logo เช้านี้ที่หมอชิต

ปฏิเสธผู้อุปการะ “หยก” เข้าข่ายละเมิดสิทธิเด็ก ผิดกฎหมายไทย-สากล | ขยายข่าว กับ กาย สวิตต์

เช้านี้ที่หมอชิต : เช้านี้ที่หมอชิต - ทำไมการปฏิเสธผู้อุปการะเพื่อช่วยให้ น้องหยก ได้กลับเข้าเรียน อาจถือเป็นการกีดกัน-เลือกปฏิบัติ และผิดทั้งกฎห ข่าว,ช่อง7สี,ช่อง7HD,กด35,ข่าวช่อง7,CH7HD,รายการ,ดูย้อนหลัง,คลิปย้อนหลัง,CH7HDNEWS,ข่าวการเมือง,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวบันเทิง,ข่าวโซเชียล,ข่าวออนไลน์,ข่าวสังคม,ข่าวอาชญากรรม,ข่าวกีฬา,ข่าวภูมิภาค,ข่าวด่วน,ข่าวเด็ด,ข่าวร้อน,ข่าวสด,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ch7 news,เช้านี้ที่หมอชิต,ข่าวเช้า,ข่าวเช้าช่อง 7,เช้านี้ที่หมอชิตวันนี้,เช้านี้ที่หมอชิต ล่าสุด,เช้านี้ที่หมอชิต ช่อง7,TERO Digital

452 ครั้ง
|
20 มิ.ย. 2566
เช้านี้ที่หมอชิต - ทำไมการปฏิเสธผู้อุปการะเพื่อช่วยให้ น้องหยก ได้กลับเข้าเรียน อาจถือเป็นการกีดกัน-เลือกปฏิบัติ และผิดทั้งกฎหมายไทยและหลักสากล เราจะไปขยายความเรื่องนี้กับ คุณสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ Human Rights Watch ประจำประเทศไทย
 
คุณสุณัย กล่าวว่า แถลงของโรงเรียนกรณี หยก ทั้ง 2 ครั้ง บ่งชี้ว่าการไม่สามารถหาผู้ปกครองตามสายโลหิตมาเซ็นมอบตัวตามเวลาที่กำหนด ได้ถูกนำมาเป็นเงื่อนไขตัดโอกาสรับหยกเข้าเรียน ทั้งที่ประเด็นที่ หยก ไม่สามารถติดต่อกับพ่อแม่ได้ โรงเรียนรับทราบมาตลอด เพราะโรงเรียนได้ส่งครูไปที่บ้าน พบว่าไม่สามารถติดต่อกับคุณแม่ของหยกได้ ซึ่งในกรณีนี้กฎหมายเปิดช่องเป็นทางออกไว้อยู่แล้ว
 
ผู้อุปการะในกรณี หยก คือ บุ้ง ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าดูแลหยกอยู่และยืนยันอ้างอิงได้ โรงเรียนเองก็ยอมรับให้ทำหน้าที่มอบตัวได้ในตอนต้น แต่ทำไมจึงมาตัดทางเลือกที่จะรักษาสิทธิต่อไป จึงเป็นการวินิจฉัยตามอำเภอใจทั้งที่กฎหมายเปิดช่องไว้ แล้วใช้เป็นเงื่อนไขในการกีดกันจนกลายเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก เพราะสิทธิในการได้เรียนหนังสือเป็นสิทธิพื้นฐาน ดังนั้น ทางออกในเรื่องนี้มี 2 แบบ คือ แนวทางประนีประนอมเจรจา และแนวทางการเผชิญหน้า
 
ส่วนเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกเป็นประเด็นคู่ขนาน เมื่อรับเข้าเรียนได้ก็ไม่ควรถูกริดรอนโดยอ้างว่าเรียนหนังสือแล้วต้องสงบปากสงบคำ กรณีของหยก ไม่ได้ไปคุกคามคนอื่น แต่ใช้เนื้อตัวร่างกายของตัวเองเป็นสัญญะในการเรียกร้องสิทธิ แต่ไม่ได้ไปบังคับคนอื่นหรือสร้างความปั่นป่วน ตามหลักสิทธิมนุษยชนถือว่ายังอยู่ในกรอบการแสดงออกที่ได้รับการคุ้มครองอยู่ นอกจากนี้ คุณสุณัย มีสิ่งที่อยากฝากไปถึงผู้อำนวยการโรงเรียน
 
คุณสุณัย บอกว่า แม้วงเจรจาครั้งแรกจะล่ม แต่เริ่มเห็นท่าทีจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่แสดงตัวเป็นตัวกลางแก้ปัญหาในเรื่องนี้มากขึ้น เช่น ล่าสุดมีแถลงการณ์ออกมาจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เชื่อว่าจะมีส่วนกระตุ้นบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้นด้วย ไม่ว่ากระทรวงศึกษา หรือ สพฐ. อย่างไรก็ตาม เรื่องที่น่ากังวลก็ยังมี คือท่าทีของผู้อำนวยการที่ปฏิเสธคุยกับตัวกลางจากตัวแทนเด็ก นักสิทธิเด็ก หรือพรรคการเมืองที่พร้อมช่วยเจรจาเมื่อวานนี้ แต่เลือกใช้เวทีพูดคุยเฉพาะตัวแทนจากภาครัฐในการหารือแก้ปัญหาเท่านั้น ดังจดหมายล่าสุดที่ทางโรงเรียนส่งถึงผู้ปกครอง ระบุว่าจะมีการหารือเรื่องนี้ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ซึ่งจะพบว่ามีเฉพาะตัวแทนฝั่งที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนทั้งสิ้น
 
พบกับรายการ “เช้านี้ที่หมอชิต” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 05.50-7.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/k_VHsFQDCSY

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง