logo เช้านี้ที่หมอชิต

“จาตุรนต์” ย้ำหลักการ เมื่อเด็กอยากเรียน โรงเรียนต้องเปิดประตู | ขยายข่าว กับ กาย สวิตต์

เช้านี้ที่หมอชิต : เช้านี้ที่หมอชิต - ต่อเนื่องจากกรณี น้องหยก เรามีโอกาสได้พูดคุยเรื่องนี้กับ คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ว่าที่ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื ข่าว,ช่อง7สี,ช่อง7HD,กด35,ข่าวช่อง7,CH7HD,รายการ,ดูย้อนหลัง,คลิปย้อนหลัง,CH7HDNEWS,ข่าวการเมือง,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวบันเทิง,ข่าวโซเชียล,ข่าวออนไลน์,ข่าวสังคม,ข่าวอาชญากรรม,ข่าวกีฬา,ข่าวภูมิภาค,ข่าวด่วน,ข่าวเด็ด,ข่าวร้อน,ข่าวสด,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ch7 news,เช้านี้ที่หมอชิต,ข่าวเช้า,ข่าวเช้าช่อง 7,เช้านี้ที่หมอชิตวันนี้,เช้านี้ที่หมอชิต ล่าสุด,เช้านี้ที่หมอชิต ช่อง7,TERO Digital

204 ครั้ง
|
19 มิ.ย. 2566
เช้านี้ที่หมอชิต - ต่อเนื่องจากกรณี น้องหยก เรามีโอกาสได้พูดคุยเรื่องนี้กับ คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ว่าที่ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่ง คุณจาตุรนต์ ย้ำกับเราว่า ไม่ว่าสังคมกำลังถกเถียงกันในประเด็นใดอยู่ แต่โรงเรียนและหน่วยงานต่าง ๆ ต้องไม่ลืมหลักการสำคัญที่สุดนั่นคือการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กให้ได้รับการศึกษา
 
คุณจาตุรนต์ ขยายความว่า การศึกษาเป็นสิทธิพื้นฐาน และเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่โรงเรียนที่จะต้องส่งเสริม และคุ้มครองเด็กที่ต้องการเรียนให้ได้เรียน แต่กรณี หยก โรงเรียนจัดการโดยไม่ยึดหลักนี้ ไปยึดกฎระเบียบที่ว่า เด็กที่มามอบตัวต้องมีผู้ปกครอง พอไม่มีถือว่าไม่สมบูรณ์ และยังไม่รับเด็กเข้าอยู่ในระบบ
 
อย่างไรก็ตาม คุณจาตุรนต์ บอกว่า มีข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่อยากให้รู้ตรงกันก็คือ ในสังคมไทยมีเด็กอีกจำนวนมาก ซึ่งน่าจะถึงหลักแสนคนที่ต้องออกจากระบบการศึกษาซึ่งขณะนี้กำลังเกิดทุกวัน โดยเฉพาะช่วงหลังโควิด-19 เด็กกลุ่มนี้ต้องออกมาทำงานช่วยผู้ปกครอง และพ่อแม่ไม่อยากให้มาเรียนแล้ว แต่ถามว่าถ้าเด็กเหล่านี้เขาสอบติดโรงเรียนมีชื่อเสียงได้ เขาอยากมาเรียน จะทำอย่างไร สิ่งที่เราต้องคิดคือการคุ้มครองเด็กให้เขามาเรียนได้ ดังนั้น ที่ว่าต้องมีผู้ปกครองจึงเป็นเรื่องเล็ก ถ้าไม่มีก็ต้องเป็นหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียน และครู ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาผู้ปกครองให้ โดยช่วงที่ยังไม่ได้ก็ต้องให้เขามาเรียนด้วย
 
อีกประเด็นสำคัญที่เราถามในกรณีของ น้องหยก คือการทำผิดกฎระเบียบของโรงเรียน คุณจาตุรนต์ บอกว่า เป็นเรื่องที่ซ้อนกัน โดยเรื่องนี้นำมาก่อนที่เราจะรู้ว่ามีเรื่องของการไม่ได้รับเด็กเข้าเรียนเพราะเขาไม่มีผู้ปกครอง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเรื่องนี้เกิดขึ้น คุณจาตุรนต์ ก็มีมุมมองและข้อเสนอในเรื่องนี้เช่นกัน
 
ทั้งนี้ คุณจาตุรนต์ กล่าวว่า นี่คือตัวอย่างว่าระเบียบใดระเบียบหนึ่งไม่ได้หมายความว่ามันจะถูกต้องเสมอไป หรือไม่ควรแก้ไขมันเลย ขณะเดียวกัน เราก็มีตัวอย่างมากมายทั้งในประเทศไทยหรือต่างประเทศที่ให้เด็กแต่งตัวไปรเวตไปเรียนและจัดการเรียนการสอนได้ดี ดังนั้น การที่มีเด็กบอกว่าเขาต้องการแต่งตัวไพรเวต หรือ เสรีทรงผม จะไปบอกว่าอะไรถูกหรือผิดทันทีไม่ได้ แต่อยู่ ๆ ไปออกกฎบอกให้เขาเปลี่ยนไปเป็นไพรเวตทันทีชั่วพริบตาก็อาจมีเสียงโต้แย้งเช่นเดียวกัน เพราะคนที่เห็นด้วยกับการแต่งเครื่องแบบก็มี เพราะฉะนั้น สิ่งที่ต้องทำคือส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน
 
ที่ผ่านมาโรงเรียนเองก็มีปัญหาเรื่องกฎระเบียบเกี่ยวกับการแต่งกายหรือทรงผมเป็นระยะ คือ แม้มีระเบียบผ่อนปรนจากกระทรวงแล้ว แต่โรงเรียนไม่ผ่อนปรนตาม และครูก็ไม่ทำตามระเบียบของกระทรวงศึกษา ทั้งยังมีการละเมิดเด็กมากมาย เหล่านี้จึงต้องพูดคุยหารือกันเพื่อหาจุดพอดีและมีหลัก เช่น การเคารพสิทธิพื้นฐานไม่ละเมิดบังคับเด็ก นอกจากนี้ อีกสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ต้องตั้งคำถามว่า เราต้องการสร้างเด็กแบบไหนในโลกปัจจุบัน เพราะขณะที่สังคมไทยและระบบการศึกษาอ่อนแอในเรื่องการสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ หรือมีทักษะใหม่ ๆ ในศตวรรษที่ 21 เราจะสร้างอย่างไร เพราะต้องยอมรับว่าการมีกฎระเบียบเป๊ะ ๆ มันขัดกันอยู่กับคุณลักษณะที่เราอยากให้เป็น
 
นอกจากนี้ คุณจาตุรนต์ ยังกล่าวถึงบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการในสถานการณ์นี้ด้วยว่า ค่อนข้างช้าเกินไป ความจริงแล้วควรเข้าไปดู โดยให้ สพฐ. ประสานเขตพื้นที่ เพื่อคุยกับโรงเรียนว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเอกสิทธิของโรงเรียน เพราะไปละเมิดหลักการใหญ่ นั่นคือการลิดรอนสิทธิของเด็กในการได้รับการศึกษาซึ่งที่สำคัญคือเขาสอบเข้าได้ด้วย
 
พบกับรายการ “เช้านี้ที่หมอชิต” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 05.50-7.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/Srszn-Ye9TUhttps://youtu.be/Srszn-Ye9TU