ไทยบุกตลาดโลก ส่งออกสินค้าไปไกลด้วย e-Commerce | เงินทองของจริง
logo เงินทองของจริง

ไทยบุกตลาดโลก ส่งออกสินค้าไปไกลด้วย e-Commerce | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : เทรนด์สินค้ามาแรง และตลาดดาวรุ่งอย่าง e-Commerce ที่เรียกได้ว่ากำลังบุกตลาดโลกเลยก็ว่าได้ เจาะลึกไปด้วยกันกับ "แพรว ภัทรนันท์ ปร ch7hd news,tero digital,เงินทองของจริง,โคชหนุ่ม,กาย สวิตต์,แพรว ภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,e-commerce,e-commerce คืออะไร,เทคนิค e-commerce,เคล็ดลับ e-commerce,สอน e-commerce,ขายของออนไลน์,เทคนิค ขายของออนไลน์,เคล็ดลับ ขายของออนไลน์,สอน ขายของออนไลน์,ส่งออกสินค้า,ส่งออกสินค้าไทย,ขายของ ต่างประเทศ,ส่งของไปต่างประเทศ,ส่งสินค้าไปต่างประเทศ,ตลาดไทยใหญ่ทั้งโลก,หนังสือตลาดไทยใหญ่ทั้งโลก,เทคนิค ส่งออกสินค้า,เคล็ดลับ ส่งออกสินค้า,สอน ส่งออกสินค้า,เทคนิค ส่งออกสินค้าไทย,เคล็ดลับ ส่งออกสินค้าไทย,สอน ส่งออกสินค้าไทย

638 ครั้ง
|
04 ส.ค. 2566
เสวนา เทรนด์สินค้ามาแรง รวมไปถึงตลาดดาวรุ่งอย่าง e-Commerce ที่เรียกได้ว่ากำลังบุกตลาดโลกเลยก็ว่าได้ เจาะลึกไปด้วยกันกับ "แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์" และแขกรับเชิญสุดพิเศษ "คุณแจ็ค ฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์" ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว
 
การค้าสมัยก่อนมักได้ยินคำพูดที่ว่า "ของดี ราคาถูก เดี๋ยวก็ขายได้" ในปัจจุบันยังเป็นเช่นนั้นอยู่หรือไม่ ? แน่นอนว่าใช่ในบางส่วน เพราะผู้คนยังคงชื่นชอบ "ของดีและถูก" อยู่ แต่สิ่งที่เปลี่ยนไป คือ ผู้ซื้อในยุคนี้มีความคาดหวังมากขึ้น มิใช่เพียงแค่ของดีและถูกเพียงเท่านั้น แต่ที่ไปที่มาของสินค้านั้น ๆ จะต้อง "ถูกต้อง" ด้วย
 
ช่วงปีที่ผ่านมา "โควิด-19" ได้เข้ามามีบทบาท สร้างผลกระทบหลากหลายด้านในประเทศไทย ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้ จะส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ? ด้วยภาวะด้านสุขภาพที่เป็นวิกฤตทั่วโลก แน่นอนว่าย่อมส่งผลทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา เมื่อคนเราอยู่บ้านเฉย ๆ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จึงผลักดันให้คนทั่วโลกต้องซื้อของออนไลน์มากขึ้น และเกิดเป็นความคุ้นชินในชีวิตประจำวันรูปแบบใหม่ หรือ "New Normal" จนทุกวันนี้แพลตฟอร์มออนไลน์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนไปเสียแล้ว
 
โควิด-19 ที่เป็นดั่งดาบสองคม ทำให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลง และในขณะเดียวกัน ก็มีหลายธุรกิจเกิดใหม่เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งก็คือ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ โดยกลุ่มแรก คือ "กลุ่มสุขภาพ" ที่มีสินค้าเป็นกลุ่มย่อยอีก ได้แก่ อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเสริมและวิตามิน ฯลฯ และอีกกลุ่มหนึ่ง คือ "กลุ่มไลฟ์สไตล์" หรือกลุ่มสินค้าที่พัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อคนอยู่บ้าน ให้มีความสุขมากขึ้นนั่นเอง
 
เมื่อผู้ประกอบการหันมา "ขายของออนไลน์" มากขึ้น จะมีวิธีเริ่มขายอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ ? สิ่งสำคัญที่สุด คือ "สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์" อันดับแรกต้องเข้าใจก่อนว่า "ใครคือลูกค้าเรา" เพราะช่องทางออนไลน์เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างร้านค้า เพื่อส่งสินค้าสู่มือลูกค้า ยกตัวอย่าง หากเราเข้าใจว่าลูกค้าของเราคือวัยรุ่น ดังนั้น Facebook อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด เพราะกลุ่มวัยรุ่นนิยมใช้ Instagram, Twitter และ TikTok มากกว่า ซึ่งร้านค้าเองต้องสร้างตัวตนเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าด้วย
 
ตลาด e-Commerce ที่มีบทบาทมากขึ้น มีส่วนช่วยผลักดันผู้ประกอบการอย่างไรได้บ้าง ? ยุคนี้ต้องบอกว่า หากใครไม่ได้เข้ามาขายผ่านช่องทางออนไลน์ ถือว่าสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เพราะคำว่า "ออนไลน์" ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ประเทศไทยเพียง 70 ล้านคนเท่านั้น แต่ยังสามารถเข้าถึง "ประชากรโลก" 7,000 ล้านคนได้ด้วย และการจัดส่งสินค้าผ่านตลาดออนไลน์ไปต่างประเทศเอง ยังมีสิทธิพิเศษต่าง ๆ ช่วยเหลือผู้ขายอีกมากมาย ทำให้ผู้ขายสามารถเปิดตลาดไปสู่ตลาดโลกได้ง่ายขึ้น
 
ในฐานะที่ "คุณแจ็ค" เป็นทูตพาณิชญ์ญี่ปุ่น แนะนำเกี่ยวกับสินค้าไทยที่นิยมซื้อออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มญี่ปุ่นว่า ณ เวลานี้ เพิ่งมีโครงการร่วมกับแพลตฟอร์มอันดับ 1 ในญี่ปุ่นอย่าง "Rakuten" ที่เปิดหน้าเพจขายสินค้าไทย ซึ่งสินค้าขายดีอันดับ 1 คือ "ผลไม้อบแห้ง" โดยเฉพาะมะม่วง ส่วนอันดับ 2 อาจจะต้องแปลกใจกันนิดหน่อยเพราะสินค้านั้น คือ "ยาสีฟันยี่ห้อหนึ่ง" ทำให้อาจเข้าใจได้ว่าคนญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากการดูคอนเทนต์ของประเทศไทย และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ตามดาราในบ้านเรา
 
สินค้าอีกหนึ่งอย่างที่ไทยผลักดันสู่ตลาดญี่ปุ่น คือ "กล้วย" เนื่องจากคนญี่ปุ่นนิยมทานกล้วยมาก โดยในปึหนึ่ง ๆ จะนำเข้ากล้วยเป็นล้านตัน เพราะไม่สามารถปลูกเองในประเทศได้เลย สิ่งสำคัญ คือ "กล้วยไทย" สามารถนำเข้าไปได้โดยไม่เสียภาษี 8,000 ตันแรก และยังใช้โควตานี้ไม่ครบ ดังนั้น "กล้วยทุกประเภท" ยังถือว่ามีโอกาสอยู่มาก
 
ชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ ก็มาแรงไม่แพ้กัน แต่ขึ้นอยู่กับทิศทางของผู้ผลิตญี่ปุ่น โดยบริษัทญี่ปุ่นเองก็ยังมีทิศทางพัฒนาที่ไม่ชัดเจน ว่าจะไปในสาย รถ EV หรือ รถพลังงานไฮโดรเจน แต่ตอนนี้ก็ได้มีการติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อการปรับตัวได้ทันท่วงที
 
ขณะเดียวกัน มีผู้ผลิตชิ้นส่วนบางรายที่ผันตัวไปทำธุรกิจอื่นอย่าง "เครื่องมือแพทย์" ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอนนี้พยายามเชื่อมโยงระหว่าง "ผู้ผลิตญี่ปุ่น" และ "ผู้ผลิตไทย" เพื่อให้เกิด Products นี้ขึ้นมา
 
"คนญี่ปุ่น นิยมซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มใด ?" จริง ๆ แล้วมี 2 แพลตฟอร์มใหญ่อย่าง "Rakuten" และ "amazon.co.jp" ซึ่งเป็นที่นิยม และมี Market Share ใหญ่มากในตลาดญี่ปุ่น ด้วยยุคที่ e-Commerce เข้ามามีบทบาทมาก ๆ นี้ การมีสินค้าแล้วไม่ขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ถือเป็นการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับบริษัทคู่แข่ง เพราะลูกค้าทั้งหมดถูกย้ายมารอซื้อสินค้าที่แพลตฟอร์มออนไลน์แล้ว ดังนั้น การขายของออนไลน์ในยุคนี้ พูดได้เต็มปากเลยว่า "เป็นทางรอดของธุรกิจที่ทำให้รุ่ง มิใช่เพียงแค่ทางเลือก"
 
ในหนังสือ "ตลาดไทยใหญ่ทั้งโลก" ที่คุณแจ็คได้เขียนไว้ เชื่อว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าที่ดีและมีคุณภาพ และต่างชาติเองก็มองว่าประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่ดีเช่นกัน คิดว่าหากคนไทยจับทางได้ถูก จะมีโอกาสขยายตลาดให้ใหญ่เพื่อมุ่งสู่ตลาดโลกได้ แต่ก่อนหน้านี้อาจจะมีความยากเพราะความต้องการในตลาดโลกค่อนข้างหลากหลาย แต่ปัจจุบัน โควิด-19 เป็นสาเหตุทำให้ความต้องการในตลาดโลกเปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด จึงเหลือความต้องการเป็นกลุ่มที่ไม่เยอะ ซึ่งหากใครจับทางถูก และพัฒนาสินค้าไปในแนวทางนั้น ก็มีโอกาสที่จะขยายตลาดไปสู่ทั้งโลกได้
 
ตัวคุณแจ็คเองอยากจะฟันธงลงไปในหนังสือว่า สินค้ากลุ่มใดก็ตามที่ผลิตออกมาในแนวทางที่ควร ล้วนสามารถขยายตลาดไปทั้งโลกได้ ที่สำคัญไปกว่านั้น เพียงแค่รู้ยังไม่พอ แต่ในหนังสือยังมีการชี้ช่องให้ด้วยว่า "รู้แล้วต้องทำอย่างไรต่อ ?" ต้องพัฒนาและปรับเปลี่ยนสินค้าอย่างไร ควรสื่อสารอย่างชาญฉลาดอย่างไรให้โดนใจผู้ซื้อ ที่สำคัญ คือ "ช่องทางการขาย" เหมือนประเด็นที่คุยกันไว้ "ช่องทางออนไลน์ ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ ?" และเทคนิคเพิ่มยอดขายออนไลน์ "ทำอย่างไร ให้ไปสู่ตลาดต่างประเทศ ?"
 
ใครที่สนใจหนังสือ "ตลาดไทยใหญ่ทั้งโลก" สามารถหาซื้อได้ที่ร้าน SE-ED, นายอินทร์ และ ASIA BOOKS ทุกสาขา หรือค้นหาผ่านช่องทางออนไลน์ ก็สามารถทำได้เช่นกัน
 
สำหรับผู้ประกอบการที่อยากส่งออกสินค้าไปสู่ลูกค้าสากล ต้องบอกว่าการขยายตลาดไปสู่ตลาดส่งออกระดับโลกไม่ใช่เรื่องยากเหมือนเคย เพราะความต้องการสินค้า ณ วันนี้มีความใกล้เคียงกัน และช่องทางการขายก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว เพียงแต่ต้องศึกษาข้อมูลปลายทางให้ดี และทำย้อนขั้นตอนกลับมาสู่การผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการนั้น ๆ ด้วยประเทศไทยเองเป็นประเทศที่มีความสมบูรณ์ด้านทรัพยากร และมีความเก่งกาจในการพัฒนาสินค้าแล้ว ดังนั้น มั่นใจว่าคนไทยสามารถขยายตลาดให้ใหญ่ไปทั่วทั้งโลกได้อย่างแน่นอน
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.15-9.25 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://youtu.be/Hfyjt8vLmKY

ข่าวที่เกี่ยวข้อง