logo ข่าวเย็นประเด็นร้อน

เพื่อไทย คุย 5 พรรคการเมืองขั้วรัฐบาลเดิม ท่าทีเหมือนกัน ไม่เอา พรรคก้าวไกล

ข่าวเย็นประเด็นร้อน : ข่าวเย็นประเด็นร้อน - การเมืองสัปดาห์นี้ ยังคงร้อนระอุต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากพรรคก้าวไกล ส่งต่อการเป็นแกนนำจัดตั ช่อง7,ช่อง7HD,CH7,CH7HD,7HD,CH7HDNEWS,ข่าว,ข่าว7,ข่าวช่อง7,ข่าววันนี้,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ข่าวสด,ข่าวเด็ด,ข่าวด่วน,ข่าวร้อน,ข่าวไทย,ข่าวออนไลน์,ข่าวโซเชียล,ข่าวสังคม,ข่าวภูมิภาค,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวการเมือง,ดูทีวีย้อนหลัง,ดูรายการย้อนหลัง,ดูย้อนหลัง,ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,TERODigital,ข่าวเย็นประเด็นร้อน,สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,สงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์,เปรมสุดา สันติวัฒนา,ฝนฟ้าอากาศ,ทิน โชคกมลกิจ

296 ครั้ง
|
24 ก.ค. 2566
ข่าวเย็นประเด็นร้อน - การเมืองสัปดาห์นี้ ยังคงร้อนระอุต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากพรรคก้าวไกล ส่งต่อการเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และเพียงแค่เสาร์-อาทิตย์ 2 วันที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นมากมาย
 
เพื่อไทย คุย 5 พรรค ท่าทีเหมือนกัน ไม่เอา ก้าวไกล
 
ซึ่งถ้าจะเล่าถึงความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในวันนี้ ก็ต้องเล่าย้อนกันสั้น ๆ ว่า 2 วันที่ผ่านมานั้น พรรคเพื่อไทยได้เชิญพรรคการเมืองขั้วรัฐบาลเดิม 5 พรรคมาหารือ เริ่มจากวันเสาร์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรครวมไทยสร้างชาติ ตามมาด้วยในวันอาทิตย์ พรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งท่าทีของแต่ละพรรค เป็นไปในแนวทางเดียวกัน นั่นคือ สามารถร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้ พร้อมที่จะโหวตเลือกนายกฯ จากเพื่อไทย แต่ติดอยู่เงื่อนไขเดียว คือต้องไม่มีพรรคก้าวไกลรวมอยู่ด้วย จะมีพรรคชาติพัฒนากล้า ที่บอกเบาลงหน่อยว่า ต้องไม่แก้ 112
 
ท่าทีที่เกิดขึ้นตลอด 2 วัน ทำให้พรรคเพื่อไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างหนัก ว่ากำลังปฏิบัติการยืมปากพรรคขั้วรัฐบาลเดิม ซึ่งไม่เอาพรรคก้าวไกลอยู่แล้ว มาพูดบีบพรรคก้าวไกลหรือไม่ ซึ่งก็ทำให้มวลชนส่วนหนึ่งของกลุ่มทะลุวัง บุกเข้ามาสาดแป้งในพรรคเพื่อไทย เทช็อกมินต์ลงพื้น ในระหว่างที่พรรคพลังประชารัฐมาหารือที่พรรคเพื่อไทย และกำลังจะแถลงข่าวร่วมกัน ซึ่งก็เป็นพรรคเดียวที่ต้องรีบออกจากพรรคเพื่อไทยและไม่ได้แถลงข่าวร่วมกันเหมือน 4 พรรคก่อนหน้านั้น ต้องไปแยกแถลงที่พรรคพลังประชารัฐ
 
ส่วนพรรคเพื่อไทยเองนั้น ก็พยายามสื่อสารออกมาว่า นี่มิใช่การเชื้อเชิญมาหารือจัดตั้งรัฐบาล แต่เป็นเพียงการเชิญมาขอความเห็นเท่านั้น และความเห็นเหล่านี้ จะถูกนำไปพูดคุยกับ 8 พรรคร่วมในวันพรุ่งนี้
 
นอกจากนี้ บนท้องถนนเอง ช่วงค่ำเมื่อวานนี้ ก็มีมวลชนออกมาชุมนุมที่แยกอโศกมนตรี ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งนำโดยนายสมบัติ บุญงามอนงค์ บก.ลายจุด
 
มติผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นศาล รธน. ตีความรัฐสภาห้ามเสนอชื่อ พิธา ซ้ำ
 
แต่ว่าเรื่องการโหวตเลือกนายกฯ ต้องมีเรื่องให้ตีความกันอีกแล้ว จากกรณีที่การโหวตเลือกนายกฯ รอบ 2 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมรัฐสภา มีมติไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธา ซ้ำได้
 
ต่อมาได้มีนักวิชาการ 2 ท่านคือ นายพรชัย เทพปัญญา นักวิชาการอิสระ และนายบุญส่ง ชเลธร อาจารย์คณะนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิตไปยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยว่า การที่ที่ประชุมรัฐสภามีมติว่าการเสนอชื่อ นายพิธา เป็นการเสนอญัตติซ้ำนั้น เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพ ตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้หรือไม่ และหากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง ก็ขอให้มีคำสั่งไปยังที่ประชุมรัฐสภา ให้ยุติการเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
 
ล่าสุด เมื่อเวลา 14.30 น.ที่ผ่านมา พันตำรวจโท กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงว่า ตามที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้รับเรื่องร้องเรียนจากสมาชิกรัฐสภาและประชาชน จำนวน 17 คำร้องเรียน ผู้ตรวจแผ่นดิน ได้ประชุมปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกัน เห็นว่า การกระทำของรัฐสภาในการลงมติวินิจฉัยดังกล่าว เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ร้องเรียนโดยตรง โดยผู้ร้องเรียนเป็นสมาชิกรัฐสภาและประชาชนผู้ทรงสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ หากการกระทำของรัฐสภาดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นอันใช้ไม่ได้ และมีผลเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้ร้องเรียน
 
นอกจากนี้ คำร้องเรียนส่วนหนึ่ง ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุติการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีข้อวินิจฉัยในเรื่องนี้ออกมา ซึ่งเป็นคำขอเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดมาตรการหรือวิธีการใด ๆ เป็นการชั่วคราวก่อน ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดิน พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อป้องกันความเสียหายที่ยากแก่การเยียวยาในภายหลัง และเป็นคำขอที่อยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่จะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้ จึงได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้รัฐสภา ชะลอการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบ เพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญมีข้อวินิจฉัยในเรื่องนี้ออกมา ซึ่งก็เป็นดุลยพินิจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมกับข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่อไป
 
ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงวินิจฉัยให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ประกอบ มาตรา 46 แห่ง พ.ร.ป. ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561
 
ติดตาม รายการ “ข่าวเย็นประเด็นร้อน” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15.45-18.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
 
ชมผ่าน YouTube https://youtu.be/Y3Io5w3cFwI

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง