logo เงินทองของจริง

จัดการ ! ผู้รับเหมาเทงาน... เรื่องบ้าน ๆ ของคนรักบ้าน | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : เรื่องบ้าน ๆ อย่างการสร้างบ้านหรือต่อเติมบ้าน บางทีก็เล่นเอาบ้านแทบแตกเหมือนกัน เพราะมีบ่อยครั้งที่ผู้รับเหมาไม่เทปูนแต่กลับเทงา ch7hd news,tero digital,เงินทองของจริง,money coach,จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โคชหนุ่ม,สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,กาย สวิตต์,ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,แพรว ภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน,บ้าน,สร้างบ้าน,ต่อเติมบ้าน,ซ่อมแซมบ้าน,ซ่อมบ้าน,ผู้รับเหมาก่อสร้าง,ผู้รับเหมาทิ้งงาน,ผู้รับเหมาเทงาน,ผู้รับเหมาก่อสร้างทิ้งงาน,ผู้รับเหมาก่อสร้างเทงาน,ผู้รับเหมา,รับเหมาสร้างบ้าน,รับเหมาต่อเติมบ้าน,รับเหมาต่อเติม,ตกแต่งภายใน,ตกแต่งบ้าน,ออกแบบบ้าน,รับออกแบบบ้าน,รับสร้างบ้าน

633 ครั้ง
|
25 พ.ค. 2566
เรื่องบ้าน ๆ อย่างการสร้างบ้านหรือต่อเติมบ้าน บางทีก็เล่นเอาบ้านแทบแตกเหมือนกัน เพราะมีบ่อยครั้งที่ผู้รับเหมาไม่เทปูนแต่กลับเทงาน แล้วงานบ้านแบบนี้ เราจะมีวิธีการจัดการอย่างไรดี ?
 
เรื่องปวดหมองอันดับต้น ๆ ของคนสร้างบ้าน หนีไม่พ้นเรื่องผู้รับเหมาตัวดีทิ้งงาน มีหลายเจ้าที่นอกจากจะรับสร้างบ้านแล้วยังสร้างปัญหาแถมมาด้วย อย่างกรณีแรก เรียกง่าย ๆ ว่า "ผู้รับเหมาไม่ได้ดั่งใจ" คุยกันแล้ว รับปากก็แล้ว พอถึงเวลาเจอปัญหาจริง ๆ กลับหายจ้อย ติดต่อไม่ได้อีกเลย
 
ปัญหาแบบที่สอง เริ่มจาก "ไม่ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร" คุยกันด้วยกระดาษแผ่นเดียว วาดแบบคร่าว ๆ จดรายรายละเอียดและคำนวณค่าใช้จ่ายแบบหยาบ ๆ ตกลงกันเสร็จสรรพแบบปากเปล่า จึงเป็นช่องโหว่รูใหญ่ภายในข้อตกลง ซึ่งต้องบอกว่าสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างเป็นสัญญาชนิดหนึ่งที่ตามกฎหมายเรียกว่า "สัญญาจ้างทำของ" ดังนั้น จำเป็นต้องทำไว้ก่อน และระบุรายละเอียดให้ชัดเจนด้วย
 
อีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นเยอะไม่แพ้กัน คือ "ผู้รับเหมาขนาดเล็ก" ซึ่งอาจจะเข้ามาทำงานตกแต่งต่อเติมเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงทำให้มีเนื้อหาสัญญาไม่ชัดเจน และบางครั้งสัญญากันแล้วว่าทำได้ แต่เอาเข้าจริงกลับทำไม่ได้ หรืออาจได้งานที่ทำให้เจ้าของบ้านต้องเจ็บตัวเพิ่มได้ในภายหลัง ดังนั้นแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด ก็ควรทำสัญญาให้เป็นลายลักษณ์อักษรเอาไว้ตั้งแต่แรก โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
- "เนื้อหางาน" ต้องครอบคลุม ชัดเจน ว่าอะไรอยู่ในข่ายที่ผู้รับเหมาดูแล และไม่ดูแล หากแยกประเภทงานได้ด้วยจะยิ่งดี
 
- "ตัวแบบก่อสร้าง" ต้องมีความชัดเจน ไม่ได้มีเพียงแผนผัง หรือรูปร่างคร่าว ๆ ต้องมีรายละเอียดขนาดต่าง ๆ ด้วย
 
- "ระยะเวลาทำงานจนแล้วเสร็จ" ต้องระบุเวลาให้แน่นอน
 
- "เงินชำระล่วงหน้า" ต้องระบุจำนวนเงินให้ชัดเจน ว่าต้องจ่ายส่วนไหน จำนวนเงินเท่าไร และเมื่อจ่ายเงินไปแล้วจะดำเนินงานอย่างไร
 
- "หลักประกันการทำงาน" หากงานยิ่งใหญ่ ยิ่งต้องระมัดระวัง เพราะความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจะยิ่งมีมากตามไปด้วย
 
ไปต่อกันที่เรื่อง "เงินประกันผลงาน" หรือ Retention เพื่อความอุ่นใจของตัวเราเอง และความชัดเจนของผู้รับเหมา เงินประกันผลงานจึงเป็นเงินที่เจ้าของงานหักออกจากค่าจ้างที่ต้องจ่ายในแต่ละงวด และจะคืนให้เมื่อครบเวลาที่กำหนด ซึ่งเรียกว่า "กำหนดระยะเวลารับประกันผลงาน" โดยในระหว่างเวลานี้ หากมีความชำรุดบกพร่องในงาน เจ้าของงานสามารถเรียกให้ผู้รับเหมามาซ่อมได้ แต่หากไม่มา เจ้าของงานก็สามารถเรียกผู้รับเหมาเจ้าอื่นมาดูแลแทน โดยหักค่าใช้จ่ายออกจากเงินประกันผลงานก้อนเดิมแทนได้เลย
 
หัวอกคนสร้างบ้าน อยากได้ผู้รับเหมาที่ดี ไม่มีปัญหา แต่บางครั้งก็อาจไม่มีเวลาหาผู้รับเหมาที่ไว้ใจได้ ซึ่งในปัจจุบันมีช่องทางที่สะดวกสบาย และเพิ่มความอุ่นใจขึ้นมาได้ด้วย แอปพลิเคชัน และเว็บไซต์ ที่ใช้ค้นหาสารพัดช่างมาแนะนำกันเบื้องต้น ดังนี้
 
1. CEALECT (แอปฯ)
 
2. 24 FIX (มีทั้งแอปฯ และเว็บไซต์)
 
3. FIXZY (มีทั้งแอปฯ และเว็บไซต์)
 
4. รักเหมา (เว็บไซต์)
 
5. BEAVERMAN (มีทั้งแอปฯ และเว็บไซต์)
 
การได้ผู้รับเหมาดี ๆ มาดูแลบ้านของเราตั้งแต่เริ่มดำเนินงาน ถือเป็นโชคลาภอันประเสริฐของคนรักบ้าน ดังนั้น เวลาเลือกผู้รับเหมาอาจจะต้องมีรีวิวที่เชื่อถือได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบปากต่อปากก็ดี หรือโปรไฟล์ผลงานประกอบการตัดสินใจก็งาม รวมไปถึงการพูดคุยกับหลาย ๆ เจ้าเพื่อหาข้อเปรียบเทียบ โดยเราอาจได้กำไรทั้งเรื่องแบบบ้านและราคาด้วย
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน สนามข่าว 7 สี ช่วง "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35
และรับชมออนไลน์ ผ่าน YouTube: TERO Digital ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.35 น.
 

รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://youtube.com/live/2wOKbtlg4XY?feature=share

ข่าวที่เกี่ยวข้อง