logo เงินทองของจริง

ประกันบำนาญ ตัวช่วยดูแลคนทำงาน เพื่อชีวิตเป็นสุขในวัยเกษียณ | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : สำหรับคนทำงานที่เริ่มวางแผนเกษียณ มีเครื่องมือทางการเงินดี ๆ อย่าง "ประกันบำนาญ" มาแนะนำ ที่จะเป็นตัวช่วยให้ชีวิตหลังการทำงานของ ch7hd news,tero digital,เงินทองของจริง,โคชหนุ่ม,กาย สวิตต์,แพรว ภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,ประกัน,ซื้อประกัน,ทำประกัน,ประกันมีกี่แบบ,แบบประกัน,ซื้อประกันอย่างไร,ซื้อประกันยังไง,ทำประกันอย่างไร,ทำประกันยังไง,ประกันชีวิต,ซื้อประกันชีวิต,ทำประกันชีวิต,ประกันชีวิตมีกี่แบบ,ซื้อประกันชีวิตอย่างไร,ซื้อประกันชีวิตยังไง,ทำประกันชีวิตอย่างไร,ทำประกันชีวิตยังไง,ประกันบำนาญ,ประกันบำนาญคืออะไร,ประกันบำนาญ ข้อดี

519 ครั้ง
|
09 ส.ค. 2566
สำหรับคนทำงานที่เริ่มวางแผนเกษียณ มีเครื่องมือทางการเงินดี ๆ อย่าง "ประกันบำนาญ" มาแนะนำ ที่จะเป็นตัวช่วยให้ชีวิตหลังการทำงานของเรามีเงินใช้ต่อไปได้อีกหลายปี
 
"ประกันบำนาญ" ถือเป็นการจัดการความเสี่ยงทางการเงิน 2 รูปแบบ คือ "จากไปก่อนวัยอันควร" ที่ส่งผลกระทบทางการเงินต่อคนข้างหลัง และความเสี่ยงรูปแบบที่ 2 คือ "แก่ตัวแต่ไม่มีเงินใช้" ซึ่งแต่ละบริษัทประกันจะมีเงื่อนไขอายุเกษียณต่างกันตั้งแต่ 55-60 ปี โดยในช่วงอายุที่กำลังทำงานอยู่ผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครอง และเมื่อเกษียณไปแล้วจะได้รับเงินบำนาญรวมถึงความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตด้วย
 
เงื่อนไขของประกันบำนาญ ตั้งแต่ผู้เอาประกันเกษียณไปแล้ว จะมีกำหนดระยะเวลาชัดเจนว่าบริษัทประกันต้องจ่ายเงินบำนาญให้ผู้เอาประกันอีกกี่ปี และเป็นรายปีหรือรายเดือน แต่เหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ทำประกันประเภทนี้เนื่องจากความกังวลหลาย ๆ อย่าง ได้แก่
 
1. กลัวว่า "อีกนานกว่าจะเกษียณ" จึงเลือกนำเงินที่มีอยู่มากินใช้ หาความสุข หรือเลือกลงทุนอย่างอื่นดีกว่า
 
2. "ดอกเบี้ย หรือเงินที่ต้องจ่ายสูง" เนื่องจากเงินบำนาญที่บริษัทประกันต้องจ่ายให้ผู้เอาประกันหลังเกษียณอีกเป็นระยะเวลานับสิบปีมีมูลค่าสูงมาก ทำให้เบี้ยประกันประเภทนี้มีราคาแพง
 
"ประกันบำนาญ" เหมาะกับผู้ที่วางแผนเกษียณ เพราะเป็นตัวช่วยที่แน่นอนมั่นคงต่างจากการลงทุนอื่น ๆ เช่น กองทุนรวม ที่อาศัยการลงทุนแบบ DCA ตัวอย่างเช่น หากคาดหวังผลกำไรบั้นปลายเป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท และเกิดเหตุการณ์วิกฤตขึ้น ณ วันที่เกษียณ ทำให้เงินจำนวนนั้นย่อลงเหลือเพียง 1.7 ล้านบาท ดังนั้น หากมีช่องทางเก็บเงินมากกว่า 1 ช่องทาง ก็จะสามารถบริหารจัดการเงินได้ดีกว่า
 
เปรียบเทียบ "ประกันบำนาญ" กับ "การลงทุนในกลุ่มหุ้น" ณ วันเกษียณ แน่นอนว่าไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ได้ อาจเกิดวิกฤตหุ้นติดลบลงดิ่ง แต่หากมีประกันบำนาญเป็นตัวช่วย อย่างน้อยที่สุดก็ยังมีตัวเลขที่แน่นอน ว่าในแต่ละเดือนจะมีเงินใช้เท่าไร ถือเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยเสริมเกราะป้องกันทั้งชีวิตในวัยทำงาน และชีวิตหลังวัยทำงานได้เป็นอย่างดี
 
การซื้อประกันบำนาญ โดยส่วนใหญ่แล้วพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เพราะก่อนหน้านั้นคนส่วนใหญ่มักห่วงเรื่องความเจ็บป่วย และการจากไปก่อนวัยอันควรมากกว่า จึงเลือกซื้อประกันแบบตลอดชีพ หรือแบบสะสมทรัพย์ หรือแบบอื่น ๆ ที่ได้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตที่สูงกว่า แต่เมื่ออายุถึง 40-45 ปี แล้ว แน่นอนว่าคนทำงานมีฐานรายได้สูงขึ้น ทำให้การจ่ายเบี้ยประกันหลักแสนต่อปีทำได้ง่ายขึ้น จึงหันมาสนใจประกันบำนาญเพื่อหวังผลตอบแทนหลังเกษียณแทน
 
"ประกัน" ถือเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ดีแต่มี "ต้นทุน" ดังนั้น ผู้ซื้อประกันต้องบริหารจัดการต้นทุนตามความจำเป็นในแต่ละช่วงเวลา เช่น ช่วงเริ่มต้นทำงาน อาจห่วงเรื่องสุขภาพ ห่วงเรื่องอุบัติเหตุ ช่วงมีภาระ เริ่มห่วงชีวิตตัวเอง ห่วงชีวิตความเป็นอยู่ของคนข้างหลัง และช่วงอายุ 40-45 ปี เริ่มมองเห็นอนาคต เริ่มหมดภาระ ห่วงว่าทำอย่างไรให้ตัวเองและครอบครัวอยู่สบายหลังเกษียณ ดังนั้น การทำประกันจึงต้องเลือกให้เหมาะกับตัวเอง วางแผนระยะยาว และจ่ายให้พอดี อย่าทำประกันเกินตัวจนลำบาก และเกิดความเสียหายได้ภายหลัง
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.15-9.25 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 

รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://youtube.com/live/oKWHEu9RxAI

ข่าวที่เกี่ยวข้อง