logo ข่าวเย็นประเด็นร้อน

นักวิชาการชี้ ! พรรคก้าวไกล เจอศึกหนักรอบด้าน | เบื้องหลังข่าว กับ กาย สวิตต์

ข่าวเย็นประเด็นร้อน : ข่าวเย็นประเด็นร้อน - ในมุมมองนักวิชาการ ทั้งด้านนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ มองว่าการโหวตเลือกนายกฯ รอบ 2 วันที่ 19 กรกฎาคมนี้ ช่อง7,ช่อง7HD,CH7,CH7HD,7HD,CH7HDNEWS,ข่าว,ข่าว7,ข่าวช่อง7,ข่าววันนี้,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ข่าวสด,ข่าวเด็ด,ข่าวด่วน,ข่าวร้อน,ข่าวไทย,ข่าวออนไลน์,ข่าวโซเชียล,ข่าวสังคม,ข่าวภูมิภาค,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวการเมือง,ดูทีวีย้อนหลัง,ดูรายการย้อนหลัง,ดูย้อนหลัง,ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,TERODigital,ข่าวเย็นประเด็นร้อน,สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,สงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์,เปรมสุดา สันติวัฒนา,ฝนฟ้าอากาศ,ทิน โชคกมลกิจ

386 ครั้ง
|
17 ก.ค. 2566
ข่าวเย็นประเด็นร้อน - ในมุมมองนักวิชาการ ทั้งด้านนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ มองว่าการโหวตเลือกนายกฯ รอบ 2 วันที่ 19 กรกฎาคมนี้ ถือเป็นศึกหนักของพรรคก้าวไกล กว่าการโหวตครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ สว.จะยกเรื่องข้อบังคับการประชุมมาคัดค้านการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ รวมถึงเรื่องที่อยู่ในศาลรัฐธรรมนูญอีก 2 เรื่อง ที่เปรียบเสมือนระเบิดเวลาของพรรคก้าวไกล นี่ยังไม่นับรวมสมการการเมืองที่อาจมีการพลิกเปลี่ยนได้ตลอด
 
รองศาสตราจารย์ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้สัมภาษณ์กับข่าวเย็นประเด็นร้อน ถึงสถานการณ์การเมืองเลือกนายกฯ คนที่ 30 ว่าวันที่ 19 กรกฎาคมนี้ สถานการณ์ของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล ไม่ง่ายเลย มีแต่จะยากขึ้น เชื่อว่าโครงสร้างของคะแนนจาก สว. จะเหมือนเดิมกับที่เคยโหวตเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม หรือไม่ก็อาจจะน้อยลง เพราะว่าพรรคก้าวไกล ตัดสินใจเสนอแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 272 เป็นการแสดงจุดยืนว่า ยืนตรงข้าม สว.ชัดเจน ซึ่งน่าสนใจว่า สว.ที่เคยโหวตให้ 13 เสียง จะตัดสินใจกับเรื่องนี้อย่างไร
 
นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ยังอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญอีก 2 เรื่อง เรื่องแรก กกต. ส่งให้ศาลวินิจฉัยคุณสมบัติของนายพิธา ซึ่งศาลจะประชุมวันพุธที่ 19 กรกฎาคม พอดี ถ้าศาลสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ระหว่างรอคำวินิจฉัย จะทำให้นายพิธา เข้าสภาไม่ได้ ยิ่งจะทำให้เกมการเมืองเปลี่ยน และในฝั่งของ สว. อาจมีการหยิบยกประเด็นอื่นมาเสนอได้ เช่น ประเด็นการเสนอชื่อนายพิธา เป็นนายกฯ จะเสนอซ้ำได้หรือไม่ ซึ่งอาจารย์มองว่านิยามความหมายของคำว่าญัตติ ที่เขียนไว้ในข้อบังคับประชุมสภาผู้แทนฯ คือ ข้อเสนอใด ๆ ที่มีความมุ่งหมายให้สภาฯ ดำเนินการหรือตัดสินใจ แต่การเลือกนายกฯ เป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 และมาตรา 159 รัฐธรรมสั่งให้ทำ เลือกตั้งมาแล้วต้องเปิดประชุมให้ได้ ส่วนอีกเรื่องที่อยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ คือ มีผู้ร้องว่าการเสนอแก้ มาตรา 112 ของพรรคก้าวไกล ล้มล้างการปกครองหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้จะถูกหยิบยกขึ้นมาเช่นกัน ซึ่งล้วนเป็นด่านยากของพรรคก้าวไกล
 
ส่วนในมุมมองของอาจารย์ด้านนิติศาสตรนั้น นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า เรื่องที่อยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ เปรียบเสมือนระเบิดลูกใหญ่ที่ฝังตัวอยู่ และยังไม่ถูกจุดชนวน สมมติว่านายพิธา ผ่านการโหวตเป็นนายกฯได้ แต่มีด่านใหญ่อีกตั้ง 2 เรื่อง ที่รออยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งเรื่องที่ยื่นว่าแก้ 112 เป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ และเรื่องที่ กกต.เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญเสนอวินิจฉัยคุณสมบัติ สส. กรณีนายพิธา ถือหุ้นสื่อ
 
ยังมีอาจารย์อีกท่านหนึ่ง รองศาสตราจารย์ธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์การเมืองและนโยบาย ที่บอกว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่ ๆ ยังไงนายพิธา ก็ไม่ผ่าน ร้ายที่สุดคือ ไม่มีโอกาสได้โหวตรอบ 2 ซึ่งอาจจะมาจากการลงมติว่าการเสนอชื่อนายพิธา เป็นการยื่นญัตติซ้ำ หรือจากการสั่งของศาลรัฐธรรมนูญให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งล้วนแต่ทำให้นายพิธา เดินต่อไม่ได้ ในขณะที่พรรคเพื่อไทยเอง แสดงจุดยืนมาตลอด และส่งสัญญาณว่าพรรคก้าวไกลเดินต่อลำบาก และดูเหมือนเพื่อไทยเองเกียร์ว่างด้วย เพราะสังเกตร่องรอยจาก สว.ที่สนิทกับทางฝั่งเพื่อไทย มีทั้งงดออกเสียงและไม่มาประชุม
 
ติดตาม รายการ “ข่าวเย็นประเด็นร้อน” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15.45-18.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
 
ชมผ่าน YouTube https://youtu.be/m_MQOFOv728

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง