logo ถกไม่เถียง

ก้าวไกล แลนด์สไลด์ แต่ใครจะได้เป็น “นายกฯ” ?

ถกไม่เถียง : จบไปแล้วกับสมรภูมิการเลือกตั้งปี 66 แต่สิ่งที่ยังไม่จบ ยังคงเป็นปมว่าสุดท้ายแล้วใครจะได้เป็นรัฐบาล และใครจะได้เป็นนายกฯ แม้พรรคก้าวไ ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,ช่อง7HD,TERODigita,เลือกตั้ง66,ผลการเลือกตั้ง,งูเห่า พรรคก้าวไกล,พรรคเพื่อไทย,พรรครวมไทยสร้างชาติ,พรรคภูมิใจไทย,พรรคพลังประชารัฐ,พรรคประชาธิปัตย์,พรรคชาติไทยพัฒนา,กกต,สว,จัดตั้งรัฐบาล,แลนสไลด์,บ้านใหญ่,คนรุ่นใหม่,สส,ปาร์ตี้ลิสต์,แบ่งเขต,อนาคตใหม่

10,783 ครั้ง
|
15 พ.ค. 2566
จบไปแล้วกับสมรภูมิการเลือกตั้งปี 66 แต่สิ่งที่ยังไม่จบ ยังคงเป็นปมว่าสุดท้ายแล้วใครจะได้เป็นรัฐบาล และใครจะได้เป็นนายกฯ แม้พรรคก้าวไกลจะได้คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งมาเป็นอันดับ 1 ขณะที่สูตรต่าง ๆ ก็ออกมามากมาย เดี๋ยวเราไปวิเคราะห์กัน ในรายการ "ถกไม่เถียง"
 
ถกไม่เถียง : ก้าวไกล แลนด์สไลด์ แต่ใครจะได้เป็น “นายกฯ” ?
 
            วันที่ 12 พ.ค. 66 รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์การเมืองและนโยบาย ออกมาเล่าเรื่องราวผ่านรายการ "ถกไม่เถียง" ทางช่อง 7HD กด35 เล่าว่า ส่วนตัวตนเชื่อมาตั้งนานแล้วว่าพรรคก้าวไกลจะแลนด์สไลด์ ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไร แต่สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ ก็คือ ตอนแรกเราบอกว่าเขาน่าจะได้แค่พื้นที่เมือง แต่ตอนนี้มันไม่ใช่ อาทิ จ.ตาก พื้นชายแดน ติดกับประเทศเมียนมา เขาก็ได้มา 2 พื้นที่ หรือ จ.มุกดาหาร เขต 2 อ.ดงหลวง ติดเทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นเขตที่มีบ้านใหญ่คุม แต่พรรคก้าวไกลก็แหวกมาได้ 
 
            ด้าน รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ประธานคณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย กล่าวว่า มันมีปัจจัยที่พรรคก้าวไกล ได้คะแนนเสียงเยอะ อย่างหนึ่งก็คือ จำพวกในเมืองที่เป็นเมืองมหาวิทยาลัย อย่างที่สอง คือพวกพื้นที่เศรษฐกิจ ทั้งพื้นที่ที่เคยเฟื่องฟูแล้วมีปัญหา เขาอยากผลักดันเพิ่ม เพราะว่ารัฐบาลที่แล้วเขาทำไม่ได้ อย่างที่สาม คือ พื้นที่เศรษฐกิจเดิมเคยมีปัญหา แล้วยังมีปัญหาอยู่ เขาก็อยากแก้ปัญหา อย่างที่สี่ คือ พื้นที่ที่มีความขัดแย้ง โดยเฉพาะ ความขัดแย้งของบ้านใหญ่ประจำถิ่น กับบ้านใหม่ ซึ่งพรรคก้าวไกลเขาก็แทรกตัวเข้าไปตามรอยร้าว อย่างที่ห้า พื้นที่ที่ผู้คนทั้งหลายเปลี่ยนเร็ว ซึ่งผู้คนชอบของใหม่ เบื่อของเก่า ไม่ได้คิดรายละเอียดอะไรมากนัก  แต่เห็นว่าอะไรมาดีวูบวาบก็เอาไว้ก่อน จะอย่างไรก็ตาม ตนก็ไม่ได้คิดว่าพรรคก้าวไกลจะได้คะแนนเสียงเยอะขนาดนั้น
 
ถกไม่เถียง : ก้าวไกล แลนด์สไลด์ แต่ใครจะได้เป็น “นายกฯ” ?
 
