logo เช้านี้ที่หมอชิต

นักวิชาการนิติศาสตร์-รัฐศาสตร์ มองปลายทางคดี “พิธา” ถือหุ้นสื่อฯ | ขยายข่าว กับ กาย สวิตต์

เช้านี้ที่หมอชิต : เช้านี้ที่หมอชิต - กรณีของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือหุ้นไอทีวี นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ มองว่า หากเทียงเคียงกับ 2 กรณีที่ทั้งศ ข่าว,ช่อง7สี,ช่อง7HD,กด35,ข่าวช่อง7,CH7HD,รายการ,ดูย้อนหลัง,คลิปย้อนหลัง,CH7HDNEWS,ข่าวการเมือง,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวบันเทิง,ข่าวโซเชียล,ข่าวออนไลน์,ข่าวสังคม,ข่าวอาชญากรรม,ข่าวกีฬา,ข่าวภูมิภาค,ข่าวด่วน,ข่าวเด็ด,ข่าวร้อน,ข่าวสด,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ch7 news,เช้านี้ที่หมอชิต,ข่าวเช้า,ข่าวเช้าช่อง 7,เช้านี้ที่หมอชิตวันนี้,เช้านี้ที่หมอชิต ล่าสุด,เช้านี้ที่หมอชิต ช่อง7,TERO Digital

362 ครั้ง
|
07 มิ.ย. 2566
เช้านี้ที่หมอชิต - กรณีของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือหุ้นไอทีวี นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ มองว่า หากเทียงเคียงกับ 2 กรณีที่ทั้งศาลฎีกาเคยตัดสิน และศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยก่อนหน้านี้ ก็ต้องยกคำร้อง ในขณะที่นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ตั้งข้อสังเกต คนในสังคมมัวแต่สนใจผู้ถูกร้องคือ นายพิธา แต่ลืมสนใจผู้ร้องที่ดูเหมือนจะมีการเตรียมการเป็นขั้นเป็นตอนอย่าง มีเงื่อนงำ และส่อเจตนากลั่นแกล้ง
 
ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์รายการเช้านี้หมอชิต ปมนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือหุ้นไอทีวี โดยเทียบเคียงกรณีศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัย คำวินิจฉัยที่ 18-19 / 2563 ยกคำร้อง สส. ฝั่งรัฐบาลขณะนั้นทั้งหมด 29 คน เนื่องจากบริษัทที่ สส. เหล่านั้น ถือหุ้นอยู่ มีลักษณะเข้าข่ายเป็นสื่อมวลชน ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า แม้บริษัทเหล่านี้ มีวัตถุประสงค์ประกอบวิทยุโทรทัศน์และสื่อมวลชน แต่ในการประกอบการจริง ไม่ได้ประกอบการวิทยุโทรทัศน์หรือสื่อมวลชน รายได้ประจำปีของบริษัท ก็ไม่มีรายได้จากการทำสื่อมวลชน ดังนั้นบริษัทเหล่านี้ จึงไม่ใช่สื่อมวลชน ยกคำร้อง สส. ทั้ง 29 คน
 
หากยกกรณีนี้ เทียบเคียงกับกรณีนายพิธา ไอทีวี ไม่ได้ประกอบการมาแล้ว 17 ปี รายได้ที่มีเป็นรายได้จากดอกเบี้ยกับเงินลงทุน และรายได้ที่มี ไม่ได้แบ่งให้ผู้ถือหุ้น เพราะไอทีวีขาดทุน 1,600 ล้านบาท เมื่อเทียบเคียงกับคำวินิจฉัยที่ 18-19 / 2563 ถ้าใช้มาตรฐานเดียวกัน ก็ต้องยกคำร้องเหมือนกัน
 
ยังมีอีกคดีที่นำมาเทียบเคียงกันได้ คือ กรณีนายชาญชัย อิสรเสนารักษ์ ไปร้องต่อศาลฎีกา เพราะ กกต. ไม่ยอมให้สมัคร สส. ในการเลือกตั้ง 2566 ที่ผ่านมา อ้างว่าคุณสมบัติต้องห้าม เพราะถือหุ้นเอไอเอส 400 หุ้น ซึ่งเอไอเอสมีวัตถุประสงค์การทำสื่อ กกต. จึงไม่รับสมัคร โดยตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ให้ไปร้องต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า หุ้นเพียง 400 หุ้น ในบรรดาหุ้นเป็นล้านหุ้นของเอไอเอส ไม่มีผลอะไรต่อการตัดสินใจใด ๆ ของเอไอเอส ไม่มีการครอบงำได้เลย จึงสั่งให้ กกต. รับสมัครนายชาญชัย
 
หากนำกรณีนายชาญชัย มาเทียบกรณีนายพิธา ถ้า กกต. ไม่รับสมัครนายพิธา ตั้งแต่แรก นายพิธา ก็จะไปร้องศาลฎีกาแล้วก็จบไปแล้ว เพราะมาตรฐานเดียวกัน ถึงแม้ว่าหุ้น 40,000 กว่าหุ้น แต่คิดเป็นสัดส่วนแล้วแค่ 0.0035 เปอร์เซ็นต์ น้อยมาก ไม่ได้มีคุณมีโทษอะไร ที่จะทำให้ตัดสินใจอะไรได้เลย แล้วไอทีวีไม่ได้ทำสื่อมา 17 ปี บรรทัดฐานของศาลฎีกา และศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้จึงต้องยกคำร้อง
 
แต่ว่าตอนนี้ มีความพยายามที่น่าสงสัยว่า มีการพยายามฟื้นคืนชีพไอทีวีหรือไหม และตอนนี้ สว. อ้างเรื่องถือหุ้นไอทีวีอีกเรื่อง ที่จะไม่ยกมือให้นายพิธา ซึ่งเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะมีความพยายามฟื้นคืนชีพไอทีวี เพราะเหตุผลอื่นที่จะฟันนายพิธา ไม่มีส่วนการที่นายพิธาโอนหุ้นให้ทายาท ถือเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วในฐานะผู้จัดการมรดก เพราะมีความพยายามรื้อฟื้นไอทีวีมาเล่นงานนายพิธา และสกัดกั้นพรรคก้าวไกล
 
ขณะที่ ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ตอนนี้กระแสสนใจการถือหุ้นสื่อของนายพิธามากเกินไป แต่ไม่ได้ดูพฤติกรรมของผู้ร้องว่า มีความผิดปกติอย่างไรบ้าง ซึ่งหุ้นของไอทีวีไม่มีมูลค่า ไม่มีการซื้อขายมานานแล้ว เป็นหุ้นที่คนธรรมดาไม่สามารถไปซื้อได้ แต่ผู้ร้องสามารถไปซื้อมาได้ ซึ่งทำให้ได้สถานะเข้าไปประชุมผู้ถือหุ้น แล้วมีการถามผู้บริหารยังประกอบการ ยังมีรายได้ไหม ซึ่งทำให้เห็นว่าในช่วงหลายเดือนมีการค่อย ๆ เตรียมการและมาร้อง
 
รวมทั้ง การพยายามเปลี่ยนรายงานประจำปี ให้กลายเป็นบริษัทสื่อให้ได้ รวม ๆ แล้วทำให้มองได้ว่า การใช้สิทธิ์ของผู้ร้องไม่ได้ใช้สิทธิ์โดยสุจริตนัก มีเงื่อนงำ มีพิรุธหลายอย่าง ที่ส่อให้เห็นว่ามีเจตนากลั่นแกล้ง มากกว่าจะเป็นการร้องให้ตรวจสอบตามวิสัยของพลเมืองดี 
 
พบกับรายการ “เช้านี้ที่หมอชิต” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 05.50-7.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/4Tgo8ap6iOA