1. ตั้งราคาตามต้นทุน โดย ตั้งต้นทุน + กำไรที่ต้องการ ไปเลย แต่คำว่าต้นทุนในที่นี้หมายถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น ค่าต้นทุนสินค้า + ค่าแรง + ค่าบรรจุภัณฑ์ + ค่าจัดส่ง เป็นต้น กลยุทธ์นี้ถือเป็นกลยุทธ์พื้นฐานซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด
2. ตั้งราคาตามลูกค้า กลยุทธ์นี้ต้องพิจารณากลุ่มลูกค้าก่อนว่าลูกค้าของเราเป็นผู้คนกลุ่มใด เช่น กลุ่มรายได้น้อย รายได้ปานกลาง รายได้มาก เป็นต้น เพื่อผลิตหรือเลือกขายสินค้าตามคุณภาพ และกำหนดราคาให้เหมาะสมด้วย
3. ตั้งราคาตามคู่แข่ง เช่น ร้านค้าที่ขายของประเภทเดียวกัน ตั้งราคาใกล้เคียงกัน ต้องแข่งขันกันเรื่องบริการ และเน้นการขายให้ได้ปริมาณมากกว่า
1. ตั้งราคาลงท้ายด้วย 9 ส่งผลต่อความรู้สึกของลูกค้า ทำให้รู้สึกว่าราคาไม่แพงเกินไป เช่น 990 บาท หรือ 490 บาท เป็นต้น
2. ตั้งราคาลงท้ายด้วย 0 หรือ 5 เพื่อให้คำนวณง่าย เช่น ราคาอาหารที่ปรับขึ้นจาก 30 บาท เป็น 35 บาท โดยต้นทุนอาจปรับขึ้นเพียง 1-3 บาท เท่านั้น
3. ตั้งราคาแบบซื้อแล้วแถม ซึ่งมีผลวิจัยว่า การตั้งราคาแบบ ซื้อ 1 แถม 1 ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า การตั้งราคาแบบ ส่วนลด 50% ทั้ง ๆ ที่มีผลลัพธ์เท่ากัน แต่ด้วยหลักจิตวิทยาแล้ว การที่ลูกค้าซื้อสินค้าแล้วได้ของแถม ทำให้เกิดความรู้สึก "จุใจกว่า" นั่นเอง
4. ตั้งราคาให้เหลื่อม เช่น เครื่องดื่มแก้วเล็ก 25 บาท กับ เครื่องดื่มแก้วใหญ่ 30 บาท เป็นการกระตุ้นการขาย ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกได้ความคุ้มค่ามากกว่า จึงตัดสินใจซื้อแก้วใหญ่แทน
TERO Digital
เงินทองของจริง
โคชหนุ่ม
กาย สวิตต์
เศรษฐกิจ
การเงิน
การลงทุน
ธุรกิจ
ร้านค้า
กลยุทธ์การตลาด
กลยุทธ์การตั้งราคา