logo ข่าวเย็นประเด็นร้อน

ไร้ปาฏิหาริย์ ! สหรัฐฯ พบซาก “เรือดำน้ำไททัน” ยัน 5 ชีวิตดับยกลำ | เบื้องหลังข่าว กับ กาย สวิตต์

ข่าวเย็นประเด็นร้อน : ไม่มีปาฏิหาริย์ สำหรับภารกิจค้นหาเรือดำน้ำไททัน เมื่อหน่วยยามชายฝั่งของสหรัฐอเมริกา ออกมาแถลงว่ายานสำรวจใต้น้ำของเรือ Horiz ช่อง7,ช่อง7HD,CH7,CH7HD,7HD,CH7HDNEWS,ข่าว,ข่าว7,ข่าวช่อง7,ข่าววันนี้,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ข่าวสด,ข่าวเด็ด,ข่าวด่วน,ข่าวร้อน,ข่าวไทย,ข่าวออนไลน์,ข่าวโซเชียล,ข่าวสังคม,ข่าวภูมิภาค,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวการเมือง,ดูทีวีย้อนหลัง,ดูรายการย้อนหลัง,ดูย้อนหลัง,ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,TERODigital,ข่าวเย็นประเด็นร้อน,สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,สงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์,เปรมสุดา สันติวัฒนา,ฝนฟ้าอากาศ,ทิน โชคกมลกิจ

1,013 ครั้ง
|
23 มิ.ย. 2566
ไม่มีปาฏิหาริย์ สำหรับภารกิจค้นหาเรือดำน้ำไททัน เมื่อหน่วยยามชายฝั่งของสหรัฐอเมริกา ออกมาแถลงว่ายานสำรวจใต้น้ำของเรือ Horizon Artic พบเศษชิ้นส่วนของเรือดำน้ำไททัน กระจัดกระจายอยู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับซากเรือไททานิก ซึ่งเกิดจากการระเบิดแบบยุบตัว หรือ Implosion พร้อมกับยืนยันการเสียชีวิตของลูกเรือที่โดยสารไปกับเรือไททันทั้ง 5 คน 
 
ความคืบหน้าการค้นหาเรือดำน้ำไททัน ของบริษัทโอเชียนเกต เอ็กซ์พิดิชั่น ที่หายสาบสูญ พร้อมลูกเรือ 5 คน ระหว่างดำดิ่งลงไปท่องเที่ยวชมซากเรือไททานิก หน่วยยามชายฝั่งสหรัฐอเมริกา แถลงระบุว่า ยานสำรวจใต้น้ำไร้คนขับ หรือ ROV จากเรือ Horizon Arctic พบชิ้นส่วนหางของเรือดำน้ำขนาดเล็กไททัน ห่างจากซากส่วนท้ายเรือไททานิกประมาณ 490 เมตร ที่บริเวณก้นมหาสมุทร ก่อนที่จะพบชิ้นส่วนอื่น ๆ ของเรือไททันทั้งหมด 5 ชิ้น ชิ้นส่วนหลักที่พบ ได้แก่ กรวยหางเรือดำน้ำ แท่นลงจอด และส่วนของช่องหน้าต่างด้านหน้า ซึ่งเป็นผลจากการถูกบีบอัดอย่างรุนแรงเฉียบพลัน หรือ Implosion ส่วนผู้โดยสารทั้ง 5 คน เสียชีวิตทั้งหมด แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะค้นหาร่างของผู้เสียชีวิตพบหรือไม่ เนื่องจากสภาพแวดล้อมเป็นอุปสรรค
 
ความลึกจากผิวน้ำที่เรือดำน้ำไททัน ดำดิ่งลงไปนั้น ลึกถึง 3,800 เมตร ซึ่งถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัด ตึกใบหยกที่คนไทยรู้จักชื่อเสียงความสูงนั้น สูงที่ 304 เมตร ต้องใช้ตึกใบหยกมาต่อกัน 12-13 ตึก จึงจะเท่ากับความลึก 3,800 เมตร ที่เรือดำน้ำไททันดำลงไป
 
นาวาเอกวีรุตม์ ฉายะจินดา ครูฝึกเรือดำน้ำ กองทัพเรือ ให้สัมภาษณ์ ข่าวเย็นประเด็นร้อน เกี่ยวกับเรื่องแรงบีบอัดของน้ำใต้ทะเลลึกว่า แรงกดน้ำทะเลมีค่า 1 บาร์ ต่อความลึก 10 เมตร ดังนั้น ค่าความแตกต่างของความดันภายในตัวเรือ และนอกหัวเรือ ที่ความลึก 4 พันเมตร ประมาณ 400 บาร์ หรือ 4 พันตัน หรือเปรียบเทียบง่าย ๆ คือแรงทับของรถยนต์ 2 พันคัน บนพื้นที่ 1 ตารางเมตร
 
นาวาเอกวีรุตม์ ฉายะจินดา บอกด้วยว่า การระเบิดแบบ Impolsion เป็นกระบวนที่ตรงข้ามกับ Explosion หรือการระเบิดออกจากศูนย์กลาง ซึ่งในกรณีนี้คือการยุบตัวของตัวเรือทนความดันที่ไม่สามารถรับภาระแรงที่เกิดจากความแตกต่างระหว่างความดันจากภายในละภายนอกที่ต่างกันอย่ามหาศาลได้ 
 
ส่วนเรือดำน้ำมีหลายแบบ ซึ่งความลึกที่ทนได้ ก็แตกต่างกันไปตามความต้องการการใช้งานแต่ละประเภท เช่น เรือดำน้ำทางทหารกออกแบบให้เพียงพอต่อความลึกที่ใช้ในการปฏิบัติการทางยุทธวิธี ซึ่งอยู่ประมาณ 500 เมตร ถึง 1 พันเมตร เรือดำน้ำกู้ภัยทั่วไปก็ออกแบบมาให้พอที่จะดำลงไปทำการช่วยเหลือกำลังพลของเรือดำน้ำทางทหารที่เกิดเหตุจนไม่สามารถขึ้นสู่ผิวน้ำด้วยตัวเองได้ สำหรับในกรณีนี้เป็นเรือดำน้ำที่ถูกออกแบบมาสำหรับใช้ในการสำรวจทะเลลึกมาก ๆ ถึง 4000 ม. มีไม่กี่ลำในโลก
 
ด้านบริษัทโอเชียนเกต ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อความสูญเสียในครั้งนี้ รวมถึงครอบครัวของทั้ง 5 คนบนเรือ พร้อมระบุว่า นี่เป็นช่วงเวลาอันเศร้าโศกของบรรดานักสำรวจใต้สมุทร และขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมภารกิจค้นหาเรือดำน้ำไททัน
 
สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 5 คนบนเรือดำน้ำไททัน ประกอบด้วย
1.สต็อกตัน รัช (Stockton Rush) CEO บริษัท OceanGate วัย 61 ปี 
2. ชาห์ซาดา ดาวูด (Shahzada Dawood)  นักธุรกิจเชื้อสายปากีสถาน วัย 48 ปี
3. สุเลมาน ดาวูด (Suleman Dawood) ลูกชายของเขา วัย 19 ปี
4. ฮามิช ฮาร์ดิง (Hamish Harding) นักสำรวจชายอังกฤษ ที่เคยไปอวกาศ วัย 58 ปี
5. พอล-อองรี นาร์เกโอเลท (Paul-Henri Nargeolet) อดีตนักดำน้ำกองทัพเรือฝรั่งเศส ที่มีประสบการณ์อย่างมาก วัย 77 ปี
 