ทั้งนี้ สำหรับสูตรการจัดตั้งรัฐบาลที่พรรคก้าวไกลออกมาประกาศนั้น โดยจะรวมรัฐบาลกับ พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย และพรรคเป็นธรรม รวมกันแล้วจะได้เสียงทั้งหมด 310 เสียง 
 
            รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล ให้ความเห็นกับสูตรนี้ว่า พรรคก้าวไกลต้องไปหามาเติมอีก 66 เสียง เพื่อให้ได้เสียงรวมในการจัดตั้งรัฐบาล 376 เสียง จะไปเจรจากับใครก็แล้วแต่ สส.ก็ดี หรืออาจจะเป็น สว. ก็ได้ เป็นหน้าที่ของพรรคก้าวไกลที่ต้องไปจัดหามา หากเป็นตัวเลขนี้ยังลำบากอยู่ในการจัดตั้งรัฐบาล ขณะเดียวกัน สมติกลับกันว่า ถ้าพรรคเพื่อไทยเป็นอันดับ 1 แล้วพรรคก้าวไกลเป็นอันดับ 2 เราอาจจะได้เห็นการชอปปิง สว. ปี 49 เราเคยได้เห็นการจ้างพรรคเล็กลงสมัครมาแล้ว แต่กรณีนี้พรรคเพื่อไทยจะต้องเป็นอันดับ 1 ซึ่งเขาคงไม่ลงทุนทำเพื่อให้คุณพิธาเป็นนายกฯ 
 
ถกไม่เถียง : ก้าวไกล แลนด์สไลด์ แต่ใครจะได้เป็น “นายกฯ” ?
 
            รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ให้ความเห็นว่า การที่มีพรรคที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุด แต่ได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของสภา พรรคนั้นต้องไปหาใครร่วมจัดตั้งรัฐบาล ยกเว้นแต่ในบางประเทศที่มีธรรมเนียมให้จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยได้ ซึ่งรัฐบาลเสียงข้างน้อยเขาก็จะรู้ตัว ว่าเขาไม่สามารถอยู่ได้นานหรอก เขาอาจจะอยู่เพื่อจัดการอะไรบางสิ่ง อย่างเช่นในประเทศอังกฤษ แต่ประเทศอื่นส่วนใหญ่ หรือแม้แต่ในประเทศไทยก็ไม่ได้มีธรรมเนียมอะไรแบบนี้  
 
            ขณะเดียวกัน พรรคก้าวไกลได้คะแนนเสียงสส. แค่ 160 ที่นั่ง จาก 500 ที่นั่ง หากมีการเสนอคุณพิธา เป็นนายกฯในสภา แล้วพรรคเพื่อไทยเขายกมือให้ ทว่าถ้า สว. กลับไม่ยกให้คุณพิธา ทำให้มีคะแนนเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่งของสภา พรรคเพื่อไทย เขาก็มีสิทธิ์ที่จะเสนอแคนดิเดตนายกของพรรคเขา ซึ่งถ้า สว. เขายกมือให้ รวมถึงพรรคอื่น ๆ จนคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภา อันนี้ก็เป็นเสียงข้างมากของประชาชน
 
            หรือถ้าไม่อยากให้ สว. ยุ่ง สว. เขาก็อาจจะงดออกเสียงทั้งหมด สส. ก็ต้องไปจัดหามาให้ได้ 376 เสียง หรือถ้าหาเรื่องยิ่งกว่านั้น สว. รวมใจลาออกกันหมดเลย ก็ต้องไปหา สว. กันใหม่ โดยวิธีการหา สว. ยังอยู่ในบทเฉพาะกาลเดิม เพราะยังแก้รัญธรรมนูญไม่ได้ ทั้งนี้หากมองในมุมพรรคก้าวไกล แล้วอยากเอาชนะรัฐธรรมนูญ พรรคก้าวไกลควรไปร่วมกับพรรคภูมิใจไทย หรือไม่อย่างนั้นก็ไปร่วมกับพรรคลุง โดยขอให้ลุงลาออกจากพรรคหากลุงเป็นปัญหา หรือไม่ก็ไปเจรจากับ สว. แล้วเขาจะเลือกหรือไม่นั้นก็อีกเรื่อง ทั้งนี้พรรคก้าวไกลจะเอา 310 เสียง แล้วจะให้ สว. มาลงคะแนนให้ เขาเป็นใคร ที่จะเอาชนะโดยเปลี่ยนกติกาให้เป็นในแบบของเขา ทั้งที่กติกามันเป็นอยู่แบบนี้ 

ถกไม่เถียง : ก้าวไกล แลนด์สไลด์ แต่ใครจะได้เป็น “นายกฯ” ?
 
สำหรับสูตรการจัดตั้งรัฐบาล โดยจะเป็นพรรคเพื่อไทยเป็นคนจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งจะมีการรวมกันของ พรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย และพรรคเสรีรวมไทย โดจะมีคะแนนเสียง 197 เสียง ขณะที่ฝ่ายค้าย จะมีคะแนนเสียงที่ 295 เสียง
 
            รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ให้ความเห็นว่า สูตรนี้เป็นสูตรเสียงข้างน้อย มี 197 เสียง ถ้าจะจัดตั้งรัฐบาลต้องทำให้เป็นเสียงข้างมาก คือ ไปเอาพรรคภูมิใจไทยมาร่วมรัฐบาล ทั้งนี้ทุกสูตรการจัดตั้งรัฐบาล หากเป็นเสียงข้างน้อย มันจะเป็นเงื่อนไขทำให้ปัญหาลุกลามบานปลายได้ อาจทำให้ม็อบลงถนน เกิดการทะเลาะกัน แล้วนำไปสู่การปฏิวัติรัฐประหารได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสูตรไหนควรเป็นสูตรที่ได้เสียงข้างมากก่อน 

ถกไม่เถียง : ก้าวไกล แลนด์สไลด์ แต่ใครจะได้เป็น “นายกฯ” ?
 
ขณะที่สูตรการจัดตั้งรัฐบาลอันนี้ จะเป็นการจัดตั้งรัฐบาลนำโดยพรรคก้าวไกล เหมือนกับสูตรอันแรก แต่เพิ่มพรรคภูมิใจไทยเข้ามาในสมการ จะทำให้ฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลมีเสียงทั้งหมด 379 เสียง ส่วนฝ่ายค้านมี 113 เสียง 
 
            รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ให้ความเห็นว่า สำหรับสูตรนี้ก็ไม่ต้องไปแคร์เสียง สว. ปิดสวิตช์ สว. ในทันที แต่ที่สำคัญ พรรคก้าวไกล ก็ต้องไปคุยกับพรรคภูมิใจไทยให้ได้ 
 
ถกไม่เถียง : ก้าวไกล แลนด์สไลด์ แต่ใครจะได้เป็น “นายกฯ” ?
 
สำหรับสูตรสุดท้าย จะเป็นการจัดตั้งรัฐบาลนำโดยพรรคเพื่อไทย จะร่วมกับ ภรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคเสรีรวมไทย โดยจะมีคะแนนเสียง 264 เสียง ส่วนฝ่ายค้านมีคะแนน 228 เสียง 
 
            รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล ให้ความเห็นกับสูตรนี้ว่า สูตรนี้มีความเป็นไปได้ แล้วสูตรนี้น่าจะเกิดขึ้นทันทีที่สูตรจัดตั้งรัฐบาลสูตรแรกไม่ผ่าน ซึ่งกระบวนการทุกอย่างเป็นไปตามกฎกติกามารยาททางการเมือง แล้วที่สำคัญคะแนนเสียงก็เกิน 250 เสียง ซึ่ง สว. ท่านก็อาจจะมาเติมคะแนนให้ได้ 376 เสียง แต่ทั้งนี้ คุณแพทองธาร ก็ต้องออกแรงไปเจรจากับ สส. หรือ สว. เหมือนกับที่พรรคก้าวไกลทำเช่นกัน  
 
            อย่างไรก็ตาม ตอนนี้การจัดตั้งรัฐบาล ทุกพรรค ทุกภาคส่วนให้โอกาสพรรคก้าวไกล จัดตั้งรัฐบาลอย่างเต็มที่ ยังไม่ได้มีความซับซ้อนอะไร ขึ้นอยู่กับศักยภาพของพรรคก้าวไกล ว่าจะทำได้แค่ไหน ทั้งนี้นโยบายที่พรรคก้าวไกลไปหาเสียงไว้ หลาย ๆ เรื่อง ยากกว่าการหา 66 เสียงเยอะ และนี่คือบททดสอบแรกที่เขาต้องผ่านไปให้ได้ 
 
ถกไม่เถียง : ก้าวไกล แลนด์สไลด์ แต่ใครจะได้เป็น “นายกฯ” ?
 
            ด้าน กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวว่า สำหรับการยกมือให้พรรคก้าวไกลหรือไม่นั้น ตนขอให้เป็นเรื่องของ สส. และ สภาผู้แทนราษฎร ที่จะไปหา สส. ให้ได้เกินครึ่งของสภา ส่วน สว. ตอนนี้ยังไม่ไปก่าวก่ายการจัดตั้งรัฐบาลแต่อย่างไร ขณะที่ สว. จะยกมือให้แคนดิเดตนายกฯ หรือไม่นั้น สว. จะต้องพิจารณาคุณสมบัติว่าเขาเหมาะจะเป็นนายกฯหรือไม่ เช่น จะต้องมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และมั่นคงใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่ง สว. จะต้องมีหน้าที่ตรวจสอบ ไม่ใช่ว่าส่งแคนดิเดตนายกฯคนไหนมาเราก็ให้ผ่านหมด ไม่เช่นนั้น สว. จะถูกกล่าวหาว่าละเว้นหน้าที่อีก 
 
ติดตาม  รายการข่าวเย็นประเด็นร้อน ช่วง "ถกไม่เถียง"  ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/HhtH42LUppA