตอุ๊งอิ๊ง จะเอาอนุทิน
โหวตอนุทิน จะเอาลุงป้อม
โหวตลุงป้อม…เออเมิงทำถูก..
 
สว.สมชาย ถามรัฐบาลสลายขั้ว แก้ไขหรือสร้างวิกฤต
 
มาดูอีกท่านหนึ่ง เป็นสมาชิกวุฒิสภา ที่มีบทบาทแสดงความคิดเห็นในการโหวตเลือกนายกฯ อย่างต่อเนื่อง สว. สมชาย แสวงการ ได้โพสต์เฟซบุ๊กไว้เมื่อช่วงเช้า ข้อความว่า คิดกันให้ดี รัฐบาลสลายขั้ว แก้ไขหรือสร้างวิกฤติ มติคณะรัฐมนตรี วาระแรกด่วน จัดประชามติให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ทำรัฐธรรมนูญใหม่ ดีลลับฮ่องกง ล้มรัฐธรรมนูญปราบโกงเพื่อใคร เพื่อปากท้องประชาชน?
 
นี่ก็เป็นโพสต์ของ สว.สมชาย แสดงความเห็นและตั้งคำถามต่อกรณีพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เดินหน้าดีลพรรคการเมืองต่าง ๆ ร่วมจัดตั้งรัฐบาลสลายขั้ว ซึ่งรวมถึงพรรคพลังประชารัฐ และรวมไทยสร้างชาติด้วย
 
วิโรจน์ เดือดรัฐบาล ลักไก่ ปมเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
 
เป็นหนึ่งประเด็นที่กำลังดรามาอยู่ในขณะนี้ หลังกระทรวงมหาดไทย ออกระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา
 
ประเด็นสำคัญ คงเป็นเรื่องคุณสมบัติ ผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพฯ หนึ่งในต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ จนสมาชิกโซเชียลหลายคนไม่เห็นด้วย พร้อมมองว่าควรปรับให้เป็นแบบจ่ายถ้วนหน้าตามเดิมนั้น
 
ล่าสุด นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กว่า เรื่องใหญ่ ลักไก่เปลี่ยนหลักเกณฑ์จ่ายเบี้ยยังชีพฯ จากเดิมจ่ายแบบถ้วนหน้า ตั้งแต่ 12 สิงหาคม ต้องมาพิสูจน์ความจน
 
โดยนายวิโรจน์ ระบุบางช่วงว่า แม้บทเฉพาะกาล ข้อ 17 จะให้ผู้สูงอายุที่ได้ขึ้นทะเบียน และรับเงินเบี้ยยังชีพฯ ก่อนวันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา ยังมีสิทธิรับเงินเหมือนเดิม แต่หลักเกณฑ์นี้จะส่งผลกระทบประชาชนทุกคน ที่จะทยอยอายุครบ 60 ปีในอนาคต
 
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) อยู่ 11 ล้านคน ส่วนตัวทราบมาว่าจะมีการใช้ฐานข้อมูลบัตรคนจน ในการพิจารณาจ่ายเบี้ยยังชีพฯ จะทำให้มีผู้สูงอายุได้รับเบี้ยยังชีพเพียง 5 ล้านคน ส่วนอีก 6 ล้านคน จะถูกรัฐลอยแพ
 
หญิงหน่อย ต้านยกเลิกเบี้ยผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า
 
ขณะที่ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย โพสต์บางช่วง ขอคัดค้านการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าวว่า ถือเป็นการทำลายหลักการรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้า แต่จะตอกย้ำระบบรัฐสงเคราะห์ ที่เลือกให้เฉพาะคนจน หรือคนอนาถา ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และหลักสากล
 
แนวคิดนี้นอกจากสะท้อนปัญหาว่า รัฐบาลหาเงินไม่ได้ ใช้เงินไม่เป็น จนต้องมาตัดจำนวนผู้ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยังถือเป็นลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ ถ้าอยากได้เงินเพียงเดือนละ 600-1,000 บาท ต้องไปยืนยันตัวตนว่าเป็นคนจน ทั้งที่เป็นสิทธิที่ทุกคนควรได้รับการดูแลจากรัฐ
 
ติดตาม รายการ “ข่าวเย็นประเด็นร้อน” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15.45-17.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
 
ชมผ่าน YouTube https://youtu.be/ctWJF4f-atE

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง