logo ถกไม่เถียง

เลือกตั้งยังไม่จบ ! วิเคราะห์ 5 สูตร สุดท้ายแล้วใครจะได้เป็นนายกฯ ? : ช็อตเด็ด ถกไม่เถียง

ถกไม่เถียง : สงครามการเลือกตั้ง นายกฯ ปี 66 จบไปแล้ว คราวนี้เราต้องมาดูกันต่อว่า ใครจะเป็นรัญบาล และใครจะได้เป็น นายกฯ แม้คะแนนเสียงของพรรคก้าวไก ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,ช่อง7HD,TERODigita,เลือกตั้ง66,ผลการเลือกตั้ง,งูเห่า พรรคก้าวไกล,พรรคเพื่อไทย,พรรครวมไทยสร้างชาติ,พรรคภูมิใจไทย,พรรคพลังประชารัฐ,พรรคประชาธิปัตย์,พรรคชาติไทยพัฒนา,กกต,สว,จัดตั้งรัฐบาล,แลนสไลด์,บ้านใหญ่,คนรุ่นใหม่,สส,ปาร์ตี้ลิสต์,แบ่งเขต,อนาคตใหม่

9,600 ครั้ง
|
15 พ.ค. 2566
สงครามการเลือกตั้ง นายกฯ ปี 66 จบไปแล้ว คราวนี้เราต้องมาดูกันต่อว่า ใครจะเป็นรัญบาล และใครจะได้เป็น นายกฯ แม้คะแนนเสียงของพรรคก้าวไกลจะได้เยอะที่สุด วันนี้ "รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล" และ "รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก" จะวิเคราะห์ 5 สูตรในการจัดตั้งรัฐบาลให้ชมกัน
 
ถกไม่เถียง : เลือกตั้งยังไม่จบ ! วิเคราะห์ 5 สูต
 
สำหรับสูตรการจัดตั้งรัฐบาลที่พรรคก้าวไกลออกมาประกาศนั้น โดยจะรวมรัฐบาลกับ พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย และพรรคเป็นธรรม รวมกันแล้วจะได้เสียงทั้งหมด 310 เสียง 
 
ถกไม่เถียง : เลือกตั้งยังไม่จบ ! วิเคราะห์ 5 สูต
 
            รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์การเมืองและนโยบาย ให้ความเห็นกับสูตรนี้ว่า พรรคก้าวไกลต้องไปหามาเติมอีก 66 เสียง เพื่อให้ได้เสียงรวมในการจัดตั้งรัฐบาล 376 เสียง จะไปเจรจากับ สส.หรืออาจจะเป็น สว. ก็ได้ เป็นหน้าที่ของพรรคก้าวไกลที่ต้องไปจัดหามา หากเป็นตัวเลขนี้ยังลำบากอยู่ กลับกันว่า ตนมองว่าถ้าพรรคเพื่อไทยเป็นอันดับ 1  เราอาจจะได้เห็นการชอปปิง สว.  
 
            รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ประธานคณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ให้ความเห็นว่า พรรคก้าวไกลได้คะแนนเสียงสส. แค่ 160 ที่นั่ง จาก 500 ที่นั่ง ถ้า สว. ไม่ยกให้คุณพิธา คะแนนเสียงก็ไม่เกินกึ่งหนึ่งของสภา พรรคเพื่อไทย เขาก็มีสิทธิ์ที่จะเสนอแคนดิเดตนายกของพรรคเขา ซึ่งถ้า สว. เขายกมือให้ อันนี้ก็เป็นเสียงข้างมากของประชาชนเช่นเดียวกัน
 
            ถ้าไม่อยากให้ สว. ยุ่ง สว. เขาก็อาจจะงดออกเสียงทั้งหมด ก็ต้องไปจัดหา สส. มาให้ได้ 376 เสียง หรือถ้า สว. รวมใจลาออกกันหมดเลย ก็ต้องไปหา สว. กันใหม่ โดยวิธีการหา สว. ยังอยู่ในบทเฉพาะกาลเดิม ดังนั้นทางออกสำหรับสูตรนี้ ตนมองว่า พรรคก้าวไกลต้องไปรวมกับพรรคภูมิใจไทย หรือไม่ก็พรรคลุง โดยตกลงให้ลุงลาออก 
 
ถกไม่เถียง : เลือกตั้งยังไม่จบ ! วิเคราะห์ 5 สูต
 
สำหรับสูตรการจัดตั้งรัฐบาล โดยจะเป็นพรรคเพื่อไทยเป็นคนจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งจะมีการรวมกันของ พรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย และพรรคเสรีรวมไทย โดจะมีคะแนนเสียง 197 เสียง ขณะที่ฝ่ายค้าย จะมีคะแนนเสียงที่ 295 เสียง
 
            รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ให้ความเห็นว่า สูตรนี้เป็นสูตรเสียงข้างน้อย มี 197 เสียง ถ้าจะจัดตั้งรัฐบาลต้องทำให้เป็นเสียงข้างมาก คือ ไปเอาพรรคภูมิใจไทยมาร่วมรัฐบาล ทั้งนี้ทุกสูตรการจัดตั้งรัฐบาล หากเป็นเสียงข้างน้อย มันจะเป็นเงื่อนไขทำให้ปัญหาลุกลามบานปลายได้ อาจทำให้ม็อบลงถนน เกิดการทะเลาะกัน แล้วนำไปสู่การปฏิวัติรัฐประหารได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสูตรไหนควรเป็นสูตรที่ได้เสียงข้างมากก่อน 
 
ถกไม่เถียง : เลือกตั้งยังไม่จบ ! วิเคราะห์ 5 สูต
 
ขณะที่สูตรการจัดตั้งรัฐบาลอันนี้ จะเป็นการจัดตั้งรัฐบาลนำโดยพรรคก้าวไกล เหมือนกับสูตรอันแรก แต่เพิ่มพรรคภูมิใจไทยเข้ามาในสมการ จะทำให้ฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลมีเสียงทั้งหมด 379 เสียง ส่วนฝ่ายค้านมี 113 เสียง 
 
ถกไม่เถียง : เลือกตั้งยังไม่จบ ! วิเคราะห์ 5 สูต
 
            รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ให้ความเห็นว่า สำหรับสูตรนี้ก็ไม่ต้องไปแคร์เสียง สว. ปิดสวิตช์ สว. ในทันที แต่ที่สำคัญ พรรคก้าวไกล ก็ต้องไปคุยกับพรรคภูมิใจไทยให้ได้ 
 
ถกไม่เถียง : เลือกตั้งยังไม่จบ ! วิเคราะห์ 5 สูต
 
สำหรับสูตรสุดท้าย จะเป็นการจัดตั้งรัฐบาลนำโดยพรรคเพื่อไทย จะร่วมกับ ภรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคเสรีรวมไทย โดยจะมีคะแนนเสียง 264 เสียง ส่วนฝ่ายค้านมีคะแนน 228 เสียง 
 
            รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล ให้ความเห็นกับสูตรนี้ว่า สูตรนี้มีความเป็นไปได้ แล้วสูตรนี้น่าจะเกิดขึ้นทันทีที่สูตรจัดตั้งรัฐบาลสูตรแรกไม่ผ่าน ซึ่งเป็นไปตามกติกาทางการเมือง แล้วที่สำคัญคะแนนเสียงก็เกิน 250 เสียง ซึ่ง สว. ท่านก็อาจจะมาเติมคะแนนให้ได้ 376 เสียง แต่ทั้งนี้ คุณแพทองธาร ก็ต้องออกแรงไปเจรจากับ สส. หรือ สว. เหมือนกับที่พรรคก้าวไกลทำเช่นกัน  อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ทุกภาคส่วนให้โอกาสพรรคก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาล ยังไม่มีความซับซ้อน ดังนั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพของพรรคก้าวไกลแล้ว 
 
            ด้าน กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวว่า สว. ตอนนี้ยังไม่ไปก่าวก่ายการจัดตั้งรัฐบาลแต่อย่างไร ขณะที่ สว. จะยกมือให้แคนดิเดตนายกฯ หรือไม่นั้น สว. จะต้องพิจารณาคุณสมบัติว่าเขาเหมาะจะเป็นนายกฯหรือไม่ เช่น จะต้องมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และมั่นคงใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่ง สว. จะต้องมีหน้าที่ตรวจสอบ ไม่ใช่ว่าส่งแคนดิเดตนายกฯคนไหนมาเราก็ให้ผ่านหมด ไม่เช่นนั้น สว. จะถูกกล่าวหาว่าละเว้นหน้าที่อีก 
 
ติดตาม  รายการข่าวเย็นประเด็นร้อน ช่วง "ถกไม่เถียง"  ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง