logo เช้านี้ที่หมอชิต

“ครูจุ๊ย กุลธิดา” ชี้ ความรุนแรงในโรงเรียน คือวาระแห่งชาติ | ขยายข่าว กับ กาย สวิตต์

เช้านี้ที่หมอชิต : เช้านี้ที่หมอชิต - ขณะนี้หลายคนคงมีคำถามในใจว่าเกิดอะไรขึ้นในโรงเรียนหรือระบบการศึกษาบ้านเรา เมื่อโรงเรียนอาจไม่ใช่พื้นที่ปลอด ข่าว,ช่อง7สี,ช่อง7HD,กด35,ข่าวช่อง7,CH7HD,รายการ,ดูย้อนหลัง,คลิปย้อนหลัง,CH7HDNEWS,ข่าวการเมือง,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวบันเทิง,ข่าวโซเชียล,ข่าวออนไลน์,ข่าวสังคม,ข่าวอาชญากรรม,ข่าวกีฬา,ข่าวภูมิภาค,ข่าวด่วน,ข่าวเด็ด,ข่าวร้อน,ข่าวสด,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ch7 news,เช้านี้ที่หมอชิต,ข่าวเช้า,ข่าวเช้าช่อง 7,เช้านี้ที่หมอชิตวันนี้,เช้านี้ที่หมอชิต ล่าสุด,เช้านี้ที่หมอชิต ช่อง7,TERO Digital

314 ครั้ง
|
27 มิ.ย. 2566
เช้านี้ที่หมอชิต - ขณะนี้หลายคนคงมีคำถามในใจว่าเกิดอะไรขึ้นในโรงเรียนหรือระบบการศึกษาบ้านเรา เมื่อโรงเรียนอาจไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ๆ อีกต่อไป เช่นเดียวกับหลายคนที่เริ่มตั้งคำถามว่า การศึกษาอาจไม่ใช่สถานที่สำหรับเรียนรู้อย่างเปิดกว้าง แต่คือการปลูกฝังระบบอำนาจนิยมที่ทำให้ความสร้างสรรค์ไม่เติบโต
 
เป็นที่น่าตกใจว่าในรอบไม่ถึงหนึ่งเดือนมานี้ เราเห็นข่าวที่เกิดขึ้นในโรงเรียนมากมาย เช่น การใช้ขวานทำร้ายรุ่นน้องจนเสียชีวิต เพราะถูกเพื่อนล้อว่าชกต่อยแพ้และมีปัญหากันมานาน หรือล่าสุด กรณีน้องวัย 15 ปี ถูกเพื่อนบุลลีรูปร่าง จนกินยาเกินขนาดต้องนำส่งโรงพยาบาล ยังมีกรณีของครูที่สั่งเด็กลุกนั่งจนต้องเข้าโรงพยาบาล หรือกรณีของ น้องหยก ที่ถูกตัดชื่อออกจากระบบการศึกษาเพราะใส่ชุดไปรเวตไปเรียนและไม่มีผู้ปกครองมามอบตัว ก็ต้องยอมรับว่าเป็นอีกหนึ่งโจทย์ของระบบการศึกษาที่จะต้องจัดการเช่นกัน
 
เรามีโอกาสพูดคุยเรื่องนี้กับ ครูจุ๊ย กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ซึ่งเคยสัมผัสโลกของการศึกษาในอีกมุมหนึ่งจากการไปเล่าเรียนที่ฟินแลนด์ ประเทศที่ได้รับการยอมรับว่ามีการศึกษาดีที่สุดในโลก โดยครุจุ๊ยได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่นั่นทั้งในช่วงมัธยมปลาย และในฐานะนักศึกษาปริญญาโท ทำให้มองเห็นปัญหาและอยากเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย ผ่านการผลักดันนโยบายการศึกษา พรรคอนาคตใหม่ เคยเป็น สส.และหมดวาระไปพร้อมกับการยุบพรรค ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการมูลนิธิคณะก้าวหน้า ครูจุ๊ยมองปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนต้องมองให้ครบทั้งวงจร ถ้าจะบอกว่าเป็นเรื่องของโรงเรียนอย่างเดียวคงไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากปัญหาอาจมีรากฐานมาตั้งแต่เรื่องครอบครัว ไปจนสภาพสังคมที่แวดล้อมเด็กคนหนึ่งด้วย
 
ครูจุ๊ย อธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อปัญหาเกิดขึ้นและเข้าสู่โรงเรียน หลายครั้งปัญหาซับซ้อนและใหญ่เกินกว่าตัวคุณครู ดังนั้นการจัดการจะต้องเป็นความร่วมมือกันหลายหน่วยงาน หลายกระทรวง จะคิดเป็นแท่งแยกกันทำแบบเดิมไม่ได้ และจากปัญหายิ่งสะท้อนว่า หลายหน่วยงานต้องทำงานหนักกว่าเดิมมากๆแม้งานจะหนักอยู่แล้ว เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือกระทรวงสาธารณสุข เพราะต้องใช้ทักษะและองค์ความรู้คนละแบบกับครูในการดูแล ขณะที่ตัวครูเอง แม้ว่าจะสามารถเสริมทักษะในการจัดการสอนเรื่องการบุลลีให้เด็ก ๆ ได้ แต่ปัญหาใหญ่คือ เรายังไม่มีหลักสูตรเรื่องนี้ให้กับครูมากพอ
 
ครุจุ๊ย กล่าวว่า ถ้าไม่แก้ปัญหาเหล่านี้ ไม่ว่าความรู้สึกไม่ปลอดภัยในโรงเรียน ปัญหาอำนาจนิยม ปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพ ซึ่งการที่เด็ก ๆ โดนจำกัดเสรีภาพมาก ๆ ก็จะมีผลต่อสภาพจิตใจด้วย อย่างไรก็ตาม ครูจุ๊ย บอกว่า แม้ว่างานนี้จะต้องแก้เป็นงานระยะยาว แต่สามารถเริ่มต้นทำสิ่งที่สำคัญมากได้ทันที นั่นก็คือการเก็บข้อมูลเพื่อให้วางแผนในอนาคตได้
 
พบกับรายการ “เช้านี้ที่หมอชิต” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 05.50-7.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/FgVSCF3NW4o