ขณะที่เอ็นบีซีนิวส์ ของสหรัฐ รายงานว่า ครอบครัวของนายชาห์ซาดา ดาวูด นักธุรกิจชาวปากีสถาน และนายสุเลมาน ดาวูด ลูกชาย ซึ่งเป็น 2 ใน 5 ผู้โดยสารเรือดำน้ำไททัน ผู้เป็นลูกชาย คือนายสุเลมาน รู้สึกหวาดกลัว และไม่อยากร่วมทริปในครั้งนี้ แต่อยากให้พ่อมีความสุขเลยตัดสินใจไปด้วย
 
ย้อนไทม์ไลน์เหตุการณ์นี้ เริ่มจาก
วันที่ 16 มิถุนายน เรือดำน้ำไททัน พร้อมเรือแม่ โพลาร์ ปรินซ์ (Polar Prince)  เดินทางออกเดินทางจากเมืองเซนต์จอห์น รัฐนิวฟันด์แลนด์ ประเทศแคนาดา 
วันที่ 18 มิถุนายน เรือดำน้ำไททันเริ่มต้นเดินทางไปยังซากเรือไททานิคตั้งแต่ช่วงเช้า ก่อนขาดการติดต่อกับเรือโพลาร์ ปรินซ์ (Polar Prince) ในเวลา 1 ชั่วโมง 45 นาทีให้หลัง เร็วกว่ากำหนดการเดินทางสู่จุดหมาย 2 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่เริ่มต้นออกปฏิบัติการค้นหาในวันเดียวกัน
วันที่ 19 มิถุนายน บริษัทโอเชียนเกต แถลงยืนยันการสูญหายของเรือดำน้ำไททัน 
วันที่ 20 มิถุนายน หน่วยยามฝั่งสหรัฐอเมริกา เริ่มภารกิจค้นหาเรือดำน้ำไททัน
วันที่ 21 มิถุนายน ตรวจพบสัญญาณเสียงรบกวนใต้น้ำแต่ได้สูญหายไป 
วันที่ 22 มิถุนายน หน่วยยามชายฝั่งสหรัฐอเมริกา ระบุ ยานสำรวจใต้น้ำไร้คนขับ หรือ ROV จากเรือ Horizon Arctic พบชิ้นส่วนหางของเรือดำน้ำขนาดเล็กไททัน 
 
ธุรกิจเรือดำน้ำไททันของบริษัทโอเชียนเกตนั้น ให้บริการเรือดำน้ำแบบมีลูกเรือ ที่มีวัตถุประสงค์ในการสำรวจวิจัย เป็นเรือดำน้ำขนาดเท่ารถบรรทุก น้ำหนัก 23,000 ปอนด์ ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ และไททาเนียม บรรทุกผู้โดยสาร 5 คน ดำลงไปใต้ท้องทะเล ลึกลงไป 3,800 เมตร ใต้ผิวมหาสมุทร โดยมีออกซิเจนเพียงพอสำหรับ 4 วัน หรือ 96 ชั่วโมง
 
สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ของสหรัฐ รายงานว่า อดีตพนักงานของโอเชียนเกต 2 คน เคยแสดงความกังวลต่อความปลอดภัยของเรือ ทั้งความหนาของตัวถัง ก่อนที่บริษัทจะเลิกจ้างพวกเขา หนึ่งในนั้นคือ เดวิด ล็อคริดจ์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางทะเลของบริษัท อ้างในการยื่นฟ้องต่อศาลว่า เขาถูกเลิกจ้างโดยมิชอบในปี 2561 เนื่องจากแสดงความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย และการทดสอบเรือไททัน ซึ่งเขาได้รับมอบหมายจาก สต็อกตัน รัช ซีอีโอ บริษัทโอเชียนเกต เพื่อตรวจสอบเรือดำน้ำ โดยได้แสดงความกังวลว่า ไม่มีการทดสอบแบบไม่ทำลายบนตัวเรือไททัน เพื่อตรวจหาการหลุดร่อน ความพรุน และช่องว่างของการยึดเกาะที่เพียงพอ และได้รับแจ้งว่าไม่มีอุปกรณ์ที่เพียงพอ
 
ขณะที่อดีตพนักงานอีกคนของโอเชียนเกททำงานสั้น ๆ ในบริษัทช่วงเดียวกัน ก็มีความกังวลเกี่ยวกับถังคาร์บอนไฟเบอร์ ตัวถังถูกสร้างขึ้นมาให้มีความหนาเพียงแค่ 5 นิ้วเท่านั้น ซึ่งเขาถูกเลิกจ้างทันที จึงลาออก
 
ด้านเจมส์ คาเมรอน ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ไททานิก เมื่อปี 2540 ซึ่งเคยดำลงไปสำรวจซากเรือไททานิกมาแล้ว 33 ครั้ง บอกกับสำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษ ว่า เขาคาดการณ์ไว้แล้วว่า สถานการณ์จะจบลงเช่นนี้ เขารู้สึกเลยว่าเกิดอะไรขึ้น ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเรือดำน้ำล้มเหลว ระบบสื่อสารล้มเหลว ระบบตรวจจับสัญญาณล้มเหลวพร้อม ๆ กัน แล้วเรือดำน้ำก็หายไป
 
เจมส์ คาเมรอน บอกด้วยว่า รู้สึกตกใจที่มันเหมือนกับหายนะของเรือไททานิก ซึ่งกัปตันเรือได้รับคำเตือนซ้ำ ๆ หลายครั้ง แต่กลับไม่สนใจ และแล่นเรือด้วยความเร็วเต็มพิกัด จนชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ข้างหน้าอย่างรุนแรง ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากเสียชีวิต และสำหรับโศกนาฏกรรมที่คล้ายคลึงกันมาก ซึ่งมีสาเหตุจากการเพิกเฉยต่อคำเตือน และเกิดขึ้นในสถานที่เดียวกัน คิดว่ามันน่าประหลาดใจ และค่อนข้างเหนือจริงอย่างยิ่ง 
 
เรือไททานิก หรือเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก ชนภูเขาน้ำแข็งในมหาสมุทรแอตแลนติก จมลงในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455 หลังจากออกเดินทางวันที่ 12 เมษายน จากท่าเรือที่เซาแธมป์ตัน อังกฤษ ไปยังนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ไททานิก จัดเป็นเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ หรือเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ เวลานั้น บุคคลที่มีฐานะร่ำรวยต้องการคมนาคมข้ามประเทศจึงเลือกใช้บริการ เรือไททานิกมีผู้โดยสาร 2,208 คน แบ่งเป็นลูกเรือ 860 คน ขณะเกิดเหตุ เรือบด หรือเรือช่วยชีวิต ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,514 คน และถ้านับจากวันที่เรือไททานิกจมลงจนถึงวันนี้ เป็นเวลา 111 ปี
 
ปิดท้ายที่ การเดินทางกับเรือดำน้ำไททัน มีผู้ถอนตัวทั้งที่จ่ายเงินแล้ว ทำให้เขารอดชีวิต ชายคนนั้นชื่อ คริส บราวน์ ( Chris Brown) นักสำรวจชื่อดังมากประสบการณ์ ซึ่งในตอนแรกก็เป็นหนึ่งในสมาชิกที่ลงทะเบียนเพื่อขึ้นเรือไททัน ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง CNN ว่า เขาขอถอนตัวเพราะมันดูเหมือน ไม่ใช่ปฏิบัติการดำน้ำแบบมืออาชีพ บราวน์ กล่าวว่า เขาลงทะเบียนนั่งเรือดำน้ำไททันในปี 2560 เพื่อเยี่ยมชมซากเรือไททานิค แต่ก็แจ้งขอถอนตัว และทิ้งเงินมัดจำ หลังจากที่เขาประเมินว่า ดูเหมือนจะมีความเสี่ยงมากมายที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของฉัน
 
ติดตาม รายการ “ข่าวเย็นประเด็นร้อน” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15.45-18.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35
 
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/dDs3_rd8nGE

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง