logo เช้านี้ที่หมอชิต

“อ.นันทนา” จับสัญญาณมวลชน ส่งคำเตือนถึง “เพื่อไทย”

เช้านี้ที่หมอชิต : เช้านี้ที่หมอชิต - พรรคเพื่อไทย เดินหน้ารวมเสียงจัดตั้งรัฐบาล ด้วยการคุยอื่นข้ามขั้วเพื่อเพิ่มเสียงให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น พรร ข่าว,ช่อง7สี,ช่อง7HD,กด35,ข่าวช่อง7,CH7HD,รายการ,ดูย้อนหลัง,คลิปย้อนหลัง,CH7HDNEWS,ข่าวการเมือง,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวบันเทิง,ข่าวโซเชียล,ข่าวออนไลน์,ข่าวสังคม,ข่าวอาชญากรรม,ข่าวกีฬา,ข่าวภูมิภาค,ข่าวด่วน,ข่าวเด็ด,ข่าวร้อน,ข่าวสด,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ch7 news,เช้านี้ที่หมอชิต,ข่าวเช้า,ข่าวเช้าช่อง 7,เช้านี้ที่หมอชิตวันนี้,เช้านี้ที่หมอชิต ล่าสุด,เช้านี้ที่หมอชิต ช่อง7,TERO Digital

320 ครั้ง
|
25 ก.ค. 2566
เช้านี้ที่หมอชิต - พรรคเพื่อไทย เดินหน้ารวมเสียงจัดตั้งรัฐบาล ด้วยการคุยอื่นข้ามขั้วเพื่อเพิ่มเสียงให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น พรรคภูมิใจไทย รวมไทยสร้างชาติ ชาติพัฒนากล้า ชาติไทยพัฒนา และ พลังประชารัฐ อย่างไรก็ตาม ในมุมมองนักวิชาการด้านการสื่อสาร รองศาสตราจารย์ ดอกเตอร์นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก มองว่า การที่เพื่อไทยเปิดทางให้แต่ละพรรคพูดเสียงเดียวกันว่า ไม่เอาก้าวไกล ก็เพื่อหวังผลบีบให้ก้าวไกลต้องตัดสินใจบางอย่างด้วยตนเอง
 
อาจารย์นันทนา กล่าวว่า การสื่อสารทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ได้เห็นกลยุทธ์ในการคุยกับพรรคการเมืองซีกข้าง 188 เสียง ว่าเหมือนเป็นการพูดคุยเจรจากัน แต่ถ้าดูสิ่งที่บรรดาพรรคต่าง ๆ ได้ออกมาพูดจะเห็นว่า ทุกพรรคพูดตรงกันเหมือนโดนสะกดจิตหมู่ คือ ถ้ามีก้าวไกล จะไม่ร่วม ตรงนี้ไม่น่าแปลกใจเพราะพรรคเหล่านี้ได้แสดงจุดยืนมาตลอดตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง แต่การที่พรรคเพื่อไทยไปเจรจาแล้วเปิดให้แต่ละพรรคออกมาพูด ทั้งที่ไม่จำเป็นต้องเปิดให้พูดก็ได้ วัตถุประสงค์ก็เพื่อต้องการให้พรรคการเมืองต่าง ๆ ออกมาพูดว่า ไม่ร่วมกับก้าวไกล กดดันให้พรรคก้าวไกลต้องแสดงอะไรบางอย่างออกมา เช่น พิจารณาตัวเองแล้วถอยออกไปเป็นฝ่ายค้าน 
 
แต่พรรคก้าวไกลเองก็มองเกมนี้อยู่ เรียกว่ารู้ทันก็ได้ ก็เลยออกมาพูดในทิศทางเดียวกัน ทั้ง นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร หรือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าพรรคก้าวไกลยังจับมือกับ 8 พรรคร่วมอย่างเหนียวแน่น และจะก้าวไปเป็นรัฐบาลร่วมกัน 
 
อาจารย์นันทนา ยังมองด้วยว่า หากพรรคเพื่อไทยให้พรรคก้าวไกลออกไปไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตาม ปัญหาที่ตามมาจะไม่ง่ายอย่างที่พรรคเพื่อไทยคิด เพราะหากย้อนกลับก่อนการเลือกตั้งสัก 2 เดือน จะเห็นการแข่งกันแสดงความชัดเจนในการไม่จับมือกับสองลุง ไม่ว่าจะเป็น คุณหมอชลน่าน หัวหน้าพรรค ว่าจะลาออกหากไปจับมือกับพรรคลุง ยิ่งช่วงใกล้เลือกตั้ง นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย ก็ออกมาย้ำว่า มีลุงไม่มีผม เช่นเดียวกับ คุณอุ๊งอิ๊ง แคนดิเดตอีกคนก็พยายามสื่อสารในทิศทางเดียวกันว่า มองหน้าเธอสิ แล้วจะเห็นว่าไม่สามารถร่วมกับคุณลุงทั้งหลายได้ ตรงนี้จึงเป็นสิ่งที่พรรคเพื่อไทยจะต้องไปตอบกับสังคม หากมีการข้ามขั้วไปจับมือกับพรรคที่สืบทอดอำนาจ เป็นเสียงข้างน้อย และเคยลั่นวาจาไว้โดยถีบก้าวไกลออกไป ซึ่งคำว่า เสียสัตย์เพื่อชาติ พลเอก สุจินดา คราประยูร เคยใช้และเสียหายมาแล้วในเหตุการณ์ประท้วงของประชาชน เดือนพฤษภาคม 2535 ดังนั้น พรรคเพื่อไทย จะต้องคิดให้ดี ๆ หากเลือกเดินทางนี้
 
สำหรับทางออก อาจารย์นันทนา บอกว่า ต้องจำบทเรียนความรีบร้อนตอนโหวตประชามติรับรัฐธรรมนูญ 2560 ให้ดี ตอนนั้นเขาบอกว่ารับ ๆ ไปก่อน เดี๋ยวค่อยแก้ ใช่หรือไม่ แล้วเราก็รีบรับเพราะอยากเลือกตั้ง แต่ความจริงแล้วมันแก้ไม่ได้ และสร้างปัญหามาถึงตอนนี้ที่ไม่สามารถมีรัฐบาลตามเสียงข้างมากของประชาชนได้ เสียงประชาชนมีความหมายน้อยกว่าเสียง 250 สว. คือ ความวิปริตของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
 
แต่ถ้าไม่รีบ อีก 9 เดือน สว. ก็จะพ้น 5 ปี ของบทเฉพาะกาลตามมาตรา 272 จะเป็นเรื่องของสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น บางคนบอกเศรษฐกิจจะไปไม่ไหว บ้านเมืองไปไม่รอด แต่ถ้าเรารีบเราจะได้รัฐบาลที่พิกลพิการเหมือนรัฐธรรมนูญที่พิกลพิการ สุดท้ายมันไม่แก้ปัญหา ระยะยาวยิ่งสร้างปัญหา ซึ่งถ้า 8 พรรค ผนึกกันแน่น รัฐบาลเสียงข้างน้อยตั้งไม่ได้แน่นอน โดนอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อไหร่ ก็จะเป็นรัฐบาลแรกในประวัติศาสตร์ที่โดนอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วพ้นสภาพไป และหาก สว. ยังยื้อไปเรื่อย ๆ คนที่จะตกเป็นจำเลยของสังคมก็จะเป็นตัวของ สว. เอง หรือถ้ายังยื้ออีกก็ต้องอดทนอีก 9 เดือน เพื่อให้เสียงของประชาชนคือสิ่งสำคัญที่สุด
 
พบกับรายการ “เช้านี้ที่หมอชิต” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 05.50-7.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/iquScDBk1Xs

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง